ชนกนันท์ รวมทรัพย์

ชนกนันท์ รวมทรัพย์ เป็นนักเคลื่อนไหวชาวไทยที่สนับสนุนประชาธิปไตยเธอเคยเป็นโฆษกขบวนการประชาธิปไตยใหม่และสมาชิกกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน[1]เธอลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศเกาหลีใต้[2] หลังรัฐบาลไทยแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาวิจารณ์พระมหากษัตริย์โดยการแบ่งปันบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของประเทศให้กับบีบีซี[3]ปัจจุบันเธออาศัยที่มัลเมอและเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมัลเมอ ประเทศสวีเดน

ชนกนันท์ รวมทรัพย์
เกิดพ.ศ. 2536 (อายุ 31 ปี)
อาชีพนักเขียน, นักเคลื่อนไหว

รอยเตอร์สรายงานว่า "บทความของบีบีซี ถูกเผยแพร่ไปไม่นานหลังจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเถลิงราชสมบัติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 หลังจากพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสวรรคตในเดือนตุลาคมด้วยพระชนมพรรษา 88 พรรษา"[4] ขณะกำลังแบ่งปันให้กับบีบีซี เธอเขียนว่า: "ถ้าคุณกล้าเขียน ฉันก็กล้าแบ่งปัน”[5]

ชนกนันท์ถูกตั้งข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะกฎหมายการหมิ่นประมาทที่รุนแรงที่สุดในโลก ตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่ดูหมิ่นพระบรมวงศานุวงศ์จะถูกจำคุกสูงสุด 15 ปี จตุภัทร์ "ไผ่ ดาวดิน" นักเคลื่อนไหวอีกคนที่แบ่งปันในบทความก็ถูกจับด้วยข้อหาเดียวกัน[6] และถูกจำคุกในจังหวัดขอนแก่น

จากผู้ใช้ที่แชร์บทความในเฟซบุ๊กมากกว่า 3,000 บัญชี ไผ่เป็นคนแรก ส่วนชนกนันท์เป็นคนที่สองที่ถูกตั้งข้อหาเดียวกัน[7] วันที่ 14 ตุลาคม ปี 2563 เธอจัดประท้วงที่สถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

อ้างอิง แก้

  1. วงเสาวนา ‘คุยความจริง: เมื่อเสรีภาพ กลายเป็นอาชญากรรม’ ขอ คสช. คืน ‘เสรีภาพ’ ให้คนในชาติ
  2. "Anti-coup activist Chanoknan flees country to avoid lese majeste trial - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-21. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  3. "Thai student activist flees to avoid lese majeste charge - NY Daily News". nydailynews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2018-06-20.
  4. "Thai activist flees royal insult charge for posting BBC article". Business Insider Malaysia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 2018-06-20.
  5. "Activist Says She Faces Arrest for Sharing Stories Online". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-12-08. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  6. "Activist 'Pai Dao Din' Arrested For Lese Majeste". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  7. "Activist Chanoknan flees lese majeste summons". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.