สรรเสริญ สมะลาภา

สรรเสริญ สมะลาภา เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) รองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารของไทย ถือเป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเป็นพรรคฝ่ายค้าน ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยแรก

สรรเสริญ สมะลาภา
สรรเสริญใน พ.ศ. 2563
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (57 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

สรรเสริญ สมะลาภา หรือ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เกิดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (ชื่อเล่น: ต๋อย) เป็นบุตรชายของนายประเสริฐ สมะลาภา อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร และนางสุนันทา สมะลาภา[2] โดยตระกูลสมะลาภานั้นมีรากฐานดั้งเดิมมาจากจังหวัดระยอง[3] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบัญชีต้นทุน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินการคลัง มหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจเอเซีย จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์[4]

การทำงาน

แก้

สรรเสริญ สมะลาภา เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านเศรษฐกิจของ ธนาคารโลก (WORLD BANK) ประจำกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2541-2543) ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 จึงมาเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน หลักสูตรปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5] และในปี พ.ศ. 2547 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์

ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ดร.สรรเสริญ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขต 3 กรุงเทพมหานคร อันประกอบด้วย เขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท โดยร่วมทีมกับ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และ นายธนา ชีรวินิจ โดยสามารถชนะการเลือกตั้งแบบยกทีม

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่มีสถานะเป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเงา[6]

นายสรรเสริญ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย ได้แก่

ผลงานที่สำคัญ

แก้
  1. วิทยานิพนธ์ เรื่อง การลงทุนของภาครัฐบาลไทยจะชักนำหรือทดแทนการลงทุนของภาคเอกชน
  2. แผนการปฏิรูปการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจสาขาขนส่ง
  3. แผนการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสำหรับรัฐวิสาหกิจ
  4. งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการขาดดุลงบประมาณ การใช้จ่ายภาครัฐ และอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เอเชียแปซิฟิกอีโคโนมี่ (Journal of the Asia Pacific Economy) ปี 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  2. ข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สิน ส.ส.กรุงเทพมหานคร กรณ๊พ้นจากตำแหน่ง 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556[ลิงก์เสีย]
  3. "คิดเช่น Gen D 31 10 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-10-31. สืบค้นเมื่อ 2017-11-01.
  4. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  6. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑