ธนา ชีรวินิจ (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2506) เป็นอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เฉลิมชัย ศรีอ่อน)[1] อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[2] อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร

ธนา ชีรวินิจ
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต
ถัดไปราเมศ รัตนะเชวง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2506 (61 ปี)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคการเมืองพลังธรรม (2533–2541)
ประชาธิปัตย์ (2541–ปัจจุบัน)
คู่สมรสเสาวลักษณ์ ชีรวินิจ

ประวัติ

แก้

นายธนา ชีรวินิจ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2506 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี[3] เป็นบุตรของนายตี่เซ็น แซ่เชีย และนางซิมฮก แซ่เล้า[4] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

กิจกรรมส่วนตัวที่ชื่นชอบ คือ สะสมและศึกษาเรื่องพระเครื่อง[5]

งานการเมือง

แก้

ธนา ชีรวินิจ เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 และได้รับตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร ต่อมา ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก จากนั้นได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ผลงาน

แก้
  • ในฐานะสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ได้ร่วมผลักดันร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินเอกชนที่ประชาชนใช้สอยร่วมกัน จนกรุงเทพมหานครสามารถนำงบประมาณไปปรับปรุงซ่อมแซมถนนในที่ดินของเอกชน เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนได้จนถึงปัจจุบัน
  • ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญพิจารณาค่าโดยสาร ได้ต่อสู้จนรถไฟฟ้าบีทีเอสต้องลดราคาจาก 45-60 บาท ลงมาเป็น 15-45 บาท และได้ใช้ราคานี้ต่อมาอีกนับสิบปี
  • ในฐานะประธานสภากรุงเทพมหานคร ได้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) ให้ใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานคร 100 เปอร์เซนต์ ในการสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสข้ามไปฝั่งธนบุรี (2.2 ก.ม.) เนื่องจากติดขัดปัญหาขัดแย้งกับรัฐบาลในขณะนั้นจนงานล่าช้ามาหลายปี จนกรุงเทพมหานครได้ตัดสินใจทำตามคำเสนอของ "นายธนา ชีรวินิจ" ในการใช้เงินงบประมาณจากสภากรุงเทพมหานคร 100 เปอร์เซนต์ จัดสร้างดังกล่าวจนสามารถใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน
  • ในฐานะรองประธานกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคคนที่ 1 สภาผู้แทนราษฎรได้ผลักดันต่อสำนักนายกรัฐมนตรีจนสามารถกำหนดแนวทางการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมในการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น
    • กำหนดให้ธุรกิจสถานออกกำลังกายเป็นธุรกิจประเภทควบคุมสัญญา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้บริการ
    • ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี ฯ ที่ถูกบริษัทรถแทร็คเตอร์เอาเปรียบและกลั่นแกล้งฟ้องคดีอาญา จนหน่วยงานรัฐเข้าให้การช่วยเหลือและได้รับความเป็นธรรมในที่สุด
  • ร่วมกับ ส.ส.พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และ ส.ส.สรรเสริญ สมะลาภา เสนอบัญญัติด่วนต่อสภาผู้แทนราษฎร เรื่องสภาพอาคารแฟลตของการเคหะแห่งชาติในเขตดินแดงอย่างเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ในปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
  2. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  3. "คิดเช่น Gen D 09 10 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.
  4. "บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายธนา ชีรวินิจ" (PDF). PDF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24.
  5. "นักการเมืองตกงาน : ส่องพระเครื่องกับ"ธนา ชีรวินิจ"". ไทยรัฐทีวี. 2015-07-19. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้