สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น หน่อย เป็นนักการเมืองสตรีชาวไทย อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย[1] เคยร่วมประท้วงในเหตุการณ์พฤษภา 2535 อดีตรัฐมนตรีเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญทั้งในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร และ ชวน หลีกภัย ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย[2] รวมถึงเป็นประธาน[3] และผู้ก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย และหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ., จ.จ. | |
---|---|
![]() | |
สุดารัตน์ ในปี พ.ศ. 2564 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ถัดไป | ธีระ สูตะบุตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | กร ทัพพะรังสี |
ถัดไป | สุชัย เจริญรัตนกุล |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | สุชาติ ตันเจริญ |
ถัดไป | อาษา เมฆสวรรค์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | จรัส พั้วช่วย |
ถัดไป | สมบัติ อุทัยสาง |
หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 กันยายน พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | สอิสร์ โบราณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรค | พลังธรรม (2535–2541) ไทยรักไทย (2541–2550) เพื่อไทย (2555–2563) ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สมยศ ลีลาปัญญาเลิศ |
บุตร | 3 คน |
ประวัติแก้ไข
สุดารัตน์เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เป็นบุตรของสมพล เกยุราพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และเรณู เกยุราพันธ์ สุดารัตน์สมรสกับสมยศ ลีลาปัญญาเลิศ นักธุรกิจชาวไทย มีบุตรชาย 2 คน และบุตรหญิง 1 คน ดังนี้
- ภูมิภัทร ลีลาปัญญาเลิศ (บอส)
- พีรภัทร ลีลาปัญญาเลิศ (เบสท์)
- ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ (จินนี่)
สุดารัตน์จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการตลาด จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Shi 41) และระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ (MBA จาก GIBA) สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[4] และ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนครพนม
การเมืองแก้ไข
สุดารัตน์เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 12 พรรคพลังธรรม (บางเขน, หลักสี่, ดอนเมือง, สายไหม, มีนบุรี, หนองจอก, คลองสามวา) ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณ 1/3 ของพื้นที่ทั้งกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปลายปีเดียวกันได้มีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 พรรคพลังธรรม (ลาดพร้าว, วังทองหลาง, บางกะปิ, บึงกุ่ม, คันนายาว, สะพานสูง) และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5] ในรัฐบาลของชวน หลีกภัย หรือ รัฐบาลชวน 1/1
ในปี 2537 สุดารัตน์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคพลังธรรม และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[6] ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย หรือรัฐบาลชวน 1/2 ต่อมาได้จัดให้มีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538 สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 พรรคพลังธรรม (บางกะปิ, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, คันนายาว, สะพานสูง) และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา หรือรัฐบาลบรรหาร 1 จนกระทั่งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและมีการเลือกตั้งในปีถัดมา
การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 (บางกะปิ, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, คันนายาว, สะพานสูง) โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคพลังธรรม เพียงคนเดียวในสภาฯ ต่อมาเธอได้ลาออกจากพรรคพลังธรรมและย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย รวมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ในปี 2544 สุดารัตน์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดูแลรับผิดชอบงานนโยบายสำคัญของรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) คือ นโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค ต่อมาปี 2548 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[7] จนกระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี (30 พ.ค. 50 -30 พ.ค. 55) เนื่องจากเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
ภายหลังพ้นกำหนดถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง สุดารัตน์ได้เข้ารับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย[8] และเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทย ในปี 2562
ต่อมาสุดารัตน์ ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย และร่วมก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
บทบาททางสังคมแก้ไข
สุดารัตน์ ได้จัดตั้งมูลนิธิผู้หญิงเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มผู้หญิงกับการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2536 ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นสถาบันผู้หญิงกับการเมือง (เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงได้มีความรู้ความเข้าใจในการเมือง ที่ถูกต้อง และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น) และในปี 2541 ได้จัดตั้งโครงการ “ไทยพึ่งไทย” เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ตกงานให้สามารถสร้างงานสร้างอาชีพของตนเองได้ในยามที่ประเทศกำลังประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
ปี 2554 สุดารัตน์ รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการโครงการ “หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสู้ภัยพิบัติแห่งชาติ” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิไทยพึ่งไทย ประธานกรรมการผู้ก่อตั้งสถาบันสร้างไทย และ ประธานพรรคไทยสร้างไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[11]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 4 จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)[12]
ลำดับสาแหรกแก้ไข
ลำดับสาแหรกของสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.
- ↑ ประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย
- ↑ "'ไทยสร้างไทย'พร้อมลุยสนามเลือกตั้ง 350 เขต ตั้ง'เจ๊หน่อย'นั่งประธานพรรค". www.naewna.com. 2021-06-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เผย'คุณหญิงสุดารัตน์'นั่งนายกนิสิต'มจร'". คมชัดลึกออนไลน์. 2013-08-25.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 218/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1นายมนตรี ด่านไพบูลย์ 2 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 3 นายธำรงค์ ไทยมงคล)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "ด่วน! "สุดารัตน์"ลาออกทิ้งเก้าอี้ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย". www.posttoday.com. 2020-09-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ” เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
ก่อนหน้า | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วันมูหะมัดนอร์ มะทา | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม.55) (11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549) |
ธีระ สูตะบุตร | ||
กร ทัพพะรังสี | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม.54) (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548) |
สุชัย เจริญรัตนกุล |