ทนง พิทยะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราภิชาน ทนง พิทยะ (ชื่อเดิม ทนง ลำใย[1][2]) (เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) เป็น ประธานกรรมการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เป็นบุตรของนายเสงี่ยม กับ นางสายทอง ลำใย และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ และ รัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 และการลดค่าเงินบาทของประเทศไทย[3][4] กรรมการมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา สมรสกับ นาง มธุรส พิทยะ มีบุตร 3 คน ได้แก่ นางสาว วิชชุญา พิทยะ บุตรสาวคนโต นาย ธราธร พิทยะ บุตรชาย นางสาว ศรัญญา พิทยะ บุตรสาวคนเล็ก เรียนที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเรียนในโครงการเด็กออทิสติก เช่นเดียวกับบุตรชาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อมาเข้าเรียนภาคปรัชญาและศาสนา[5] ในโครงการรับตรงเด็กพิเศษมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศาสตราภิชาน ทนง พิทยะ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | อำนวย วีรวรรณ |
ถัดไป | โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
ดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วัฒนา เมืองสุข |
ถัดไป | สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี |
คู่สมรส | มธุรส พิทยะ |
ศาสนา | พุทธ |
การศึกษาแก้ไข
ศาสตราภิชาน ทนง พิทยะ หรือที่รู้จักกันในาม ดร. ทนง พิทยะ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา รุ่นที่ 18 รุ่นเดียวกับ สนธิ ลิ้มทองกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ด้วยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ และระดับปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงานแก้ไข
งานราชการแก้ไข
ทนง พิทยะ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเคยดำรงตำแหน่งคณบดีในคณะดังกล่าว
งานธุรกิจแก้ไข
ทนง พิทยะ เคยเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ บริษัท ไทยเอเซีย แปซิฟก บริวเวอรี่ จำกัด และเป็นประธานกรรมการ บริษัท อวีว่า ประกันภัย (ไทย) จำกัด
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน), ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน), ประธานกรรมการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน), ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด
งานการเมืองแก้ไข
ทนง พิทยะ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในช่วงวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[6] ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากได้รับตำแหน่งดังกล่าวเพียง 6 เดือน จึงย้ายมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สลับกันกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประวัติย่อ นายทนง (ลำใย) พิทยะ
- ↑ "ทนง ลำใย: เศรษฐศาสตร์กับประชากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-08-31.
- ↑ “ทนง พิทยะ” ลดค่าเงินบาท ชื่อนี้ไม่มีพลาด
- ↑ วิกฤตต้มยำกุ้ง 2 ก.ค. 2540 : ใครเป็นใครใน 5 ตัวละครเอกของวิกฤตเศรษฐกิจแห่งเอเชีย
- ↑ รายนามนิสิต ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ปีการศึกษา 2560
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |