อำนวย วีรวรรณ

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

ศาสตราจารย์พิเศษ อำนวย วีรวรรณ (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 – 18 เมษายน พ.ศ. 2566) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) อดีตหัวหน้าพรรคนำไทย และพรรคมวลชน อดีตรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นบิดาของถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทประกอบธุรกิจโทรทัศน์ชื่อดัง

อำนวย วีรวรรณ
อำนวย ในปี พ.ศ. 2536
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
12 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าสมหมาย ฮุนตระกูล
ถัดไปสมหมาย ฮุนตระกูล
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
(รักษาการ)
ถัดไปทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี
ถัดไปประจวบ ไชยสาส์น
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต18 เมษายน พ.ศ. 2566 (90 ปี)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสคุณหญิงสมรศรี วีรวรรณ[1]
บุตรอมรพิมล วีรวรรณ
ถกลเกียรติ วีรวรรณ
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

อำนวย วีรวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดพระนคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 12677), ปริญญาตรี พาณิชยศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต และปริญญาเอก ด้านการบริหารธุรกิจ ทั้ง 3 ปริญญาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐ

ด้านชีวิตครอบครัว อำนวยสมรสกับคุณหญิงสมรศรี วีรวรรณ มีบุตร 2 คน เป็นบุตรสาว 1 คน คือ อมรพิมล วีรวรรณ และบุตรชายอีก 1 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง คือ บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัทประกอบธุรกิจโทรทัศน์ชื่อดัง

การรับราชการ

แก้

ศาสตราจารย์พิเศษ อำนวย วีรวรรณ หรือ ศ.ดร.อำนวย วีรวรรณ เข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง เคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อธิบดีกรมศุลกากร และเป็นปลัดกระทรวงการคลังคนแรกที่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ในปี พ.ศ. 2518 ด้วยอายุเพียง 43 ปี[2]

อำนวย วีรวรรณ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2537[3]

งานการเมือง

แก้

อำนวย วีรวรรณ เริ่มทำงานการเมืองโดยการได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (จอมพลถนอม กิตติขจร) ในปี พ.ศ. 2506[4] ต่อมาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5] และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2523 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปีเดียวกัน[6] และได้รับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2535[7] ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ จากนั้นจึงลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคนำไทยและได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2539[8] ต่อมาจึงได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การเงิน ในปี พ.ศ. 2540 ได้ ซึ่งต่อมาได้มีการแต่งตั้งนายทนง พิทยะ เข้ามารับหน้าที่แทน และได้มีการลดค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม[9]

อำนวย วีรวรรณ เคยก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคนำไทย"[10] และได้ยุติการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2541

อำนวย วีรวรรณ เป็นพยานในคดีผู้บริหารธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้เครือบริษัทกฤษดามหานคร[11]

บั้นปลายชีวิต

แก้

บั้นปลายชีวิต อำนวยเป็นบุคคลไร้ความสามารถ เนื่องจากประสบอุบัติเหตุหกล้มที่ประเทศเนเธอร์แลนด์[12][13] ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมลงด้วยโรคปอดบวม ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566 สิริอายุได้ 90 ปี[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ไชย ณ ศีลวันต์ คนหนุ่มที่ถูกกล่าวหา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-10-09.
  2. อำนวย วีรวรรณกับการเปลี่ยนแปลงของธนาคารกรุงเทพ
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายอำนวย วีรวรรณ)
  4. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  9. รัฐบาล‘บิ๊กจิ๋ว’กับลูกโป่งฟองสบู่ความอ่อนหัดในเวทีการเงินระดับโลก
  10. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคนำไทย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนพิเศษ 46ง วันที่ 17 ตุลาคม 2537
  11. ผู้บริหารธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้เครือบริษัทกฤษดามหานคร[ลิงก์เสีย]
  12. ราชกิจจาประกาศ 2 อดีตรัฐมนตรี เป็นคนไร้ความสามารถ
  13. ราชกิจจาประกาศ 2 อดีตรัฐมนตรี เป็นคนไร้ความสามารถ
  14. "สิ้น 'อำนวย วีรวรรณ' อดีตรองนายกฯ ด้วยโรคปอดอักเสบ สิริอายุ 90 ปี". มติชน. 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๔, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
ก่อนหน้า อำนวย วีรวรรณ ถัดไป
สมหมาย ฮุนตระกูล
(สมัยแรก)
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.42)
(12 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2524)
  สมหมาย ฮุนตระกูล
(สมัยที่ 2)
บดี จุณณานนท์
(ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ รักษาราชการแทน)
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.52)
(25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540)
  ทนง พิทยะ