เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์

บริษัทผลิตเนื้อหาโทรทัศน์และวิทยุในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: The ONE Enterprise Public Company Limited; ชื่อย่อ: ONEE) เป็นบริษัทมหาชนจำกัดรูปแบบบริษัทผู้ถือหุ้น ในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) โดยเป็นผู้นำในการประกอบธุรกิจสื่อและความบันเทิงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหา ผ่านการผลิตรายการที่มีคุณภาพหลากหลายประเภท ครอบคลุมฐานผู้ชมในทุกกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงการเป็นเจ้าของช่องทางเผยแพร่เนื้อหาที่ครอบคลุมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการจัดอีเวนต์, การรับจ้างผลิตและให้บริการแก่บุคคลภายนอก และการจำหน่ายลิขสิทธิ์เนื้อหาไปสู่ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้บริการเช่าสตูดิโอ, การบริหารจัดการศิลปิน และการขายสินค้า มีสถานะเป็นกิจการร่วมค้า และบริษัทเรือธงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สำหรับการผลิตเนื้อหาเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล และวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม โดยต่อยอดการประกอบธุรกิจมาจาก บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด มีผู้บริหารสูงสุดคือ บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และมี บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลภาพความละเอียดสูง ในชื่อ ช่องวัน 31 เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก

บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเดิม
  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี เทรดดิง จำกัด
    6 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง จำกัด
    12 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
  • บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
    27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
การซื้อขาย
SET:ONEE
อุตสาหกรรมสื่อและสิ่งพิมพ์
ก่อนหน้า
  • บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด
    27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 - ปัจจุบัน
  • บริษัท ซีเนริโอ จำกัด
    9 เมษายน พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน
ก่อตั้ง
  • บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด :
    27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534; 33 ปีก่อน (2534-11-27)
  • บริษัท ซีเนริโอ จำกัด :
    9 เมษายน พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-04-09)
  • บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด :
    6 กันยายน พ.ศ. 2556; 11 ปีก่อน (2556-09-06)
  • บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) :
    3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-05-03)
สำนักงานใหญ่50 อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ถนนอโศกมนตรี แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา, ,
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์
รายได้4,875.91 ล้านบาท (ณ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
เจ้าของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.theoneenterprise.com

เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีวิวัฒนาการจากการที่บอยเข้ามากำกับละครให้ บริษัท มาสเตอร์แพลน จำกัด (ปัจจุบันคือ เอ-ไทม์ มีเดีย) ในเครือแกรมมี่ มาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 ก่อนแยกตัวออกมาก่อตั้ง เอ็กแซ็กท์ เมื่อปี พ.ศ. 2534 ขึ้นในเครือเดียวกัน เพื่อผลิตเนื้อหาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ก่อนจะถูกเข้าซื้อกิจการโดยจีเอ็มเอ็ม มีเดีย ในปี พ.ศ. 2545 จากนั้นบอยได้ก่อตั้ง ซีเนริโอ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ในสัดส่วนเกินกึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมด เป็นบริษัทร่วมของจีเอ็มเอ็ม มีเดีย เพื่อต่อยอดธุรกิจไปสู่การจัดคอนเสิร์ต และการจัดแสดงละครเวที โดยมีโรงละครของตนคือเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ที่ร่วมทุนกับเมืองไทยประกันชีวิต

จากนั้นในปี พ.ศ. 2556 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ขึ้นเป็นบริษัทย่อย โดยถือหุ้นเอง 100% และให้เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ถือหุ้น 100% ในบริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ซึ่งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ส่งเข้าประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทความละเอียดสูง และได้รับใบอนุญาตในนามช่องวัน 31 จากนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 บอยและกลุ่มของบอยเข้าร่วมถือหุ้น 49% ในเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ พร้อมโอนกิจการโทรทัศน์จากเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอมารวมเพื่อความสะดวกในการบริหาร และเข้าซื้อหุ้นในบริษัทอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ, มีมิติ และแอ็กซ์ สตูดิโอ มาเป็นบริษัทย่อย จากนั้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2560 ได้รับการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 2 เท่า โดยปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ในนามบริษัท ประนันทภรณ์ จำกัด

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ซึ่งมีบริษัทย่อยคือจีเอ็มเอ็มทีวี, เชนจ์ 2561, จีเอ็มเอ็ม มีเดีย (รวมถึงเอไทม์ มีเดีย) และจีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อขยายฐานผู้รับชมเนื้อหาในกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ รวมถึงเพิ่มการทำงานร่วมกันภายในกลุ่มบริษัท และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนการตลาดของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 เพื่อวางเนื้อหาของตนในแต่ละช่องทางการเผยแพร่อย่างชัดเจน จากนั้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้อนุมัติให้นำ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จึงแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในนาม บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เพื่อระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน สำหรับจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในชื่อย่อหลักทรัพย์ ONEE และเริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน

ประวัติ

แก้

เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 หลังจากที่บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ บินกลับมาที่ประเทศไทยหลังจบการศึกษาจากสหรัฐ และเริ่มต้นเข้ามาทำงานในบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (ชื่อเดิมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) โดยเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้กำกับละครให้กับ บริษัท มาสเตอร์แพลน จำกัด ในเครือแกรมมี่ (ปัจจุบันคือ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด)[1] ของยุทธนา มุกดาสนิท และวาณิช จรุงกิจอนันต์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2531[2] ผลิตละครออกอากาศมาแล้ว 4 เรื่อง ออกอากาศในปี พ.ศ. 2532 - 2533 โดยบอยได้รับหน้าที่กำกับละครซิตคอมเรื่องใหม่ให้มาสเตอร์แพลน 2 เรื่อง คือ นางฟ้าสีรุ้ง และ 3 หนุ่ม 3 มุม ซึ่งประสบความสำเร็จทั้ง 2 เรื่อง[3]

เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ

แก้

เอ็กแซ็กท์

แก้
 
โลโก้เอ็กแซ็กท์

ต่อมาบอยต้องการผลิตละครด้วยตนเองเพื่อออกอากาศหลังข่าว จึงได้แยกตัวจากมาสเตอร์แพลนออกมาก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด (อังกฤษ: Exact Co., Ltd.) และควบตำแหน่งทั้งผู้จัด ผู้กำกับละคร และกรรมการผู้จัดการของบริษัทด้วยตนเอง[3] แต่ยังเป็นบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งของแกรมมี่ เพื่อรับจ้างผลิตรายการประเภทละคร เกมโชว์ ทอล์กโชว์ วาไรตี้ ซิตคอม ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534[4] โดยผลงานแรกอย่างเต็มรูปแบบของบริษัทคือละครดราม่าเรื่อง รักในรอยแค้น ออกอากาศในปี พ.ศ. 2535 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5[5] และต่อมาเอ็กแซ็กท์ก็ประสบความสำเร็จในการผลิตซิตคอมหลายเรื่อง จนกระทั่งเป็นผู้นำในการผลิตซิตคอมของประเทศไทย ก่อนที่เอ็กแซ็กท์ รวมถึงมาสเตอร์แพลน จะถูกเข้าซื้อกิจการไปเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545[6]

ซีเนริโอ

แก้
 
โลโก้ซีเนริโอ

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2547 บอยได้ต่อยอดธุรกิจโดยการก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด[7] (อังกฤษ: Scenario Co., Ltd.) โดยในปัจจุบันถือหุ้นเอง 54.38%, ให้จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ถือหุ้น 25% และอีก 20.62% ที่เหลือให้ศิลปิน นักแสดง และผู้บริหารของซีเนริโอเป็นผู้ถือหุ้น โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือรับจ้างผลิตรายการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ซึ่งมักจะผลิตรายการร่วมกับเอ็กแซ็กท์เป็นส่วนมาก แต่ซีเนริโอได้ต่อยอดธุรกิจเพิ่มเติมจากเอ็กแซ็กท์คือการจัดแสดงคอนเสิร์ตและละครเวที[6] รวมถึงต่อมายังได้จัดสร้างและบริหารโรงละครเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ที่ชั้น 4 ศูนย์การค้าเอสพละนาด รัชดาภิเษก โดยร่วมทุนกับเมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารไทยพาณิชย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550[8] ซึ่งธุรกิจละครเวทีและการบริหารโรงละครนี้ซีเนริโอยังคงดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ยังผลิตเนื้อหาเพื่อออกอากาศในช่องทางออนไลน์เพิ่มเติม ตามวิสัยทัศน์ใหม่คือ "มากกว่าละครเวที" ปัจจุบัน จิณณวัตร สิริวัฒน์ เป็นกรรมการผู้จัดการ[9] แทนบอยที่ขยับขึ้นไปเป็นประธานกรรมการแทน[10] นอกจากนี้ ซีเนริโอยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับที่ 3 ในเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ในปัจจุบัน และยังเป็นผู้ถือหุ้นรายเดิมของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ที่เสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนอีกด้วย[11]

การปรับโครงสร้าง

แก้

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ภายหลังจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อนุมัติการขายหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง จำกัด (ชื่อในขณะนั้นของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์) ให้กับบอยและกลุ่มของบอย ผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ฝ่ายได้ทำสัญญาร่วมกัน ซึ่งกำหนดให้เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอโอนย้ายผู้บริหาร บุคลากรฝ่ายการผลิต ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ในการผลิตรายการโทรทัศน์ทั้งหมด ยกเว้นลิขสิทธิ์ในคลังเนื้อหาเดิมของเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ออกจากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย เข้าไปยังจีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง ทำให้เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอเหลือการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์เพียงเฉพาะการถือลิขสิทธิ์ในคลังเนื้อหาเดิมของรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ที่ผลิตก่อนปรับโครงสร้าง และซีเนริโอยังคงประกอบธุรกิจละครเวทีและคอนเสิร์ตต่อไปเช่นเดิม โดยมีผลหลังการเสร็จสิ้นกระบวนการเพิ่มทุนเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558[12]

ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560 บริษัท อเดลฟอส จำกัด ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ได้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ดูแลกลุ่มธุรกิจทั้งหมดของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งได้รวมเอาจีเอ็มเอ็ม มีเดีย เข้ามาเป็นบริษัทย่อยด้วย ในสัญญาจึงระบุให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ปรับโครงสร้างการลงทุน โดยเข้าซื้อและรับโอนหุ้นของเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ที่จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ถืออยู่เดิม มาถือเองโดยตรง ทำให้เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอถูกย้ายไปเป็นบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไปโดยปริยาย[13] การปรับโครงสร้างในส่วนนี้แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม[14]

บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

แก้

ส่วน เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ นั้น ก่อตั้งขึ้นโดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี เทรดดิง จำกัด (อังกฤษ: GMM HD Digital TV Trading Co., Ltd.) ด้วยทุนจดทะเบียน 200,000,000 บาท ถือหุ้นในสัดส่วน 100% โดยตราไว้ที่หุ้นละ 100 บาท มีสถานะเป็นบริษัทย่อย (Subsidiary) ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่[15] และส่งบริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (อังกฤษ: GMM HD Digital TV Co., Ltd.; ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด (อังกฤษ: One 31 Co., Ltd.)) บริษัทย่อยของตนเข้าประมูลช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล และชนะการประมูลในประเภทช่องรายการทั่วไป ความละเอียดสูง โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ถ่ายโอนเนื้อหาของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม "จีเอ็มเอ็มวัน" มาให้จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี ดำเนินการออกอากาศทั้งหมดในนาม "ช่องวัน" (ปัจจุบันคือช่องวัน 31)[16] จากนั้นบอยได้เข้าบริหารช่องวันอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม ดิจิทัลทีวี (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปรับชื่อตำแหน่งเป็น "ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม วัน ดิจิทัลทีวี") ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่[17] ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี เทรดดิง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง จำกัด (อังกฤษ: GMM One TV Trading Co., Ltd.) และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 400,000,000 บาท[18] ก่อนที่บอยจะปรับเปลี่ยนแผนการออกอากาศละครซึ่งเดิมออกอากาศทาง ททบ.5 โดยย้ายมาออกอากาศทางช่องวันตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน เพื่อให้สอดคล้องกับเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกอากาศเพื่อให้ ททบ.5 เป็นสถานีโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคง รวมถึงกฎการเช่าเวลาผลิตรายการของ กสทช. และการขาดทุนในการเช่าเวลาผลิตละครกับ ททบ.5 อีกด้วย[19]

ภายใต้การบริหารของบอย

แก้

จากนั้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้อนุมัติการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ในจีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง โดยให้จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 500,000,000 บาท เพื่อจำหน่ายให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถือหุ้นเพิ่มอีก 59,000,000 บาท ส่วนอีก 441,000,000 บาทที่เหลือ จำหน่ายให้กับบอยและกลุ่มของบอย (ประกอบด้วยตัวของบอยเอง, บริษัท ซีเนริโอ จำกัด และบริษัท วัน ทำ ดี จำกัด) เป็นผู้ถือหุ้น รวมเป็นทุนจดทะเบียนใหม่ในขณะนั้นคือ 900,000,000 บาท ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในจีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง ระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กับบอยและกลุ่มของบอย เปลี่ยนแปลงไปเป็น 51% ต่อ 49% จึงเปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นกิจการร่วมค้า (Joint Venture)[20] พร้อมทั้งทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ให้จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง รับโอนกิจการโทรทัศน์ทั้งหมดของเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ออกจากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย และโอนถ่ายต่อไปยังจีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักและผู้รับใบอนุญาตของช่องวัน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริหารทั้งเนื้อหาที่ผลิตและช่องทางการเผยแพร่ให้เป็นวงจรเดียวกัน[12] รวมถึงยังขายเงินลงทุนทั้งหมดในบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด ซึ่งในขณะนั้นถือหุ้นโดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (รับโอนหุ้นมาจากเอ็กแซ็กท์เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557)[21] และซีเนริโอ ฝ่ายละ 50% ให้กับจีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง เพื่อเข้าซื้อมาเป็นบริษัทย่อยของตน สำหรับใช้เป็นสตูดิโอถ่ายทำรายการและละครของช่องวัน[20] โดยที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้เห็นชอบการปรับโครงสร้างธุรกิจทั้งหมดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[22] โดยกระบวนการเพิ่มทุนและการปรับโครงสร้างองค์กรทั้งหมดเสร็จสิ้นในวันที่ 27 มีนาคม[23] ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท เดอะ นิวส์ ทีวี จำกัด จากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ จำกัด (คนละนิติบุคคลกับเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ) มาเป็นบริษัทย่อย เพื่อดูแล ประสานงาน และบริหารจัดการศิลปินในสังกัด[24] และจากการที่เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอโอนกิจการโทรทัศน์ทั้งหมดให้จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง จึงทำให้ช่องแอ็กซ์ แชนแนล ยุติการออกอากาศลงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม[25]

ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (อังกฤษ: The ONE Enterprise Co., Ltd.) และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,500,000,000 บาท[26] ต่อมาในเดือนมิถุนายน เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท มีมิติ จำกัด ของรุ่งธรรม พุ่มสีนิล ในส่วนที่จีเอ็มเอ็มทีวีถืออยู่เดิมทั้งหมด ซึ่งคิดเป็น 70% ของหุ้นในมีมิติ[27] ทำให้มีมิติถูกย้ายไปเป็นบริษัทย่อยของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ไปโดยปริยาย เพื่อร่วมผลิตรายการเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ เรียลลิตี้โชว์ ออกอากาศทางช่องวันและจีเอ็มเอ็ม แชนแนล และวันที่ 17 พฤศจิกายน หลังจากเข้าซื้อแอ็กซ์ สตูดิโอ ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำนวนอีก 405,000,000 บาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุนจดทะเบียนจึงเพิ่มขึ้นเป็น 1,905,000,000 บาท[23] โดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้าถือหุ้นในแอ็กซ์ สตูดิโอทั้งหมด[28] และเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้รับหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของแอ็กซ์ สตูดิโอ มาเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นของตนตามสัดส่วน ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้จำหน่ายหุ้นที่ตนถือในมีมิติให้รุ่งธรรมไปถือโดยตรงจำนวน 27,000 หุ้น พร้อมโอนพนักงานบางส่วนของตนไปยังมีมิติ และปรับสถานะเป็นบริษัทร่วม[29] เนื่องจากเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ต้องการมุ่งเน้นการผลิตละครเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รุ่งธรรมและเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ก็ได้ทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นในมีมิติ โดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จะประสานงานกับสถานีโทรทัศน์ในการเช่าเวลาออกอากาศรายการของมีมิติ[30]

การเพิ่มทุนโดยตระกูลปราสาททองโอสถ

แก้

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นใหญ่จำนวน 100% โดยแพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ บุตรสาวของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้งสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม และ 31 พฤษภาคม เป็นจำนวน 500,000,000 บาท และ 1,405,000,000 บาท ตามลำดับ ทำให้ปรมาภรณ์เป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดใน เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ คือ 1,905,000,000 บาท และทำให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มจากเดิม 2 เท่า คือ 3,810,000,000 บาท โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นในเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ระหว่างประนันท์ภรณ์, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กับบอยและกลุ่มของบอย เป็น 50% : 25.50% : 24.50%[31] อย่างไรก็ตาม ประนันท์ภรณ์ไม่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ แต่อย่างใด[32] ภายหลังการเพิ่มทุนเสร็จสิ้น เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้แต่งตั้งไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ควบอีกบริษัทหนึ่ง[33] ระหว่างนี้ในวันที่ 17 เมษายน ซีเนริโอได้เสนอขายหุ้นที่ตนถืออยู่ใน เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำนวน 220,000,000 บาท ให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มาลงทุนในเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เพิ่มเติม[34][35] โดยได้รับความเห็นชอบที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม[36] และกระบวนการเข้าซื้อหุ้นเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ระหว่างประนันท์ภรณ์, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กับบอยและกลุ่มของบอย เปลี่ยนเป็น 50% : 31.27% : 18.73%[37] และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม วัน ดิจิทัลทีวี ก็ได้ถูกโอนย้ายจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไปเป็นธุรกิจของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ อย่างเต็มรูปแบบ จากการปรับโครงสร้างองค์กรของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่[38]

เข้าซื้อจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง

แก้

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.​ 2563 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด (ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง; ประกอบด้วย จีเอ็มเอ็มทีวี, เชนจ์ 2561, จีเอ็มเอ็ม มีเดีย (รวมถึงเอไทม์ มีเดีย) และจีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล) จากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกลุ่มทีซีซี มูลค่า 2,200,000,000 บาท ทำให้เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้กลุ่มบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์เนื้อหาหลากหลายประเภท เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้รับชมเนื้อหาในหลากหลายกลุ่ม รวมถึงช่องทางการเผยแพร่เนื้อหาทางออฟไลน์เพิ่มเติมคือวิทยุ เข้ามาบริหารและเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไปทั้งหมด รวมถึงทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนการตลาด และสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์รายการของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 จากบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ผู้รับใบอนุญาตของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ซึ่งถูกโอนขายไปเป็นบริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ทำให้ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนการตลาด ผ่านการจัดหาลูกค้า การจำหน่ายเวลาโฆษณาทั้งหมด และการร่วมผลิตรายการให้กับช่องจีเอ็มเอ็ม 25 โดยการปรับโครงสร้างทั้งหมดเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ยกเว้นการเป็นตัวแทนการตลาดและการอนุญาตใช้ชื่อรายการโทรทัศน์ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จนกระทั่งหมดอายุใบอนุญาตของช่องจีเอ็มเอ็ม 25[39]

การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยแยกธุรกิจวิทยุและการผลิตเนื้อหาออกอากาศทางโทรทัศน์ของตนไปอยู่ในความดูแลของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ทั้งหมด เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการสร้างสรรค์เนื้อหาของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ให้ครอบคลุมผู้รับชมทุกกลุ่มเป้าหมาย และเป็นการขยายฐานผู้รับชมเนื้อหาให้ครอบคลุมมากขึ้นตามยุคสมัยที่ปัจจุบันมีผู้รับชมเนื้อหาเฉพาะกลุ่มมากขึ้น และเพื่อขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้ากัน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมเพื่อนำ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้าสู่การเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อทำการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (Initial public offering; IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะทำให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มมากขึ้นจากทรัพย์สิน และการเป็นผู้นำด้านการสร้างสรรค์เนื้อหาอย่างครบวงจร[40] โดยเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้มีมติกำหนดให้ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นบริษัทเรือธง (Flagship Company) ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สำหรับการผลิตเนื้อหาที่มุ่งเน้นเพื่อการออกอากาศผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล และวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม[41][42]

วันที่ 10 มีนาคม ปีเดียวกัน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้อนุมัติแนวทางการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติมระหว่างตนกับ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ และอนุมัติให้บรรจุวาระเพิ่มให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติแผนการนำเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีเงื่อนไขในการเข้าจดทะเบียนจำนวน 4 ข้อ[42] โดยต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีมติพิเศษอนุมัติให้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด พร้อมเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 952,500,000 บาท คิดเป็น 20% ของทุนจดทะเบียนเดิม เพื่อใช้เป็นหุ้นเพิ่มทุนสำหรับการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน ทำให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดิม 3,810,000,000 บาท เป็น 4,762,500,000 บาท รวมถึงแตกหุ้นจากเดิมหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 2 บาท ทำให้จำนวนหุ้นทั้งหมดของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีจำนวน 2,381,250,000 หุ้น ในจำนวนนี้เสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนเป็นจำนวน 476,250,000 หุ้น (ตามเงื่อนไขเข้าจดทะเบียนข้อที่ 1) โดยมีผลหลังจากแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเสร็จสิ้น จากนั้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน บริษัท วัน ทำ ดี จำกัด ได้กระจายหุ้นของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มาให้ผู้ถือหุ้นของวัน ทำ ดี ถือหุ้นโดยตรงตามสัดส่วน[43] และในวันที่ 30 เมษายน ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติแผนการนำ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[44]

บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

แก้

จากนั้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ได้แจ้งมติพิเศษของที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และแปรสภาพนิติบุคคลจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในนาม บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: The ONE Enterprise Public Co., Ltd.) ด้วยทุนจดทะเบียนใหม่ตามมติพิเศษจำนวน 4,762,500,000 บาท[45]

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อทำการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ ในชื่อย่อหลักทรัพย์ ONEE[46] โดยมีกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย ซึ่งพบว่าซีเนริโอได้เสนอขายหุ้นเดิมของ ONEE เพิ่มเติมอีกจำนวน 20,025,000 หุ้น มูลค่า 40,050,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 0.84% รวมแล้ว ONEE เสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนจำนวนทั้งหมด 496,252,500 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 20.84% และเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ถือหุ้น 100% ได้โอนหุ้นที่ตนถือใน ONEE มาให้ปรมาภรณ์ถือโดยตรงทั้งหมด จากกระบวนการดังกล่าวทำให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กลับขึ้นมามีอำนาจควบคุมใน ONEE อีกครั้ง โดย ก.ล.ต. ได้อนุมัติคำขอเสนอขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 30 กันยายน และอนุมัติร่างหนังสือชี้ชวนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม (ตามเงื่อนไขเข้าจดทะเบียนข้อที่ 2)[43]

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แก้

ONEE ได้ทำการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนในเบื้องต้น ที่ช่วงราคาหุ้นละ 7.50–8.50 บาท เมื่อวันที่ 20, 21, 25 และ 26 ตุลาคม รวมถึงเสนอขายหุ้นให้แก่นักลงทุนสถาบันเมื่อวันที่ 28, 29 ตุลาคม และ 1 พฤศจิกายน[47] ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนในระดับดีมาก ONEE จึงประกาศราคาเสนอขายสุดท้ายที่ราคาสูงสุดของช่วงราคาที่ตั้งไว้ คือหุ้นละ 8.50 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณกับจำนวนหุ้นที่เสนอขายไปแล้ว ONEE จึงมีมูลค่าเสนอขายทั้งหมด 4,218,146,250 บาท ทำให้ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าเสนอขายที่สูงที่สุดในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ นับตั้งแต่เปิดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกด้วย[48][49]

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ONEE ได้รับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นครบจำนวน และจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วเป็น 4,762,500,000 บาท เท่ากับจำนวนทุนจดทะเบียน (ตามเงื่อนไขเข้าจดทะเบียนข้อที่ 4)[50] จากนั้นในวันรุ่งขึ้น (4 พฤศจิกายน) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศข่าวเพิ่มหุ้นสามัญของ ONEE เป็นสินค้าใหม่ โดยกำหนดวันเริ่มต้นการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและการซื้อขายหุ้นของ ONEE ในวันที่ 5 พฤศจิกายน (ตามเงื่อนไขเข้าจดทะเบียนข้อที่ 3)[51]

ในที่สุด เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (ONEE) จึงได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรรมการกับผู้บริหารได้ร่วมกันตีฆ้องและสั่นระฆังเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์วันแรกอย่างเป็นทางการ (First Trading Day) ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ เมื่อเวลา 10:00 น.[52]

ภายหลังจดทะเบียน

แก้

หลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ในปี พ.ศ. 2565 ONEE ได้ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงที่ทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยลงทำการแข่งขันทุกนัด เพื่อขยายฐานผู้รับชมไปสู่ผู้รับชมที่เน้นรับชมรายการกีฬาเพิ่มเติม เริ่มต้นจากวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2022 โดยออกอากาศทางช่องวัน 31 สลับกับจีเอ็มเอ็ม 25[53] รวมทั้งยังร่วมมือกับเอสบีเอส คอนเทนต์ ฮับ จากประเทศเกาหลีใต้ เพื่อรวมกันผลิตซีรีส์จากประเทศเกาหลีใต้ในรูปแบบของประเทศไทยเพื่อออกอากาศทางช่องวัน 31 และออกอากาศคู่ขนานในประเทศเกาหลีใต้ ประเทศจีน และเครือข่ายทั่วโลก[54] ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน ได้จัดตั้งบริษัท วันสนุก จำกัด เป็นบริษัทย่อย เพื่อประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่นเพิ่มเติม[55]

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ปรมาภรณ์ได้ขายหุ้นสามัญที่ถืออยู่ในบริษัทเป็นจำนวน 375,000,000 หุ้น คิดเป็น 15% ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของ ONEE ให้แก่นักลงทุนวงจำกัดแบบข้ามคืน (Overnight Private Placement) ซึ่งรวมถึงนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงนักลงทุนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลโดยเฉพาะเจาะจง จำนวนไม่เกิน 50 ราย ในราคาหุ้นละ 8.50 บาท ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และจัดจำหน่ายโดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน ONEE ของปรมาภรณ์ลดลงจาก 40.04% เหลือ 25.05% แต่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ของ ONEE เช่นเดิม และทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยของ ONEE เพิ่มขึ้นจาก 20.90% เป็น 35.90%[56][57] โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารของกลุ่ม ONEE แต่อย่างใด[58]

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ONEE ได้เผยแพร่สารสนเทศเกี่ยวกับการเข้าซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นเดิมของ บริษัท ภาพดีทวีสุข จำกัด ของจีเอ็มเอ็มทีวี ในสัดส่วน 51% ซึ่งเป็นรายการที่มีการอนุมัติไว้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน ทำให้ภาพดีทวีสุขมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ ONEE ไปโดยปริยาย และเป็นการขยายกำลังการผลิตคอนเทนต์เพื่อออกอากาศเป็นการเพิ่มเติม[59] และในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566 ONEE ได้เผยแพร่สารสนเทศเกี่ยวกับการเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 51% ในบริษัท กู๊ดธิงแฮพเพ่น จำกัด ของวันสนุก ซึ่งเป็นรายการที่มีการอนุมัติไว้ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ทำให้กู๊ดธิงแฮพเพ่นมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ ONEE ไปโดยปริยาย เพื่อเข้ามาช่วยดูแลการจัดจำหน่ายโฆษณาต่าง ๆ ให้กับบริษัทในเครือ[60]

ต่อมาจากการปิดสมุดจดทะเบียนบริษัท ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 พบว่าในช่วงหลังจากที่ปรมาภรณ์ขายหุ้นจนถึงวันปิดสมุด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้รับหุ้น ONEE เพิ่มขึ้นอีก 1,600,000 หุ้น คิดเป็น 0.05% ของทุนจดทะเบียนบริษัท ทำให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ใน ONEE แทนปรมาภรณ์อีกครั้งจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ONEE ได้แจ้งว่าได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพิ่มอีก 1 บริษัท ตามที่คณะกรรมการอนุมัติเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม คือบริษัท เกรทเดย์ โปรดักชั่นส์ จำกัด และจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน โดย ONEE ถือหุ้น 100% เพื่อรับจ้างผลิตเนื้อหาเพิ่มเติม[61] และยังได้ให้วันสนุกร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนอีกสองแห่งกับนิติบุคคลอื่น คือ บริษัท จิงเจอซ์ จำกัด ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตเนื้อหา และบริษัท นีโอ วัน ซัสเทนเมนท์ จำกัด ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตเนื้อหา ผลิตสินค้า และรับจ้างจัดอีเวนต์[62]

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ปรมาภรณ์ได้ขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดใน ONEE ให้กับกลุ่มของพิธาน องค์โฆษิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย พิธาน โดย Nomura Singapore Limited-Customer Segregated Account ถือหุ้นแทนจำนวน 14.84% และบริษัท วันทอง โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 10% และตระกูลวีรวรรณ ซึ่งประกอบด้วย ถกลเกียรติ, รศนาภรณ์ และอมรภิมล อีกรายละ 0.07% พร้อมกันนี้ พิธานยังได้ขายหุ้นของวันทอง โฮลดิ้งส์ ให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถือหุ้นทั้งหมด[63] และเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 วันทอง โฮลดิ้งส์ ได้โอนหุ้นของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ที่ถืออยู่ทั้ง 10% มาให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถือหุ้นเองทั้งหมด ทำให้โครงสร้างการถือหุ้นเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง และจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทโดยปริยาย แต่ยังคงเป็นกิจการร่วมค้าเช่นเดิม[64]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

แก้
  • ข้อมูล ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567[65]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 835,499,850 35.09%
2 Nomura Singapore Limited-Customer Segregated Account 353,375,000 14.84%
3 บริษัท ซีเนริโอ จำกัด 201,722,500 8.47%
4 นาง หทัยรัตน์ จุฬางกูร 174,377,800 7.32%
5 นาย ถกลเกียรติ วีรวรรณ 105,738,800 4.44%

บริษัทและธุรกิจในเครือ

แก้

บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (ONEE) เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น หรือบริษัทผู้ถือหุ้น (Holding Company) โดยลงทุนและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสื่อและความบันเทิงที่ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Vertically Integrated Service Provider) ตั้งแต่การเป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creator) ผ่านการผลิตรายการที่มีคุณภาพหลากหลายประเภท เช่น ละคร, ซิทคอม, ซีรีส์, วาไรตี้, เกมโชว์, ข่าว ครอบคลุมผู้ชมทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มผู้ชมระดับกำลังซื้อสูงในวงกว้าง (Premium Mass), กลุ่มครอบครัว (Family), กลุ่มคนรุ่นใหม่ (New Generation) และกลุ่ม Edgy และยังเป็นเจ้าของช่องทางเผยแพร่เนื้อหาของตนซึ่งครอบคลุมทั้งออฟไลน์ (โทรทัศน์, วิทยุ) และออนไลน์ (เว็บไซต์, สื่อสังคม และบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต) โดยมีบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้[43]

บริษัทในเครือ

แก้

ปัจจุบัน ONEE มีบริษัทในเครือจำนวน 14 บริษัท แบ่งออกเป็น 13 บริษัทย่อย และ 1 บริษัทร่วม ดังนี้

บริษัทย่อย

แก้
  • บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักของ ONEE โดยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ทั่วไป ความละเอียดสูง ในชื่อ ช่องวัน 31 รวมถึงเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ออกอากาศทางช่องวัน 31 และช่องจีเอ็มเอ็ม 25 โดยเน้นผลิตเนื้อหาเจาะกลุ่มผู้รับชมเนื้อหาคุณภาพสูงในวงกว้าง (Premium Mass) ซึ่งเป็นฐานคนดูหลักของช่องวัน 31 รวมถึงเนื้อหาสำหรับครอบครัว นอกจากนี้ยังกำกับดูแลสำนักข่าววันนิวส์ และพัฒนาบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ตในชื่อ "วันดี (oneD)" อีกด้วย
  • บริษัท เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ จำกัด เป็นบริษัทสำหรับประสานงาน จัดหา ผลิต ดูแล และบริหารศิลปินภายใต้สังกัด ONEE, ช่องวัน 31, จีเอ็มเอ็ม 25 และบริษัทในเครือ
  • บริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด เป็นผู้ให้บริการสตูดิโอและโรงถ่ายชื่อ แอ็กซ์ สตูดิโอ สำหรับถ่ายทำรายการโทรทัศน์ของช่องวัน 31 และช่องจีเอ็มเอ็ม 25
  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด (GMMCH) ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ออกอากาศทั้งช่องทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะช่องจีเอ็มเอ็ม 25 และช่องวัน 31 และเป็นตัวแทนการตลาดให้กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ทั่วไป ความละเอียดมาตรฐาน ในชื่อ จีเอ็มเอ็ม 25 โดยจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง มีบริษัทย่อยดังนี้
    • บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ ละคร ซีรีส์แนววัยรุ่น และซีรีส์วาย ออกอากาศทางช่องจีเอ็มเอ็ม 25 เป็นหลัก เนื่องจากเนื้อหาที่ผลิตเน้นเจาะกลุ่มคนดูประเภทคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นฐานคนดูหลักของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 รวมถึงยังบริหารศิลปินและขายสินค้า
      • บริษัท ภาพดีทวีสุข จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภท ละคร ซีรีส์แนววัยรุ่น และซีรีส์วาย ออกอากาศทางช่องทางต่าง ๆ ทั้งช่องวัน 31 และจีเอ็มเอ็ม 25
    • บริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทละคร วาไรตี้ และทอล์กโชว์ แนวดราม่าแบบชีวิตจริง สอดแทรกแนวคิดในการใช้ชีวิต เน้นเจาะกลุ่มคนดูประเภท Edgy ออกอากาศทางช่องวัน 31 เป็นหลัก และยังผลิตเนื้อหาออกอากาศตามสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ
    • บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) (GMMCH ถือหุ้น 99.8%) เป็นผู้ให้บริการสถานีวิทยุกระจายเสียงในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีบริษัทย่อยคือ
    • บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการประเภทละครและซีรีส์เพื่อออกอากาศในช่องทางโทรทัศน์ ออนไลน์ และจำหน่ายลิขสิทธิ์ไปยังต่างประเทศ
  • บริษัท วันสนุก จำกัด ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น
    • บริษัท กู๊ดธิงแฮพเพ่น จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการสื่อโฆษณาทุกประเภท บริการให้คำปรึกษาด้านงานประชาสัมพันธ์ รับดำเนินการจัดกิจกรรมทางการตลาด และรับวางแผนและจัดซื้อสื่อโฆษณาทุกประเภท
  • บริษัท เกรทเดย์ โปรดักชั่นส์ จำกัด ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตเนื้อหา

บริษัทร่วม

แก้

ONEE มีบริษัทร่วม 1 แห่งคือ บริษัท มีมิติ จำกัด (ONEE ถือหุ้น 25% อีก 75% ถือโดยรุ่งธรรม พุ่มสีนิล) เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ วาไรตี้ เรียลลิตี้ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ โดย ONEE เป็นที่ปรึกษา หรือประสานงานให้กับสถานีโทรทัศน์ในการเช่าเวลาออกอากาศรายการของมีมิติ

การประกอบธุรกิจ

แก้

ONEE ประกอบธุรกิจ 4 ธุรกิจหลัก และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอีก 3 ธุรกิจ ดังนี้

ธุรกิจหลัก

แก้
ธุรกิจบริหารลิขสิทธิ์ ผลิตรายการ และบริหารสถานีโทรทัศน์
แก้

ONEE ประกอบกิจการในธุรกิจโทรทัศน์ ทั้งการผลิตรายการประเภทต่าง ๆ เช่น ละคร ซิทคอม ซีรีส์ วาไรตี้ เกมโชว์ และข่าว รวมถึงการบริหารลิขสิทธิ์ และการบริหารจัดการการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ โดยการนำรายการไปเผยแพร่ในช่องทางหลัก ได้แก่

ธุรกิจผลิตรายการวิทยุ
แก้

ONEE ยังประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์เนื้อหาเสียง (Voice Content) โดยจีเอ็มเอ็ม มีเดีย และเอไทม์ มีเดีย ดำเนินการผลิตรายการวิทยุออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งบนคลื่นความถี่เอฟเอ็ม และช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันทั้งหมด 3 รายการ ได้แก่

  • รายการวิทยุอีเอฟเอ็ม บนคลื่นความถี่ เอฟ.เอ็ม. 94.0 เมกะเฮิรตซ์
  • รายการวิทยุกรีนเวฟ บนคลื่นความถี่ เอฟ.เอ็ม. 106.5 เมกะเฮิรตซ์
  • รายการชิล ออนไลน์ บนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน เอไทม์ ออนไลน์
ธุรกิจรับจ้างผลิตและบริการ
แก้

ONEE ประกอบกิจการรับจ้างผลิตและบริการให้กับบุคคลภายนอกตามความต้องการ เพื่อนำไปเผยแพร่ในช่องทางการเผยแพร่ต่าง ๆ ทั้งของสถานีโทรทัศน์ที่เป็นพันธมิตร และผู้ให้บริการทางออนไลน์ โดยลิขสิทธิ์รายการจะเป็นของผู้ว่าจ้าง รวมถึงยังรับจ้างจัดอีเวนต์ให้กับบุคคลภายนอกอีกด้วย โดยจีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นผู้ผลิตผลงานต้นฉบับของเน็ตฟลิกซ์ (Netflix Original) รายแรกของประเทศไทย จากซีรีส์ เคว้ง ในปี พ.ศ. 2562

ธุรกิจจัดอีเวนต์
แก้

ONEE ประกอบธุรกิจจัดอีเวนต์ เช่น งานพบปะกับศิลปิน งานคอนเสิร์ต งานสัมมนา กิจกรรมตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ เช่นแอปพลิเคชันวีไลฟ์ หรือซูม โดยงาน "โกลบอล ไลฟ์ แฟนมีตติ้ง" ของไบรท์ - วชิรวิชญ์ ชีวอารี และวิน - เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร ซึ่งจัดโดยจีเอ็มเอ็มทีวี เป็นกิจกรรมที่ถูกเผยแพร่ไปมากกว่า 93 ประเทศทั่วโลก[67]

ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

แก้

นอกจากธุรกิจข้างต้น ONEE ยังประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ อันได้แก่

  1. ธุรกิจให้เช่าสตูดิโอและสถานที่ถ่ายทำรายการ โดยแอ็กซ์ สตูดิโอ ให้บริการสถานที่และสตูดิโอถ่ายทำรายการและจัดอีเวนต์ขนาดใหญ่ในตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ในชื่อ แอ็กซ์ สตูดิโอ และจีเอ็มเอ็มทีวี ให้บริการสถานที่และสตูดิโอถ่ายทำรายการในอาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ในชื่อ จีเอ็มเอ็ม ทีวี ครีเอทีฟ สเปซ รวมถึงวัน สามสิบเอ็ด ยังได้เช่าใช้สตูดิโอถ่ายทำรายการด้านหลังอาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ในชื่อ จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอ โดยทั้ง 3 สตูดิโอเป็นสถานที่ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ทุกประเภทของทั้งช่องวัน 31 และจีเอ็มเอ็ม 25 และยังเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลักของจีดีเอช ห้าห้าเก้า ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี
  2. ธุรกิจบริหารจัดการศิลปิน โดยเอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ และจีเอ็มเอ็มทีวี เป็นตัวแทนในการติดต่อและวางแผนงานระหว่างศิลปินและลูกค้าที่ต้องการว่าจ้างศิลปินในสังกัดของกลุ่มบริษัทฯ โดยปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีศิลปินภายใต้การดูแลกว่า 200 คน เช่น ฟิล์ม - ธนภัทร กาวิละ, ป้อง - ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์, บี - น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์, วิน - เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร, และ ไบรท์ - วชิรวิชญ์ ชีวอารี
  3. ธุรกิจขายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับรายการหรือศิลปิน โดยจีเอ็มเอ็มทีวี เป็นผู้ผลิตสินค้า (Merchandising) ที่เกี่ยวเนื่องกับรายการและศิลปิน เพื่อวางจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติการเปลี่ยนแปลง | ชื่อนิติบุคคล : บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ข้อมูลนิติบุคคล : บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 ยอดมนุษย์..คนธรรมดา (2020-08-20). "กว่าจะเป็น 3 หนุ่ม 3 มุม ซิตคอมแห่งความผูกพันที่ลาจอไป 22 ปี ก่อนจะพาลูกกลับมา x2 ในปีนี้". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ข้อมูลนิติบุคคล | บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. วีรวรรณ, ถกลเกียรติ (2010). 20 ปีแรกในชีวิตการทำงานของ บอย ถกลเกียรติ. ซีเนริโอ. ISBN 9789748104690.
  6. 6.0 6.1 "ลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ข้อมูลนิติบุคคล | บริษัท ซีเนริโอ จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. เหรียญทอง, มรกต. "กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจละครเพลง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด" (PDF). คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ""ซีเนริโอ" ปรับตัว 360 องศา รุกธุรกิจใหม่ "บริหารศิลปิน"". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-06-23. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "แบบแสดงรายงานข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2564 (แบบ 56-1 One Report) บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)" (PDF). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. 2022-03-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 "รายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับรายการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน กรณีการสละสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนบางส่วนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวีเทรดดิ้ง จำกัด และกรณีการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2015-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "การเข้าร่วมลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2017-08-24. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "แจ้งการสละสิทธิการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง และการดำเนินการที่สำคัญตามสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2017-12-07. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "แจ้งการยกเลิกบริษัทย่อย การเพิ่มทุนในบริษัทย่อย และการจัดตั้งบริษัทย่อย" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "เจาะลึกแผนธุรกิจบิ๊กบอส 24 ช่องทีวีดิจิตอล". ไทยรัฐ. 2014-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2014-05-15. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "แจ้งเปลี่ยนชื่อบริษัทย่อยและเปลี่ยนแปลงเงินลงทุน" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2014-06-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "บอย Exact ย้ายฐานทัพส่งละครเข้า Gmm One ทีวีดิจตอล | ศัลยกรรม รีวิวศัลยกรรม แหล่งข้อมูลสุขภาพและแฟชั่น". Wonderful. 2014-07-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  20. 20.0 20.1 "แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเรื่อง รายการที่เกี่ยวโยงกันและการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ กำหนดวันและวาระการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2558" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2014-12-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "แจ้งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการลงทุนในบริษัทย่อย" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 25 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2024.
  22. "รายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2015-02-10. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. 23.0 23.1 "ประวัติการเปลี่ยนแปลง | ชื่อนิติบุคคล : บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "รายงานการขายเงินลงทุนในบริษัท เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ จำกัด" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "ช่อง Acts Channel ยังเป็นของคุณบอยอยู่หรือเปล่าครับ ?". พันทิป.คอม. 3 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "แจ้งเปลี่ยนชื่อบริษัทย่อยและการเพิ่มทุนในบริษัทย่อย". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2015-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.
  27. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2015-06-24). "ที่ GRAMMY 017/2558" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  28. "แจ้งการเพิ่มทุนในบริษัทย่อยของ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "รายงานประจำปี 2559 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2017-03-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. "การเพิ่มทุนจดทะเบียนและการเข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. "ประวัติการเปลี่ยนแปลง | ชื่อนิติบุคคล : บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  33. "รายงานประจำปี 2560 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  34. "สารสนเทศรายการที่เกี่ยวโยงกัน เรื่อง "การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด จาก บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)"" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  35. เจดี พาร์ทเนอร์ (2017-04-27). "รายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน กรณีการเข้าลงทุนเพิ่มเติมในบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  36. "รายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2560" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2017-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  37. "รายงานประจำปี 2561 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  38. "การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2018-02-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-28.
  39. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2020-12-21). "แจ้งเรื่องการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) การเข้าทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนการตลาดช่อง GMM25 และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่บริษัทร่วมค้า" (PDF). grammy.listedcompany.com. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  40. "'ช่องวัน' กางแผนรุกใหญ่ แต่งตัวเข้าตลาดฯ หลังซื้อกิจการ GMM25". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2020-12-02. สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  41. "แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563". จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2022-07-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  42. 42.0 42.1 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2021-03-10). "แจ้งมติคณะกรรมการบริษัทเรื่องการนำบริษัทในกลุ่มบริษัท เดอะวัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และแก้ไขเพิ่มเติมวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
  43. 43.0 43.1 43.2 "หนังสือชี้ชวนตราสารทุน บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  44. "แจ้งมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2021-04-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-04-05.
  45. "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ พร้อม IPO เปลี่ยนนามสกุล "มหาชนจำกัด" แล้ว". ส่องสื่อ. 2021-05-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  46. "แจ้งการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของกิจการร่วมค้า" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. "'ONEE' นับหนึ่ง เสนอขาย IPO ช่วงราคา 7.50-8.50 บาทต่อหุ้น เปิดจองซื้อ 20-21, 25-26 ต.ค." มติชน. 2021-10-14. สืบค้นเมื่อ 2021-10-31.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  48. "ONEE สรุปราคา IPO ที่ 8.50 บาท ขึ้นแท่นกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์มูลค่าเสนอขายสูงสุดในตลาดทุนไทย เตรียมเทรดวันแรก 5 พฤศจิกายนนี้". เดอะสแตนดาร์ด. 2021-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  49. "ตลท. รับหุ้น ONEE เริ่มซื้อขายวันแรก 5 พ.ย. 64-กำไร Q2/64 ที่ 262 ลบ". สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-11-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  50. "แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/แบบรายงานประจำปี 2564 (แบบ 56-1 One Report) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2022-03-29. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  51. "ตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสินค้า : หุ้นสามัญของ ONEE เริ่มซื้อขายวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2021-11-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
  52. ""ONEE" เปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อย". ไทยรัฐ. 2021-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-11-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  53. ""เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" คว้าสิทธิ์ถ่ายทอดสด "วอลเลย์บอล เนชั่นลีก 2022" ยิงสดผ่านช่อง One31 และ GMM 25". Thaiger. 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-07-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  54. ""เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" จับมือสถานีโทรทัศน์ "SBS" เกาหลีใต้ เผยดีลสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ผลิตซีรีส์เวอร์ชันไทย ต่อยอดโกอินเตอร์!!". RYT9. 2022-09-08. สืบค้นเมื่อ 2022-09-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  55. "ONEE ตั้งบริษัทย่อยใหม่ "วันสนุก" รองรับการลงทุนในบริษัทหรือธุรกิจอื่นๆ". Hoon Inside. 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  56. "การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่" (PDF). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2022-12-15.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  57. "แบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. 2022-12-14. สืบค้นเมื่อ 2022-12-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  58. "ONEE ยันผู้ถือหุ้นใหญ่ขายหุ้นไม่กระทบธุรกิจ". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-12-15. สืบค้นเมื่อ 2022-12-20.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  59. "ONEE ซื้อกิจการ "ภาพดีทวีสุข" ขยายทีมผลิตคอนเทนต์ หวังเพิ่มเรตติ้ง-รายได้". ข่าวหุ้น. 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  60. "ONEE ปิดจ๊อบถือ "กู๊ดธิงแฮพเพ่น" 51% หวังสร้างรายได้เพิ่ม". ข่าวหุ้นธุรกิจ. 2022-01-05. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  61. "แจ้งการจัดตั้งบริษัทย่อยของ บมจ. เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" (PDF). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. 28 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  62. "แจ้งการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนของ บมจ. เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์จำนวน 2 บริษัท" (PDF). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. 27 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  63. "การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่" (PDF). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. 28 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  64. "การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่" (PDF). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. 26 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  65. หุ้นส่วน บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)
  66. "ส่องหมากรบ "ระฟ้า ดำรงชัยธรรม" นำทัพ oneD สู้ศึก OTT". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-04-05. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  67. ""ไบร์ท-วิน" ทุบสถิติ Global Live Fan Meeting ใน VLIVE ยอดกดหัวใจสูงถึงพันล้านดวง". สนุก.คอม. 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้