ทรู คอร์ปอเรชั่น
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: True Corporation Public Company Limited, ย่อ: TRUE) (เดิม: บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ บีทีซีเอ็น โฮลดิ้ง (ยูคอม) และเทเลนอร์ เอเชีย เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการกันระหว่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น เดิม และดีแทค ในรูปแบบพันธมิตรที่เท่าเทียมกัน (Equal Partnership) เพื่อสร้างบริษัทโทรคมนาคมแห่งใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มภาคภูมิ
![]() | |
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | (SET:TRUE) |
อุตสาหกรรม | เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ก่อนหน้า | ทรู คอร์ปอเรชั่น โทเทิ่ล แอกเซส คอมมูนิเคชั่น |
ก่อตั้ง | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 |
ผู้ก่อตั้ง | ศุภชัย เจียรวนนท์ บุญชัย เบญจรงคกุล |
สำนักงานใหญ่ | 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
บุคลากรหลัก | ศุภชัย เจียรวนนท์ (ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร) อาชว์ เตาลานนท์ (รองประธานกรรมการ) |
รายได้ | ![]() |
สินทรัพย์ | ![]() |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | ![]() |
พนักงาน | 4,193 (2563)[2] |
บริษัทแม่ | เครือเจริญโภคภัณฑ์ บีทีซีเอ็น โฮลดิ้ง เทเลนอร์ เอเชีย |
อันดับความน่าเชื่อถือ | TRIS: BBB+[3] |
เว็บไซต์ | www |
ปัจจุบัน กลุ่มทรู เป็นโฮลดิงคอมปานีที่ให้บริการสื่อองค์รวมแบบครบวงจร ทั้งด้านโทรคมนาคมพื้นฐานและอินเทอร์เน็ต รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในด้านจำนวนผู้ใช้งาน ภายใต้เครื่องหมายการค้า ทรู ออนไลน์ ให้บริการโทรศัพท์มือถือภายใต้เครื่องหมายการค้า ทรูมูฟ เอช และ ดีแทค ไตรเน็ต ให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ทรูวิชั่นส์ และรวมไปถึงสื่อบันเทิง ทั้งด้านโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้แบรนด์ ทรู ดิจิทัล
ประวัติแก้ไข
พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2564แก้ไข
ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือเดิมคือ เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น ก่อตั้งขึ้นโดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มซีพี ที่เล็งเห็นถึงโอกาสในการเข้าทำธุรกิจด้านโทรคมนาคมพื้นฐานที่ยังไม่มีผู้ให้บริการเอกชนเข้าให้บริการ โดยบริษัทรับสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลหมวด 6-9 จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้ขยายรูปแบบการให้บริการสู่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกในประเทศไทยที่ดำเนินการครบทั้งระบบ 56 เค และเอดีเอสแอล ภายใต้แบรนด์ เอเชีย อินโฟเน็ท จนใน พ.ศ. 2542 เทเลคอมเอเชีย เห็นโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์มือถือ จึงได้ริเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยการขอรับใบอนุญาตการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่แบบพกพาในชื่อ วี พีซีที ก่อนร่วมทุนกับกลุ่มออเร้นจ์จากประเทศฝรั่งเศส เข้าซื้อกิจการ บริษัท ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่นส์ เซอร์วิส จำกัด หรือ ดับบลิวซีเอส เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้สัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz จาก กสท. โทรคมนาคม ภายใต้แบรนด์ ทีเอ ออเร้นจ์ เป็นระยะเวลา 12 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2556 แต่ใน พ.ศ. 2547 กลุ่มออเรนจ์ได้ตัดสินใจถอนทุนออกจากประเทศไทยโดยการขายหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดให้กับเทเลคอมเอเชีย กลุ่มทีเอจึงได้เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตัวเองและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของแบรนด์ เอเชียอินโฟเน็ต เป็น ทรู อินเทอร์เน็ต และทีเอ ออเร้นจ์ เป็น ทรูมูฟ
ต่อมาใน พ.ศ. 2548 กลุ่มทรูได้เข้าซื้อกิจการยูบีซี โดยการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมคือ MIH (UBC) Holdings B.V. และผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น ๆ เพื่อถอนยูบีซีออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น ยูบีซี-ทรู, ทรูวิชันส์-ยูบีซี และ ทรูวิชันส์ ตามลำดับ และเข้าซื้อกิจการ ฟิวเจอร์ เกมเมอร์ เพื่อริเริ่มเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลเต็มตัว รวมถึงเปิดร้านกาแฟ ทรู คอฟฟี่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้บริษัทอีกทางหนึ่ง
ใน พ.ศ. 2553 กลุ่มทรูได้เข้าซื้อกิจการฮัทซ์ ประเทศไทย จากทั้งกลุ่มฮัทจิสัน และกสท. โทรคมนาคม เพื่อนำคลื่นความถี่ 800 MHz ที่เป็นสัมปทานคงเหลือของฮัทซ์มาดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3 จี เพื่อให้สอดคล้องกับการหมดสัมปทานของคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟที่จะหมดสัญญาลง แต่ในทางกฎหมายกลุ่มทรูไม่สามารถเข้าดำเนินการบนคลื่นสัมปทานคงเหลือได้ กสท. โทรคมนาคม จึงเปลี่ยนรูปแบบการให้สัมปทานเป็นการดึงคลื่นกลับมาให้บริการภายใต้การดูแลของ กสท. โทรคมนาคม และให้กลุ่มทรูเป็นตัวแทนขายส่งต่อบริการภายใต้แบรนด์ ทรูมูฟ เอช เป็นระยะเวลา 14 ปี และนับจากนั้นกลุ่มทรูก็ได้เข้าประมูลคลื่นความถี่ต่าง ๆ และขยายบริการอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นผู้ให้บริการอันดับ 2 ของประเทศไทยในปัจจุบัน
พ.ศ. 2565 - 2566 : ควบรวมกิจการกับดีแทคแก้ไข
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้เผยแพร่บทความว่ากลุ่มเทเลนอร์และเครือเจริญโภคภัณฑ์ กำลังอยู่ในระหว่างการพูดคุยเรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กับทรู คอร์ปอเรชั่น มูลค่าดีลนี้อาจสูงถึง 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งผลให้ธุรกิจโทรคมนาคมประเทศไทยเหลือผู้เล่นเพียงสองราย[4] ซึ่งภายหลังจากที่มีข่าว ทรูและดีแทคได้ส่งจดหมายด่วนขอให้รอความชัดเจนเรื่องการควบรวมกิจการที่จะแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ต่อไป [5]
ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มเทเลนอร์ ได้แถลงข่าวด่วนเรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ดีแทค โดยโฮลดิ้งคอมปานีที่จะจัดตั้งขึ้นร่วมกันอย่างเป็นทางการ โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มเทเลนอร์ จะจัดตั้งบริษัทร่วมค้าขึ้นเป็นโฮลดิ้งคอมปานี และบริษัทแห่งนี้จะเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ ทรู คอร์ปอเรชั่น และดีแทค ด้วยวิธีการแลกหุ้น ภายหลังธุรกรรมเสร็จสิ้น ผู้ถือหุ้นของทั้งทรู และดีแทค จะถือหุ้นบริษัทแห่งนี้ในรูปแบบพันธมิตรที่เท่าเทียมกัน (Equal Partnership) นั่นคือกลุ่มผู้ถือหุ้นของทรูรวมเครือเจริญโภคภัณฑ์จะถือหุ้น 58% และกลุ่มผู้ถือหุ้น ของดีแทครวมถึงเทเลนอร์และบีทีซีเอ็น โฮลดิ้ง ของบุญชัย เบญจรงคกุล จะถือหุ้น 42% และทั้งสองฝ่ายจะมีอำนาจในบริษัทใหม่อย่างเท่าเทียมกัน
4 เมษายน พ.ศ. 2565 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของทั้งทรู คอร์ปอเรชั่น และดีแทค ก็ได้มีมติอนุมัติการให้ควบรวมกิจการกัน[6] โดยคาดว่าการควบรวมกิจการจะเสร็จสิ้นในปลายเดือนกันยายนปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การควบรวมกิจการที่จะเสร็จสิ้นได้ไปเลื่อนเป็นวันที่ 20 ตุลาคมปีเดียวกันแทน[7] โดยมีกระแสข่าวว่าเมื่อการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์จะใช้ชื่อบริษัทใหม่ว่า ทรู-ดี แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องคงแบรนด์ ทรูกับดีแทค ไว้ 3 ปี[8] ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม ทรูและดีแทคได้จัดการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อสรุปชื่อบริษัทอย่างเป็นทางการ โดยมติที่ประชุมเห็นพ้องให้ใช้ชื่อเดิมว่า ทรู คอร์ปอเรชั่น เนื่องจากจะสื่อถึงภาพรวมธุรกิจได้มากกว่า และทั้งทรูและดีแทค จะขึ้นเครื่องหมาย SP ห้ามซื้อขายหุ้นเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดสรรหุ้นใหม่ในสัดส่วน 1:0.60018 และหุ้นใหม่จะกลับเข้าเทรดในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566[9]
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่แก้ไข
- ข้อมูล ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565 [10]
ผลิตภัณฑ์ในเครือทรูแก้ไข
- มือถือ
- โทรศัพท์มือถือ 3 จี, 4 จี และ 5 จี โดย ทรูมูฟ เอช (ในนาม เรียลมูฟ และ ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น)
- โทรศัพท์มือถือ 3 จี, 4 จี และ 5 จี โดย ดีแทค (ในนาม ดีแทค ไตรเน็ต)
- ทรูออนไลน์
- อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดย ทรูออนไลน์ (ในนาม ทรู อินเทอร์เน็ต)[11]
- โทรศัพท์บ้าน โดย ทรูออนไลน์ (ในนาม ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์)
- ไวไฟสาธารณะ โดย ไวไฟ บาย ทรูมูฟ เอช (ในนาม ทรู อินเทอร์เน็ต)[12]
- ทรูวิชั่นส์
- โทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดย ทรูวิชั่นส์[13][14] (ในนาม ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป)
- โทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดย ทรูโฟร์ยู (ในนาม ทรู ดีทีที)[15]
- สถานีโทรทัศน์ข่าว โดย ทีเอ็นเอ็น 16 (ในนาม ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น))[16]
- ค่ายเพลง โดย ทรูแฟนเทเชีย[17] และ ไอแอมมิวสิค (ในนาม แพนเทอร์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์)[18]
- บริการขายสินค้าผ่านโทรทัศน์ โดย ทรู ช็อปปิ้ง[19] (ในนาม ทรู จีเอส)
- ผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยของ เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์[20] โดย เอสเอ็มทรู
- ผู้จัดงานแสดงนิทรรศการ โดย เทโร ทรูวิชั่นส์ (ร่วมทุนกับเทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ รายงานประจำปี 2563
- ↑ อันดับเครดิต ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ Telenor and CP Group discuss $7.5 bln Thailand telecom merger
- ↑ TRUE-DTAC แจงข่าวลือเทคโอเวอร์ หากมีอะไรจะแจ้ง SET เอง
- ↑ 'ผู้ถือหุ้นโอเค' อนุมัติควบรวมกิจการ 'ทรู-ดีแทค'
- ↑ ปิดดีล ควบรวม ทรู ดีแทค กสทช. มีมติอนุมัติแล้ว
- ↑ เปิดไทม์ไลน์ “TRUE-DTAC” เดินหน้าควบรวมกิจการสินทรัพย์ 8 แสนล้าน หลัง บอร์ด กสทช. ไฟเขียว ลือสะพัดชื่อบริษัทใหม่“TRUE-D”
- ↑ เบื้องลึกทำไม ทรู+ดีแทค = ทรู และโครงสร้างใหม่ 'ทรู คอร์ปอเรชั่น' ใครเป็นใคร!
- ↑ ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์
- ↑ Best way to connect at home
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-02. สืบค้นเมื่อ 2018-11-01.
- ↑ True Vision
- ↑ True Vision ชงเรื่องด่วน! ขอยกเลิก 6 ช่อง รวม HBO-Cinemax ด้วย ไร้การแจ้งเตือนสมาชิก
- ↑ ทรูวิชั่นกรุ๊ป จัดตั้งบริษัทใหม่คาดใช้ประมูลทีวีดิจิตอล
- ↑ เลขาธิการ กสทช. เผยมีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลยื่นขอสนับสนุนค่า Must Carry ผ่านดาวเทียมและได้รับอนุมัติแล้ว 15 ราย อยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติ 3 ราย ยังไม่ได้ยื่นอีก 5 ราย
- ↑ true fantasia- รวมข่าวศิลปิน นักร้องไทย เอเชีย ต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับ "true fantasia"
- ↑ MQDC และแพนเทอร์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ชวนแฟน 3 รุ่น ร่วมทวนเข็มนาฬิกาสู่เพลงอมตะในคอนเสิร์ต “MQDC presents Master of Voices ตำนานเพลงรัก 3 รุ่น”เชิดชูศิลปินแห่งชาติ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-11-01.
- ↑ ฮือฮา! เปิดตัวแอปพลิเคชัน "SM TOWN" บนไอโฟน
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความเกี่ยวกับบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |