ประชาชาติธุรกิจ

หนังสือพิมพ์ธุรกิจของไทย วางแผงสองครั้งต่อสัปดาห์

ประชาชาติธุรกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสามวัน ในเครือมติชน โดยจะมีสองฉบับในหนึ่งสัปดาห์ คือฉบับวันจันทร์ (วางแผงวันเสาร์) และฉบับวันพฤหัสบดี (วางแผงวันพุธ) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อรวมประชาชาติรายวัน) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518[1] เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับแรกๆ ที่ใช้กระดาษปอนด์ขาว และแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนต่างๆ ตามรูปแบบของหนังสือพิมพ์ธุรกิจในปัจจุบัน

ประชาชาติธุรกิจ
เตือนคุณล่วงหน้า ทุกคำ ทุกข่าว
ประเภทหนังสือพิมพ์รายสามวัน
รูปแบบธุรกิจ (Business)
เจ้าของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ผู้เผยแพร่โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด
หัวหน้าบรรณาธิการฐากูร บุนปาน
บรรณาธิการพิเชษฐ์ ณ นคร
บรรณาธิการบริหารพัฒนพันธุ์ วงษ์พันธ์
คอลัมนิสต์วีรพงษ์ รามางกูร
สรกล อดุลยานนท์
พิศณุ นิลกลัด
อิศรินทร์ หนูเมือง
วิรัตน์ แสงทองคำ
ก่อตั้งเมื่อ29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 (49 ปี)
ภาษาภาษาไทย
สำนักงานใหญ่เลขที่ 12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์www.prachachat.net

ประวัติ

แก้

หนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน ถือกำเนิดขึ้นโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในระยะของการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยมีคำขวัญว่า บำเพ็ญกรณีย์ ไมตรีจิต วิทยาคม อุดมสันติสุข โดยในระยะภายหลังจากการลุกฮือของประชาชน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทรงลงพระนามประทานหัวหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ให้แก่ขรรค์ชัย บุนปาน[2] เขาจึงร่วมมือกับพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร, สุจิตต์ วงษ์เทศ, หม่อมราชวงศ์หญิงสุนิดา กิติยากร, สุทธิชัย หยุ่น และเพื่อนพ้อง ออกนิตยสารข่าวประชาชาติรายสัปดาห์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 และตามด้วยหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ซึ่งทั้งสองฉบับจัดพิมพ์จำหน่ายโดย บริษัท เดอะเนชั่น จำกัด

ทว่าด้วยความจำเป็นเรื่องทุน จึงจำเป็นต้องยุติหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน ในราวปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 เป็นเหตุให้ขรรค์ชัย, พงษ์ศักดิ์ และสุจิตต์ แยกตัวไปออกหนังสือพิมพ์ในชื่อ รวมประชาชาติรายวัน ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม โดยนับจำนวนฉบับต่อเนื่องจากประชาชาติรายวัน ส่วนนิตยสารประชาชาติรายสัปดาห์นั้น ยังคงเป็นของ บจก.เดอะเนชั่น อยู่ต่อไป จนกระทั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินสั่งปิด พร้อมกับหนังสือพิมพ์อีก 12 ฉบับเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[3]

ต่อมาในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2520 ขรรค์ชัย, สุจิตต์ และพงษ์ศักดิ์ ร่วมกันออกหนังสือพิมพ์เชิงเศรษฐกิจธุรกิจฉบับแรก โดยใช้ชื่อว่าเข็มทิศธุรกิจ เป็นรายสัปดาห์ด้วยทุนประเดิม 50,000 บาท จำนวนพิมพ์ 2,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 5.00 บาท เมื่อถึงเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน เพิ่มความถี่ในการวางแผงจากรายสัปดาห์เป็นรายสามวัน และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2521 จำนวนพิมพ์ก็เพิ่มขึ้นไปหลายสิบเท่าตัว เป็นผลให้เจ้าของใบอนุญาตออกหนังสือพิมพ์ ขอชื่อกลับคืนไปดำเนินการเอง ขณะเดียวกัน รัฐบาลสมัยที่ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี คืนใบอนุญาตออกหนังสือพิมพ์รวมประชาชาติกลับมา กองบรรณาธิการชุดเดิมของเข็มทิศธุรกิจ จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ รวมประชาชาติธุรกิจ และต่อมาเหลือเพียงประชาชาติธุรกิจ จนถึงปัจจุบัน[3]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เข้าสู่ปีที่ 36 นสพ.ประชาชาติธุรกิจ จัดทัพเต็มกำลัง สู่ทศวรรษที่ 4, ประชาชาติธุรกิจ วันจันทร์ที่ 28 - วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
  2. 120 ปี ′นราธิป′ ต้นธารแห่ง ′นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์′, บทความโดย เชตวัน เตือประโคน, มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
  3. 3.0 3.1 โฉมใหม่ "ประชาชาติธุรกิจ" รับปีที่ 41, ประชาชาติธุรกิจ วันจันทร์ที่ 29-วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้