คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 40

คณะรัฐมนตรีของประเทศไทย

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522)

คณะรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2520 - 2522
วันแต่งตั้ง12 พฤศจิกายน พ.ศ.​ 2520
วันสิ้นสุด12 พฤษภาคม พ.ศ.​ 2522
(1 ปี 181 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 39
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 41

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520[1] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประธานสภานโยบายแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย

แก้

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[2]

  1. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  4. พลโท บุญเรือน บัวจรูญ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  5. นายสมพร บุณยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  7. พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  8. พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  9. นายสุพัฒน์ สุธาธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  10. นายฉลอง ปึงตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  11. นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  12. นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  13. นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  14. นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  15. นายทำนอง สิงคาลวณิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  16. พลเอก สุรกิจ มัยลาภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  17. พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  18. นายประสงค์ สุขุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  19. นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  20. นายนาม พูนวัตถุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  21. นายปรก อัมระนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  22. พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  23. พลโทเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  24. นายดำริ น้อยมณีเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  25. นายจำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  26. ศาสตราจารย์พิเศษสุธรรม ภัทราคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  27. นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  28. นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  29. เรือโท ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  30. นายประพนธ์ ปิยะรัตน์เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  31. นายเกษม จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  32. นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  33. นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ

การปรับคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย

แก้

วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ดังนี้[3]

  1. พลเอก เล็ก แนวมาลี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  2. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  3. พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  4. พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  5. พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย

แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 301 คน และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 225 คน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ทำให้คณะรัฐมนตรี ที่บริหารประเทศอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้