สุรกิจ มัยลาภ

พลเอก สุรกิจ มัยลาภ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็น 1 ใน 7 คนไทยที่ถูกจารึกชื่อในหอเกียรติยศโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา

พลเอก
สุรกิจ มัยลาภ
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้า คุณหญิง เลอศักดิ์ สมบัติศิริ
ถัดไป สมพร บุณยคุปต์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย
ดำรงตำแหน่ง
16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
นายกรัฐมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2456
เสียชีวิต 26 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (76 ปี)
คู่สมรส คุณหญิงลเอียด มัยลาภ
(บุตร-ธิดา 4 คน)

ประวัติแก้ไข

พลเอก สุรกิจ มัยลาภ เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2456 และถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2532 สิริรวมอายุ 76 ปี และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เวลา 17 นาฬิกา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร[1]

การทำงานแก้ไข

ราชการทหารแก้ไข

พลเอก สุรกิจ รับราชการเป็นทหารบก เคยเป็นหัวหน้าคณะเพื่อไปเตรียมรับอาวุธยุทโธปกรณ์ ในสงครามเกาหลี[2] เคยเป็นผู้บัญชาการกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก ในระหว่างปี พ.ศ. 2500 ถึงปี พ.ศ. 2504[3] และเคยเป็นเสนาธิการทหารบก

ในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 พลเอก สุรกิจ มัยลาภ เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะปฏิวัติที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะ[4]

งานการเมืองแก้ไข

พลเอก สุรกิจ มัยลาภ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งมีพลอากาศเอก ทวี จุลทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2520 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[5][6]

ชีวิตส่วนตัวแก้ไข

ด้านครอบครัวสมรสกับคุณหญิงลเอียด มัยลาภ มีบุตร-ธิดา 4 คน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๔๕๒๔)
  2. http://www.mettadham.ca/thaisoldierinkoreawar.htm
  3. "อดีตผู้บังคับบัญชา กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 2018-07-20.
  4. ชาวไทย, ปีที่ 22 ฉบับที่ 6566 (วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2514), หน้า 1.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  6. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40[ลิงก์เสีย]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวรคม ๒๕๐๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๖๗๓, ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๔, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๑๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๕, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๐๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๗๓๒, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 43 ตอนที่ 69 หน้า 2036, 8 กรกฎาคม 2497
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 22, 14 กรกฏาคม 2510