ถวิล รายนานนท์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2526) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ประวัติ
แก้พลเรือเอกถวิล รายนานนท์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 ที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของ นายร้อยเอก หลวงพลภัทรพิจารณ์ (ขำ รายนานนท์) และนางจันทร์ พลภัทรพิจารณ์
การศึกษา
แก้ก่อนเข้ารับราชการ
แก้- จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีจิตรสง่า
- จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสุทัศน์เทพวราราม
- จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดราชบพิธ
- จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
หลังเข้ารับราชการ
แก้- มิถุนายน พ.ศ. 2472 - พฤษภาคม พ.ศ. 2476 โรงเรียนนายเรือ
- พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2481 หลักสูตรวิชาเรือดำนำ ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2494 หลักสูตรวิชานายทหารเรือชั้นสูง และการปืน ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2503 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 3
ครอบครัว
แก้พลเรือเอกถวิล รายนานนท์ สมรสกับ หม่อมหลวงเพ็ญศรี รายนานนท์ ธิดาของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) และคุณหญิงแฉล้ม อุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์แฉล้ม อาภรณ์กุล) มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน คือ
- นายวีระ รายนานนท์
- นายวิทย์ รายนานนท์ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- นายวุฒิ รายนานนท์
- นางสาววิสาข์ รายนานนท์
ยศทหาร
แก้- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ
- 13 มิถุนายน พ.ศ. 2472 เป็นนักเรียนนายเรือ
- 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 เป็นว่าที่นายเรือตรี
- 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เป็นนายเรือตรี [1]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2479 เป็นนายเรือโท[2]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2482 เป็นนายเรือเอก[3]
- 15 กันยายน พ.ศ. 2486 เป็นนาวาตรี[4]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2488 เป็นนาวาโท[5]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นนาวาเอก[6]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นพลเรือจัตวา[7]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2503 เป็นพลเรือตรี [8]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 เป็นพลเรือโท[9]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เป็นพลเรือเอก[10]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ออกจากประจำการ
ตำแหน่งทางทหาร
แก้- 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 สำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2476 สำรองราชการกองเรือรบ (ประจำเรือหลวงสุโขทัย)
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 สำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ (ประจำโรงเรียนชุมพลทหารเรือ)
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2478 สำรองราชการกองเรือรบ
- 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ต้นปีนเรือหลวงเสือทยานชล
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ต้นตอร์ปิโตเรือหลวงตราด
- 3 เมษายน พ.ศ. 2480 สำรองราชการกองทัพเรือ (เพื่อไปศึกษาหลักสูตรวิชาเรือดำนำ ประเทศญี่ปุ่น)
- 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 นายทหารประจำเรือหลวงสินสมุทร
- 26 สิงหาคม พ.ศ. 2483 ต้นเรือเรือหลวงวิรุณ
- 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ผู้บังคับการเรือหลวงพรายชุมพล
- 2 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ผู้บังคับการเรือหลวงมัจฉานุ
- 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ผู้บังคับการเรือหลวงเจ้าพระยา
- 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ผู้บังคับการเรือหลวงสินสมุทร
- 1 มกราคม พ.ศ. 2489 เสนาธิการหมวดเรือดำนำ
- รักษาราชการผู้บังคับการเรือหลวงสินสมุทร
- 11 สิงหาคม พ.ศ. 2490 นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองเรือยุทธการ
- 15 กันยายน พ.ศ. 2491 สำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ (เพื่อไปศึกษาหลักสูตรวิชานายทหารชั้นสูงและการปีน ประเทศอังกฤษ)
- 13 กันยายน พ.ศ. 2494 ประจำกองบังคับการ กรมเสนาธิการทหารเรือ
- 18 กันยายน พ.ศ. 2494 รักษาราชการหัวหน้าแผนกที่ 4 กรมเสนาธิการทหารเรือ
- 1 มกราคม พ.ศ. 2496 นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองเรือยุทธการ
- 1 มกราคม พ.ศ. 2498 รองเสนาธิการกองเรือยุทธการ
- 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 รักษาราชการแทนผู้บังคับการกองเรือปราบเรือดำนำ
- กันยายน พ.ศ. 2499 ทูตทหารเรือประจำประเทศญี่ปุ่น
- 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ผู้ช่วยทูตทหารเรือประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
- 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ประจำกรมกำลังพลทหารเรือ
- 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ[11]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ[12]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 รองเสนาธิการทหารเรือ[13]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เสนาธิการทหารเรือ[14]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 ผู้บัญชาการทหารเรือ[15]
ตำแหน่งทางการเมือง
แก้- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2507 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2511 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- 26 มกราคม พ.ศ. 2518 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สมาชิกวุฒิสภา
- 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
- [19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 และ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[16]
- 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[17]
ตำแหน่งพิเศษ
แก้- 6 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ราชองครักษ์เวร
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ราชองครักษ์เวร
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ราชองครักษ์พิเศษ[18]
- 10 เมษายน พ.ศ. 2524 นายทหารพิเศษ ประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
- ประจำกองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน[19]
ราชการสงครามและราชการพิเศษ
แก้- 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 30 เมษายน พ.ศ. 2484 ไปราชการทัพในกรณีเรียกร้องดินแดนคืนในกรณีพิพาทอินโดจีนในตำแหน่งต้นเรือและรักษาราชการต้นตอร์ปิโตเรือหลวงวิรุณ
- มีนาคม พ.ศ. 2490 ไปรับมอบเรือต่างๆ ที่กองทัพเรือจัดซื้อที่ประเทศฟิลิปปินส์ในตำแหน่งเสนาธิการหมวดเรือ
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการปฏิบัติงานร่วมกับคณะที่ปรึกษาการช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
- 1 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ร่วมในคณะผู้แทนทหาร ซึ่งมี พลโท หลวงวิชิตสงคราม (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าไปเยือนและดูกิจการทหารที่ประเทศในอินโดจีน ตามคำเชิญของผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพฝรั่งเศส ประจำประเทศในอินโดจีน
- 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการตรวจและรับมอบอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ได้รับความช่วยเหลือตามโครงการ MDAP
- 1 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ร่วมในคณะทูตสันถวไมตรีของรัฐบาล ซึ่งมี ฯพณฯ พลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าไปเยือนราชอาณาจักรลาว
- 18 - 27 เมษายน พ.ศ. 2499 ร่วมในคณะทูตสันถวไมตรีของรัฐบาล ซึ่งมี ฯพณฯ นายรักษ์ ปันยารชุน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าไปเยือนสาธารณรัฐจีน
- 24 ตุลาคม - 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ร่วมในคณะทูตสันถวไมตรีของรัฐบาล ซึ่งมี ฯพณฯ พลเอก ถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าไปเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
- 10 พฤษภาคม - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ไปดูกิจการทหารเรือ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางทหาร ไปร่วมงานฉลองวันชาติสาธารณรัฐเวียดนาม
- 16 กรกฎาคม - 17 กันยายน พ.ศ. 2509 ไปดูกิจการทหารเรือของประเทศในภาคพื้นยุโรป
- 10 - 12 มกราคม พ.ศ. 2511 ร่วมในคณะของ ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เยือนสาธารณรัฐเวียดนาม และเยี่ยมกรมทหารอาสาสมัครในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ สมรภูมิเวียดนาม
- 29 มกราคม พ.ศ. 2511 และ 29 มกราคม พ.ศ. 2513 เป็นกรรมการสภาทหารผ่านศึกประจำการ
- 8 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2512 ไปเยือนสาธารณรัฐเกาหลี และดูกิจการทหารเรือของประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนิเชีย
- 1 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 เป็นเสนาธิการกระบวนเรือพระที่นั่งในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางทะเลเพื่อทอดพระเนตรการฝึกทักษิณ 12
- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2512 และ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ร่วมในคณะของ ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตรวจเยื่ยมกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
- 26 - 29 เมษายน พ.ศ. 2515 เป็นผู้บัญชาการกระบวนเรือพระที่นั่งในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสทางทะเลโดยเรือหลวงจันทร
- 21 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ไปเยือนและดูกิจการทหารเรืออินโดนิเชียตามคำเชิญของผู้บัญชาการทหารเรืออินโดนิเชีย
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการกองอำนวยการฝ่ายทหาร
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 เป็นที่ปรึกษาฝ่ายนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม และเป็นเจ้าหน้าที่สำนักนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม ในฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เป็นกรรมการสภาบริหารคณะปฏิวัติ
- 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เป็นรองหัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[20]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[21]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[22]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[23]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[24]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[25]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[26]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[27]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ลาว :
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 2 ทุติยาภรณ์[28]
- ไต้หวัน :
- เวียดนามใต้ :
- เกาหลีใต้ :
- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิบริติช ชั้นประถมาภรณ์ (ฝ่ายทหาร) (KBE)
- อินโดนีเซีย :
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พลเรือเอกถวิล รายนานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยระบบการทำงานของหัวใจล้มเหลวที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้ากรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2526 รวมอายุได้ 72 ปี 1 เดือน 24 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2527 ณ วัดธาตุทอง
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๔๑๒)
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๓๖๑)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๑๐)
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๓๒๑๔)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๐๙๙)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๗)
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร กระทรวงกลาโหม
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๒๒๗๗)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก เล็ก แนวมาลี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเรือเอก อมร ศิริกายะ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (หน้า ๑๑๕๔)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ และเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้กระทำความชอบมีบาดเจ็บหนึ่งด้วย เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๐๔, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓๘, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๖๓, ๒ ธันวาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๕๗, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๐๘, ๒๔ กันยายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๑๕๑๖, ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙