อำเภอเขาย้อย
เขาย้อย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี เดิมเป็นอำเภอที่มีอาณาเขตด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่า (แยกตั้งเป็นอำเภอหนองหญ้าปล้อง)[1][2] ด้านตะวันออกติดกับชายทะเลอ่าวไทย (ภายหลังโอนขึ้นกับอำเภอบ้านแหลม)[3] และเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเขาย้อย และเป็น 1 ใน 5 อำเภอที่มีทางรถไฟสายใต้ผ่านพื้นที่ โดยมีสถานีรถไฟให้บริการ 3 สถานี ได้แก่ สถานีรถไฟบางเค็ม สถานีรถไฟเขาย้อย และสถานีรถไฟหนองปลาไหล
อำเภอเขาย้อย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khao Yoi |
คำขวัญ: ภูเขางามถ้ำวิจิตร วิถีชีวิตไทยทรงดำ คุณค่าล้ำโบสถ์ไม้สัก หัตถกรรมหลัก ไม้ตาลกลึง ประสานซึ้งเสียงแคนวง | |
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี เน้นอำเภอเขาย้อย | |
พิกัด: 13°14′25″N 99°49′27″E / 13.24028°N 99.82417°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 305.648 ตร.กม. (118.011 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 38,762 คน |
• ความหนาแน่น | 126.82 คน/ตร.กม. (328.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 76140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7602 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเขาย้อย ถนนเพชรเกษม ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี 76140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเขาย้อยตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปากท่อ (จังหวัดราชบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออัมพวา (จังหวัดสมุทรสงคราม) และอำเภอบ้านแหลม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองเพชรบุรีและอำเภอบ้านลาด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองหญ้าปล้อง
ประวัติ
แก้เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีหลวงพรหมสารเป็นนายอำเภอคนแรก เดิมที่ว่าการอำเภอตั่งอยู่ที่ตำบลห้วยท่าช้าง จึงได้ชื่ออำเภอว่า อำเภอห้วยท่าช้าง ต่อมาได้ทำการย้ายที่ว่าการอำเภอห้วยท่าช้างไปตั้งอยู่ ณ ตำบลหัวสะพาน จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหัวสะพาน ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั่งอยู่ ณ หมู่บ้านน้อย จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านน้อย และ อำเภอตวันตก(อำเภอตะวันตก)
ใน พ.ศ. 2444 กระทรวงมหาดไทย ได้จัดระเบียบกรมการอำเภอเมืองเพชรบุรีใหม่ โดยการย้ายอำเภอตวันตก (อำเภอตะวันตก) ไปตั้ง ณ บ้านเขาย้อย ตำบลเขาย้อย เรียกชื่อว่า "อำเภอห้วยหลวง"[4]
ใน พ.ศ. 2446 ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอห้วยหลวง แขวงเมืองเพชรบุรี เป็น อำเภอเขาย้อย แขวงเมืองเพชรบุรี[5]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเขาย้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 57 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[6] |
---|---|---|---|---|
1. | เขาย้อย | Khao Yoi | 7
|
7,322
|
2. | สระพัง | Sa Phang | 4
|
3,525
|
3. | บางเค็ม | Bang Khem | 6
|
3,523
|
4. | ทับคาง | Thap Khang | 5
|
3,415
|
5. | หนองปลาไหล | Nong Pla Lai | 5
|
2,720
|
6. | หนองปรง | Nong Prong | 6
|
3,674
|
7. | หนองชุมพล | Nong Chumphon | 7
|
5,117
|
8. | ห้วยโรง | Huai Rong | 4
|
2,624
|
9. | ห้วยท่าช้าง | Huai Tha Chang | 6
|
1,900
|
10. | หนองชุมพลเหนือ | Nong Chumphon Nuea | 7
|
4,837
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเขาย้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเขาย้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเค็มทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลเขาย้อย ตำบลสระพัง และตำบลทับคาง
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาย้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาย้อย ตำบลสระพัง และตำบลทับคาง (นอกเขตเทศบาลตำบลเขาย้อย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาไหลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชุมพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองชุมพลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยโรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยท่าช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชุมพลเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองชุมพลเหนือทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (102 ง): 1717. วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก): (ตอนพิเศษ) 1-4. วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3459–3460. วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2481
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย (ปรับปรุงการจัดตั้งแบ่งเขตแขวงเมืองเพ็ชร์บุรีเสียใหม่ โดยให้มี ๖ อำเภอ และการจัดกรมการอำเภอ) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๘ ตอนที่ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ หน้าที่ ๕๙
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อ อำเภอพันลาน แขวงเมืองนครสวรรค์ เป็นอำเภอเกยไชย อำเภอเกลือ แขวงเมืองชลบุรี เป็นอำเภอบางละมุง อำเภอท่าช้าง แขวงเมืองนครนายก เป็นอำเภอบ้านนา อำเภอห้วยหลวง แขวงเมืองเพชรบุรีเป็นอำเภอเข้าย้อย เก็บถาวร 2012-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๐ ตอนที่ ๓๐ ประกาศเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ หน้าที่ ๔๙๘
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.