อำเภอปากท่อ
ปากท่อ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี เป็นประตูเชื่อมต่อไปยังภาคใต้ตรงแยกวังมะนาว และเป็น 1 ใน 4 อำเภอที่มีทางรถไฟสายใต้ผ่านพื้นที่ โดยมีสถานีรถไฟให้บริการ 2 สถานี 2 ป้ายหยุดรถ ได้แก่ สถานีปากท่อ สถานีบ่อตะคร้อ กับป้ายหยุดรถป่าไก่ และป้ายหยุดรถห้วยโรง
อำเภอปากท่อ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pak Tho |
คำขวัญ: เพลงเขมรปากท่อ เหล่ากอไทยทรงดำ วัฒนธรรมกะเหรี่ยง เสียงน้ำตกไทยประจัน แหล่งพันธุ์ไม้ผล ถิ่นคนน้ำใจงาม มากฟาร์มสุกร พระนอนเขาถ้ำทะลุ | |
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอปากท่อ | |
พิกัด: 13°22′6″N 99°49′48″E / 13.36833°N 99.83000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ราชบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 757.835 ตร.กม. (292.602 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 67,839 คน |
• ความหนาแน่น | 89.52 คน/ตร.กม. (231.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 70140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7008 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปากท่อ หมู่ที่ 5 ตำบลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้พื้นที่อำเภอปากท่อ โดยทั่วไปเป็นพื้นราบและภูเขา มีพื้นที่แห่งหนึ่งเป็นที่ต่ำกว่าที่อื่น เรียกว่า "หนองทะเล" ในฤดูฝนน้ำฝนจากตำบลต่างๆ จะไหลมารวมกันที่หนองทะเล และทางทิศตะวันออกของหนองทะเลเป็นที่ต่ำกว่าทุกทิศน้ำที่ไหลมารวมกันอยู่นั้น จะไหลไปทางไหนไม่ได้ มีช่องทางน้ำไหลได้เพียงทางเดียวเวลาน้ำไหลออกจากหนองทะเลจะเชี่ยวมากคล้ายน้ำไหลออกจากท่อ ทำให้ราษฎรขนานนามพื้นที่หนองทะเลใหม่ว่า "ปากท่อ" ซึ่งเป็นตำบลและที่ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ตำบลปากท่อ เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองราชบุรี ต่อมาเมื่อ ร.ศ. 118 ได้ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นแห่งหนึ่ง คือ ที่ว่าการอำเภอท่านัด - วัดประดู่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลจอมประทัด ตำบลปากท่อจึงได้โอนไปขึ้นกับอำเภอท่านัด - วัดประดู่ แต่การไปมาติดต่อของราษฎรไม่สะดวก เพราะที่ว่าการอำเภอดังกล่าวตั้งอยู่ริมคลองไม่มีถนน จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลวัดเพลง เรียกว่า ที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อม และย้ายอำเภอจาก เมืองราชบุรี ไปขึ้น เมืองสมุทรสงคราม จนเมื่อ พ.ศ. 2457 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อม มาตั้งที่ตำบลปากท่อ
- วันที่ 11 มิถุนายน 2454 โอนพื้นที่อำเภอแม่น้ำอ้อม และอำเภอสี่หมื่น จาก เมืองราชบุรี ไปขึ้นกับ เมืองสมุทรสงคราม[1]
- วันที่ 24 สิงหาคม 2456 ยกเลิกอำเภอแม่น้ำอ้อม และอำเภอสี่หมื่น เมืองราชบุรี ย้ายมาเป็นอำเภอใน เมืองสมุทรสงคราม[2]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2457 โอนพื้นที่อำเภอแม่น้ำอ้อม จาก เมืองสมุทรสงคราม มาขึ้นกับ เมืองราชบุรี อีกครั้ง[3] และเปลี่ยนชื่ออำเภอแม่น้ำอ้อม เป็น อำเภอปากท่อ และเปลี่ยนอักษรเบื้องล่างในดวงคราตำแหน่ง "อำเภอแม่น้ำอ้อม ส.ส." เป็น "อำเภอปากท่อ ร.บ."
- วันที่ 27 ธันวาคม 2457 ย้ายที่ว่าการอำเภอแม่น้ำอ้อม จากตำบลวัดเพลง ไปตั้งที่ตำบลปากท่อ และเรียกชื่ออำเภอว่า อำเภอปากท่อ และที่ว่าการอำเภอเดิม ให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกชื่อกิ่งอำเภอว่า กิ่งอำเภอวัดเพลง[4] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากท่อ
- วันที่ 27 มีนาคม 2481 ยุบตำบลคลองขนอน รวมกับตำบลวัดเพลง เรียกว่าตำบลวัดเพลง ยุบตำบลเวียงทุน รวมกับตำบลเกาะศาลพระ เรียกว่าตำบลเกาะศาลพระ และยุบตำบลทะเลค้าน รวมกับตำบลวัดยางงาม เรียกว่าตำบลวัดยางงาม[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ่อกระดาน แยกออกจากตำบลป่าไก่ และตำบลวัดเพลง ตั้งตำบลวัดยางงาม แยกออกจากตำบลจอมประทัด และตำบลปากท่อ ตั้งตำบลวันดาว แยกออกจากตำบลปากท่อ[6]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลปากท่อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากท่อ[7]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลวัดเพลง ในท้องที่บางส่วนของตำบลวัดเพลง และตำบลเกาะศาลพระ[8]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ในท้องที่ตำบลทุ่งหลวง[9]
- วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวัดเพลง อำเภอปากท่อ เป็น อำเภอวัดเพลง[10]
- วันที่ 15 พฤษภาคม 2516 ตั้งตำบลอ่างหิน แยกออกจากตำบลทุ่งหลวง[11]
- วันที่ 7 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลห้วยยางโทน แยกออกจากตำบลวังมะนาว[12]
- นที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากท่อ เป็นเทศบาลตำบลปากท่อ[13] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลวันดาว รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากท่อ[14]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอปากท่อตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมืองราชบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอวัดเพลง (จังหวัดราชบุรี) และ อำเภออัมพวา (จังหวัดสมุทรสงคราม)
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเขาย้อย และ อำเภอหนองหญ้าปล้อง (จังหวัดเพชรบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอบ้านคา และ อำเภอจอมบึง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอปากท่อแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 85 หมู่บ้าน
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอปากท่อประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลปากท่อ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปากท่อ
- เทศบาลตำบลทุ่งหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังมะนาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังมะนาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนทรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากท่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวันดาวทั้งตำบลและตำบลปากท่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลปากท่อ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไก่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าไก่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดยางงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดยางงามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอ่างหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างหินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อกระดาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อกระดานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางหักทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางโทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยางโทนทั้งตำบล
โรงเรียนมัธยมในอำเภอปากท่อ
แก้- โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
- โรงเรียนปากท่อพิทยาคม
- โรงเรียนวัดสันติการามวิทยา
- โรงเรียนธรรมจาริณีวิทยา
วิทยาลัยอาชีวศึกษาในอำเภอปากท่อ
แก้- วิทยาลัยการอาชีพปากท่อ
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเขตอำเภอแม่น้ำอ้อม อำเภอสี่หมื่น จากเมืองราชบุรีไปขึ้นเมืองสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 489. June 11, 1911.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกอำเภอแม่น้ำอ้อม กับ อำเภอสี่หมื่น เมืองราชบุรีมาเป็นเขตเมือง สมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1073. August 24, 1913. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-02.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมุรธาธร เรื่อง เปลี่ยนอักษรเบื้องล่างในดวงตราตำแหน่งอำเภอแม่น้ำอ้อม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 1075–1076. August 16, 1914.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอแลตั้งกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 2220. December 27, 1914. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-05-02.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4308–4312. March 27, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-02.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 91-92. August 3, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวัดเพลง กิ่งอำเภอวัดเพลง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 66-68. October 15, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดุง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. July 16, 1963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-05-02.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (53 ง): 1430–1432. May 15, 1973.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (92 ง): 1834–1835. June 7, 1983.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-02.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). September 24, 2004: 1–2.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Pak Tho District