จังหวัดสมุทรสงคราม

จังหวัดในภาคกลางในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก เมืองสมุทรสงคราม)

สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย และเป็นจังหวัดที่มีประชากรน้อยเป็นอันดับ 2 ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562

จังหวัดสมุทรสงคราม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Samut Songkhram
คำขวัญ: 
เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2
แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรสงครามเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรสงครามเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรสงครามเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นิศากร วิศิษฏ์สรรรถ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด416.707 ตร.กม. (160.891 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 77
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด187,993 คน
 • อันดับอันดับที่ 77
 • ความหนาแน่น451.13 คน/ตร.กม. (1,168.4 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 7
รหัส ISO 3166TH-75
ชื่อไทยอื่น ๆแม่กลอง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้จิกเล
 • ดอกไม้จิกเล
 • สัตว์น้ำหอยหลอดชนิด Solen regularis
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนเอกชัย ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
 • โทรศัพท์0 3471 1997
เว็บไซต์www.samutsongkhram.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปลายปี พ.ศ. 2567 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไทย[3]

ประวัติ

แก้

จังหวัดสมุทรสงครามหรือเมืองแม่กลอง ในอดีตคือแขวงบางช้างของเมืองราชบุรี ชื่อบางช้างอาจตั้งตามพระนามในเจ้าพลาย (ในปี พ.ศ. 2173 เจ้าพลายและเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่หนึ่งและพระราชโอรสองค์ที่สองตามลำดับในสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) ซึ่งเป็นพระอนุชาพระองค์เดียวที่เราทราบในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (องค์ดำ) ซึ่งไม่มีพระราชโอรส ได้หนีราชภัยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่แขวงบางช้าง) แขวงบางช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน) แขวงบางช้างมีอีกชื่อว่าสวนนอก (มีคำกล่าวที่ว่า "สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง") ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัยกรุงธนบุรี แขวงบางช้างแยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง" สมุทรสงครามมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พม่าส่งกองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตำบลบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรงรวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจนข้าศึกพ่ายแพ้ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้ามายังไทยครั้งสำคัญในช่วงเวลานั้น[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อเมืองแม่กลองเปลี่ยนเป็นสมุทรสงครามในปีใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานไว้ว่าเปลี่ยนราวปี พ.ศ. 2295 ถึงปี พ.ศ. 2299 เพราะจากหลักฐานในหนังสือกฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกำหนดเรื่องการเรียกสินไหมพินัยความ ได้ปรากฏชื่อเมืองแม่กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการ อยู่ และต่อมาพบข้อความในพระราชกำหนด ซึ่งตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2299 ความระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิเบศร์ สมุหมณเฑียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพ และหมื่นรุกอักษร ที่บังอาจกราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองสมุทรปราการ ทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายสั่งห้ามไว้ก่อนแล้ว มาลงโทษ[ต้องการอ้างอิง]

จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นใหม่จากการทับถมของโคลนตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ เกิดเป็นที่ดอนจนกลายมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในนาม “แม่กลอง” นอกจากนั้นตามประวัติของราชินิกุลบางช้าง (ดูเพิ่มเติม ณ บางช้าง) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีซึ่งเป็นพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระญาติวงศ์ มีพระนิวาสสถานดั้งเดิมอยู่ที่แขวงบางช้าง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสืบเชื้อสายจากกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์พระร่วง (ราชวงศ์สุโขทัย) แห่งอาณาจักรสุโขทัยโดยที่เจ้าพลายและเจ้าแสน แห่งราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงหนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง จังหวัดสมุทรสงครามจึงเป็นเมืองราชินิกุลบางช้างและราชสกุลแห่งราชวงศ์สุโขทัย มีการสืบทอดนาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และการทำอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารชาววัง) ของสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเคยประทับกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีที่แขวงบางช้างทรงรับถ่ายทอดการทำอาหารจากที่นี่และทรงเป็นผู้ทำอาหารในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์[ต้องการอ้างอิง]

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

แก้

หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือวัดบ้านแหลม[4] ในสมัยโบราณมีชื่อเรียกว่า วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเหตุที่ว่าชื่อวัดเป็นชื่อสถานที่ในพื้นที่แห่งหนึ่งในเมืองใกล้เคียงนั้น ก็เพราะว่าในสมัย พ.ศ. 2307 พม่าได้เข้าตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองมะริด และเมืองเพชรบุรี โดยเข้ามาทางด่านสิงขร ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระยาพิพัฒน์โกสากับพระยาตากสินเข้ามาตั้งรับข้าศึกที่เมืองเพชรบุรี การสู้รบครั้งนั้นชาวบ้านแหลมในเมืองเพชรบุรี ต้องประสบชะตากรรมสงคราม อพยพไปอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่กลองบริเวณเหนือวัดจำปาซึ่งไม่ไกลจากทะเล อันเป็นพื้นที่สามารถประกอบอาชีพ (ประมง) จึงได้ตั้งรกรากกันในบริเวณนี้ แล้วไปมาหาสู่กันระหว่างแม่กลองกับอำเภอบ้านแหลม

มาวันหนึ่งขณะออกเรือหาปลา ชาวประมงบ้านแหลม ได้พระพุทธรูป 2 องค์ ขณะกำลังจะกลับฝั่ง ปรากฏว่ามีพายุลมแรง ชาวประมงจึงตัดสินใจนำเรือเข้าฝั่งมาทางแม่กลอง แล้วเข้ามาในแม่น้ำแม่กลองเพื่อหลบพายุ แต่เรือก็ยังโคลงเคลงอยู่จนกระทั่งมาถึงวัดศรีจำปา พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรได้ตกลงน้ำ ทำให้ชาวประมงบ้านแหลมกลุ่มนั้นต้องลงไปในแม่น้ำเพื่องมหา แต่ก็ไม่พบ จนชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองได้งมหาเจอ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดศรีจำปา ความทราบถึงพี่น้องชาวบ้านแหลมที่อยู่ที่เพชรบุรีเข้า ก็ยกขบวนมาทวงพระคืน พี่น้องบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองขอพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีจำปา โดยยินยอมที่จะเปลี่ยนชื่อวัดจากชื่อวัดศรีจำปาเป็น วัดบ้านแหลม เพื่อเป็นเกียรติไว้แก่ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ที่เป็นผู้ได้พระพุทธรูปองค์นี้ ชาวบ้านแหลมเพชรบุรี จึงได้กลับไป พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ส่วนอีกองค์ (หลวงพ่อทอง) ได้ไปประดิษฐาน ณ วัดเขาตะเครา ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ภูมิศาสตร์

แก้

อาณาเขตติดต่อ

แก้

พื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ทรัพยากรน้ำ

แก้
 
แม่น้ำแม่กลองในจังหวัด สมุทรสงคราม

แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับน้ำส่วนใหญ่จากแม่น้ำแม่กลอง

  1. คลองสุนัขหอน เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านเริ่มจากอำเภอเมืองสมุทรสาคร ออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดสมุทรสงคราม
  2. คลองดำเนินสะดวก ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว ผ่านอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และผ่านอำเภอบางคนที

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

แก้

การเมืองการปกครอง

แก้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล 284 หมู่บ้าน 1 เทศบาลเมือง 6 เทศบาลตำบล 28 องค์การบริหารส่วนตำบล

 
แผนที่อำเภอในจังหวัดสมุทรสงคราม
ข้อมูลอำเภอในจังหวัดสมุทรสงคราม (31 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
ลำดับ[# 1] ชื่ออำเภอ พื้นที่
(ตร.กม.)
ห่างจากตัวจังหวัด
(ก.ม.)[6]
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)
ตำบล
[# 2][7]
หมู่บ้าน
[# 3][7]
ประชากร
(คน) [8]
แผนที่
1 169.0 - - 11 87
 105,453  
 
2 77.5 12 - 13 101
  31,045  
3 170.2 7 - 12 96
 54,344  
  1. เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
  2. รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
  3. เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

จังหวัดสมุทรสงครามมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 36 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม) เทศบาลเมือง 1 แห่ง (เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม) เทศบาลตำบล 8 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง[9] โดยมีรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดสมุทรสงคราม มีดังนี้

ผู้ว่าราชการเมือง ข้าหลวงประจำจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด

แก้
ผู้ว่าราชการเมือง
  1. พระแม่กลอง (เสม วงศาโรจน์) สมัยกรุงธนบุรี
  2. พระแม่กลอง (สอน ณ บางช้าง) สมัยรัชกาลที่ 1
  3. พระแม่กลอง (ตู้ ณ บางช้าง) สมัยรัชกาลที่ 2
  4. พระแม่กลอง (ทองคำ ณ บางช้าง) สมัยรัชกาลที่ 2
  5. พระแม่กลอง (นุช วงศาโรจน์) สมัยรัชกาลที่ 3
  6. พระแม่กลอง (โนรี วงศาโรจน์) สมัยรัชกาลที่ 3
  7. พระราชพงษานุรักษ์ศิริศักดิ์สมบูรณ์ มนูญอัธยาศัยอภัยพิริยพาหะ (กุน ณ บางช้าง) พ.ศ. 2413 - 2419
  8. พระราชพงษานุรักษ์ศิริศักดิ์สมบูรณ์ มนูญอัธยาศัยอภัยพิริยพาหะ (ชม บุนนาค) พ.ศ. 2419 - 2437
  9. พระราชพงษานุรักษ์ศิริศักดิ์สมบูรณ์ มนูญอัธยาศัยอภัยพิริยพาหะ (แฉ่ บุนนาค) พ.ศ. 2438 - 2439
  10. หลวงอร่ามเรืองฤทธิ์ (ชวน บุนนาค) พ.ศ. 2439 - 2441
  11. พระยาวรวิไชย (ปลอด บุนนาค) พ.ศ. 2442 - 2443
ผู้ว่าราชการจังหวัด
  1. พระยาราชพงษานุรักษ์ (ชาย บุนนาค) พ.ศ. 2443 - 2460
  2. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พ.ศ. 2460 - 2462
  3. พระยาบริหารราชการอาณาเขต (เจิม วิเศษรัตน์) พ.ศ. 2462 - 2466
  4. พระยาวิชิตภักดีศรีสุราษฎร์ธานินทร์ (รอด สาริมาน) พ.ศ. 2466 - 2471
  5. พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุนนาค) พ.ศ. 2471 - 2474
  6. พระนิกรบดี (จอน สาลิกานนท์) พ.ศ. 2474 - 2477
  7. หลวงบุเรศบำรุงการ (เจริญ วงศ์ตลาดขวัญ) พ.ศ. 2477 - 2478
  8. พระบำรุงบุรีราช (วิง สิทธิเทศานนท์) พ.ศ. 2478 - 2479
  9. หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ (กิมฮ๊อก วงษ์สกุล) พ.ศ. 2479 - 2481
  10. นายอุดม บุญประกอบ พ.ศ. 2481 - 2482
  11. หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ (กังวาน วงษ์สกุล) พ.ศ. 2482 - 2484
  12. ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ (สุวงศ์ วัฏฏสิงห์) พ.ศ. 2484 - 2487
  13. นายจรัส ธารีสาร พ.ศ. 2487 - 2491
  14. นายเวศน์ เพชรรานนท์ พ.ศ. 2490 - 2491
  15. ขุนบริรักษ์บทวสัญช์ (ชุ่ม เธียรพงศ์) พ.ศ. 2491 - 2492
  16. นายแสวง รุจิรัตน์ พ.ศ. 2492 - 2492
  17. ขุนอารีราชการัณย์ (ชิต สุมนดิษฐ์) พ.ศ. 2492 - 2493
  18. นายวิฑูร จักกะพาก พ.ศ. 2493 - 2495
  19. นายเกษม สุขุม พ.ศ. 2495 - 2497
  20. นายเจริญ ภมรบุตร 10 ก.ค.2497 – 12 ก.พ.2501
  21. นายชาติ อภิศลย์ บุญยะรัตน์พันธ์ 17 ก.พ.2501 – 26 เม.ย.2502
  22. นายกาลัญ อมาตยกุล 18 มิ.ย.2502 – 24 พ.ย.2502
  23. นายชูสง่า ไชยพันธ์ 25 พ.ย.2502 – 18 ธ.ค.2504
  24. นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ 19 ธ.ค.2504 – 10 ต.ค.2510
  25. นายธวัชชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา 11 ต.ค.2510 – 30 ก.ย.2515
  26. นายชาญ กาญจนาคพันธ์ 1 ต.ค.2515 – 30 ก.ย.2519
  27. นายพิบูลย์ ธุรภาคพิบูลย์ 1 ต.ค.2519 – 30 ก.ย.2521
  28. นายเสถียร จันทรจำนง 14 ต.ค.2521 – 23 ส.ค.2522
  29. นายชัยวัฒน์ หุตะเจริญ 24 ส.ค.2522 – 30 ก.ย.2523
  30. นายวุฒินันท์ พงศ์อารยะ 1 ต.ค.2523 – 30 ก.ย.2528
  31. นายบรรโลม ภุชงคกุล 1 ต.ค.2528 – 30 ก.ย.2530
  32. นายวิธาน สุวรรณทัต 1 ต.ค.2530 – 30 ก.ย.2535
  33. นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร 1 ต.ค.2535 – 30 ก.ย.2537
  34. นายประวิทย์ สีห์โสภณ 1 ต.ค.2537 – 30 ก.ย.2539
  35. นายสุรพล กาญจนะจิตรา 1 ต.ค.2539 – 19 ต.ค.2540
  36. นายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ 20 ต.ค.2540 – 30 ก.ย.2543
  37. นายนาวิน ขันธหิรัญ 1 ต.ค.2543 – 30 ก.ย.2544
  38. นายอัครพงศ์ พยัคฆันตร 1 ต.ค.2544 – 30 ก.ย.2546
  39. นายวรเกียรติ สมสร้อย 21 เม.ย.2546 – 30 ก.ย.2547
  40. นายวิชชา ประสานเกลียว 1 ต.ค.2547 – 30 ก.ย.2548
  41. นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ 1 ต.ค.2548 – 12 พ.ย.2549
  42. นายวีระยุทธ เอี่ยมอำภา 13 พ.ย.2549 – 30 ก.ย.2550
  43. ว่าที่ร้อยตรีโอภาส เศวตมณี 1 ต.ค.2550 – 19 ต.ค.2551
  44. นายประภาศ บุญยินดี 20 ต.ค.2551 – 27 พ.ย.2554
  45. นายธนน เวชกรกานนท์ 28 พ.ย.2554 – 30 ก.ย.2556
  46. นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ 1 ต.ค.2556 – 30 ก.ย.2557
  47. นายปัญญา งานเลิศ 3 พ.ย.2557 – 30 ก.ย.2558
  48. นางสาวจิตรา พรหมชุติมา 1 ต.ค. 2558 – 30 ก.ย. 2559
  49. นายคันฉัตร ตันเสถียร 1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2561
  50. นางสุกานดา วรเชษฐบัญชา 1 ต.ค. 2561 – 30 ก.ย. 2562
  51. นายชรัส บุญณสะ 1 ต.ค. 2562 – 30 ก.ย. 2564
  52. นายขจร ศรีชวโนทัย 15 ธ.ค. 2564 – 30 ก.ย. 2565
  53. นายสมนึก พรหมเขียว 2 ธ.ค. 2565 – 30 ก.ย. 2566
  54. นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา 17 ธ.ค. 2566 – 30 ก.ย. 2567

เศรษฐกิจ

แก้

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง ส่วนอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตน้ำปลา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีโรงงานทั้งสิ้น 270 โรงงาน ทุนจดทะเบียนรวม 5,068,084,947 บาท จำนวนการจ้างงาน 7,099 คน สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสมุทรสงครามขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และการประมงเป็นสาขาการผลิตในภาคเกษตรที่ทำรายได้สูงสุดของจังหวัด รองลงมาก็คือ กสิกรรม และการแปรรูปสินค้าเกษตรอย่างง่าย

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การขนส่ง

แก้
 
รถไฟขณะออกสถานีรถไฟแม่กลอง กำลังวิ่งผ่านตลาดร่มหุบ หรือตลาดแม่กลอง

ในจังหวัดสมุทรสงครามมีทางหลวงแผ่นดินทั้งหมด 2 สาย ได้แก่ ถนนพระรามที่ 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ โดยสามารถเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงสมุทรสงครามโดยใช้ทางหลวงสายนี้ด้วยระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325 สายบางแพ–สมุทรสงคราม ส่วนการขนส่งทางราง ปัจจุบันมีทางรถไฟสายแม่กลอง ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการสัญจรและขนส่งเสบียงอาหารของประชาชน

และการขนส่งทางน้ำ จังหวัดสมุทรสงครามมีแม่น้ำไหลผ่านทั้ง 3 อำเภอ เป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ออกสู่ปากอ่าวแม่กลอง มีคลองเล็ก ๆ อีกประมาณ 300 คลอง การคมนาคมในจังหวัดจึงใช้เรือเป็นสำคัญ ซึ่งโดยมากได้แก่ เรือยนต์ เรือหางยาว และเรือแจว รวมถึงมีท่าเทียบเรืออีก 7 แห่ง การติดต่อกันระหว่างจังหวัดก็มีทางเรือ คือ

สาธารณสุข

แก้

โรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสงคราม เช่น โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า อำเภอเมืองสมุทรสงคราม โรงพยาบาลอัมพวา อำเภออัมพวา โรงพยาบาลนภาลัย อำเภอบางคนที และโรงพยาบาลมหาชัยแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เป็นต้น

การศึกษา

แก้

จังหวัดสมุทรสงครามมีสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2553[10] จัดการเรียนการสอนด้านการพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท นอกจากนี้ยังมี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม

สถาบันอาชีวศึกษา

  • วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
  • วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรสงคราม
  • วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
 
ตลาดน้ำอัมพวา

อ้างอิง

แก้
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf[ลิงก์เสีย] 2564. สืบค้น 9 มีนาคม 2565.
  3. พม. เผยภาคอีสานครองแชมป์ภาพรวมค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์สูงสุด 0.7290 ในขณะที่ค่าดัชนีภาพรวมของประเทศ เท่ากับ 0.6924 เก็บถาวร 2011-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  4. http://www.charoenpron.com/banleam_2.htm เก็บถาวร 2010-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติวัดเพชรสมุทรวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
  5. 2549, 6 กรกฎาคม). พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1 เก็บถาวร 2004-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
  6. กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ. เก็บถาวร 2014-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  7. 7.0 7.1 ฐานข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี. "รายชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. และขนาดพื้นที่อำเภอ เทศบาล อบต. ในแต่ละอำเภอ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.151.46.31/Chocolate/Program45/A090101.php?id_topic=A0901 เก็บถาวร 2008-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2551. สืบค้น 13 มกราคม 2552.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/p5575_02.html 2555. สืบค้น 23 เมษายน 2556.
  9. ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  10. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-06. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.

ดูเพิ่ม

แก้