โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขนาด 450 เตียง ตั้งอยู่เลขที่ 504 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
กรมแพทย์ทหารเรือ
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเลขที่ 504 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร, ไทย
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลตติยภูมิ
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง463[1]
ประวัติ
เปิดให้บริการ27 มีนาคม พ.ศ. 2500
ลิงก์
เว็บไซต์www.spph.go.th

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ในเนื้อที่จากการเวรคืน จำนวน 181 ไร่ ผู้ริเริ่มสร้างโรงพยาบาล คือ พลเรือเอกหลวงสินธุ์สงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) กับ พลเรือตรีนายแพทย์เล็ก สุมิตร ที่จะรวมโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพและกรมแพทย์ทหารเรือที่อยู่ปากคลองมอญไว้ด้วยกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2500 กองทัพเรือได้เปิดอนุมัติให้เปิดโรงพยาบาล โดยใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลทหารเรือบุคคโล[2] ในระยะแรกมีตึกอยู่ 4 ตึก คือ ตึกอำนวยการ ตึกสูตินรีเวชกรรม และตึกผ่าตัด และได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อ "โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า"[3] เมื่อวันที่ 11 พฤษจิกายน พ.ศ. 2502 ได้สร้างตึก 9 ชั้น (100 ปีกิจการแพทย์ทหารเรือ) เมื่อ พ.ศ. 2532[4]

บริการ แก้

ผู้ป่วยนอก แก้

  • บริการแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)
  • บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
  • บริการแผนกห้องผ่าตัด
  • บริการทันตกรรม
  • บริการโรคตามสาขา

ผู้ป่วยใน แก้

  • อายุรกรรม
  • ศัลยกรรม
  • จักษุกรรม โสต ศอ นาสิกกรรม
  • สูติ – นรีเวชกรรม
  • กุมารเวชกรรม
  • ศัลยกรรมกระดูก

ศูนย์ แก้

  • ศูนย์หัวใจและห้องปฏิบัติการสวนหัวใจผ่านทางข้อมือ ทำการฉีดสี ทำบอลลูน ใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ สวนหัวใจเร่งด่วนในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ชนิด STEMI แบบผ่านทางข้อมือ
  • ศูนย์จักษุกรรม เป็นหน่วยตติยภูมิชั้นสูงที่มีการให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษา ประกอบด้วย ศูนย์จอตาและจุดภาพชัด R-MaC (Retina and Macular Center) ศูนย์รักษาสายตา (Refractive Surgery Center) ศูนย์ต้อหิน (Glaucoma Center) และงานด้านศัลยกรรมตกแต่งเสริมสร้างทางตาและโพรงเบ้าตา (Oculoplastic Surgery)
  • ศูนย์เวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง บำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง หรือ Hyperbaric Oxygen Therapy (HBOT)

อ้างอิง แก้

  1. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/infoequip.php?maincode=11478&id=133527[ลิงก์เสีย]
  2. "'ผบ.ทร.'ปธ.มอบรางวัล "วิ่งการกุศล CVT RUN 2018 ใจมันบอก ให้ออกไปวิ่ง" ช่วยผู้ป่วยยากไร้". มติชน.
  3. "กองทัพเรือร่วมใจ ร่วมเทิดไท้องค์ราชันย์" (PDF). กองปฏิบัติการจิตวิทยา กพร.ทร.
  4. "ประวัติโรงพยาบาล". โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ.