สวัสดิ์ คำประกอบ
สวัสดิ์ คำประกอบ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2462 - 28 กันยายน พ.ศ. 2557) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 12 สมัย
สวัสดิ์ คำประกอบ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 53 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | ประภาศน์ อวยชัย |
ถัดไป | วิเชียร วัฒนคุณ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 (0 ปี 283 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (3 ปี 90 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (0 ปี 71 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 4 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ประชุม รัตนเพียร |
ถัดไป | ทวี จุลละทรัพย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 (0 ปี 26 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ |
ถัดไป | ทวิช กลิ่นประทุม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2462 อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 28 กันยายน พ.ศ. 2557 (94 ปี) โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย |
คู่สมรส | มะลิ คำประกอบ |
ประวัติ
แก้สวัสดิ์ คำประกอบ เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2462 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] สมรสกับ นางมะลิ คำประกอบ มีบุตรชาย 5 คน คือ นายภูวดล คำประกอบ, นายภานุวัฒน์ คำประกอบ, นายวีระกร คำประกอบ, นายดิสทัต คำประกอบ และ นายพีระพงษ์ คำประกอบ (เสียชีวิตแล้ว)
งานการเมือง
แก้อดีตเคยเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2535 ก่อนที่จะวางมือทางการเมืองและถึงแก่อสัญกรรมในเวลาต่อมา [2]
สวัสดิ์ คำประกอบ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีใน 8 คณะรัฐมนตรี ครั้งแรกในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม (ครม.26) พ.ศ. 2500[3][4] รัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร (ครม.28) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.35)[5] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[6] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ครม.36) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3 รัฐบาล (พล.อ.เกรียงศักดิ์[7], พล.อ.เปรม, พล.อ.ชาติชาย[8]) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[9]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สวัสดิ์ คำประกอบ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 12 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดนครสวรรค์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดนครสวรรค์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[10]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดนครสวรรค์ ไม่สังกัดพรรคการเมือง[11]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคสหประชาไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคเกษตรสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคเกษตรสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคเกษตรสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรครวมไทย (พ.ศ. 2529) → พรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคชาติไทย
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้สวัสดิ์ คำประกอบ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคปอดอักเสบ เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557 สิริอายุรวม 94 ปี[12] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ณ วัดจอมคีรีนาคพรต อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ คำบอกเล่าจากปาก สวัสดิ์ คำประกอบ บุรุษ 4 แผ่นดิน เล่าเรื่องปฏิวัติ 2475 เห็นกับตาได้ยินกับหู...
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ สิ้นนักการเมืองดังปากน้ำโพ สวัสดิ์ คำประกอบ อดีตส.ส. เพื่อไทย 12 สมัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐