สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)


สภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ คณะบุคคลที่ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ มักเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร หรือเป็นกรณีที่ต้องการประสานประโยชน์ ตรงตามความประสงค์ของบุคคลทุกฝ่ายมากที่สุด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490


สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491

แก้
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2491
 
ภาพรวม
สภานิติบัญญัติรัฐสภาไทย
เขตอำนาจประเทศไทย
ที่ประชุมพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต
รัฐบาลคณะรัฐมนตรีควง (3 / 4)
คณะรัฐมนตรีแปลก (3 / 4)
สภาร่างรัฐธรรมนูญ
สมาชิก40
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม

สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491 เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญคณะแรกของประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สมาชิกที่มาจากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทน และสมาชิกที่มาจากผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทน รวมจำนวน 40 คน[1]

สมาชิก

แก้
จากรัฐสภา
นอกรัฐสภา

สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502

แก้
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2502
 
ภาพรวม
สภานิติบัญญัติรัฐสภาไทย
เขตอำนาจประเทศไทย
ที่ประชุมพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต
วาระ5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2511
รัฐบาลคณะรัฐมนตรีสฤษดิ์
คณะรัฐมนตรีถนอม 2
สภาร่างรัฐธรรมนูญ
สมาชิก240
ประธานสภาพลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร (2502-2511)
ทวี บุณยเกตุ
รองประธานสภาทวี บุณยเกตุ (2502-2511)
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
สมัยประชุม
ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2511

สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญคณะที่ 2 ของประเทศไทยแต่งตั้งขึ้นตามอำนาจแห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร

สภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 240 คน[2] เปิดประชุมสภาครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โดยสมาชิกส่วนมากประกอบไปด้วยทหารและข้าราชการโดยมีพลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร นายทหารคนสนิทของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานสภาคนแรก

หลังจากร่างได้ 9 ปีกว่าพลเอกสุทธิ์ก็ได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2511 ทวี บุณยเกตุ รองประธานสภาจึงขึ้นเป็นประธานสภาแทน

ในวันที 21 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รัฐธรรมนูญฉบับถาวรได้ประกาศใช้สภาร่างรัฐธรรมนูญจึงสิ้นสุดลง

สมาชิก

แก้
  1. นายกมล พหลโยธิน
  2. พันโท กมล พิจิตรคดีพล
  3. นายกมล วรรณประภา
  4. พลเรือตรี กมล สีตะกลิน
  5. นาวาเอก กวี สิงหะ
  6. พันตรี กระวี สุทัศน์ ณ อยุธยา
  7. นายเกษม ศรีพยัคฆ์
  8. นายเกษม อุทยานิน
  9. พลตํารวจจัตวา กระเษียร ศรุตานนท์
  10. นาวาอากาศเอก กระแสร์ อินทรัตน์
  11. พลโท กฤช ปุณณกันต์
  12. นาวาอากาศตรี กฤตยา สังขพิชัย
  13. พลตรี กฤษณ์ สีวะรา
  14. พันเอก เกรียงไกร อัตตะนันทน์
  15. พลจัตวา โกศล อ่อนสุวรรณ
  16. นาวาอากาศเอก ไกวัลย์ ถาวรธาร
  17. พลโท หลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์)
  18. พันตร์ ขุนทะยานราญรอน
  19. พลตรี ขุนเสนาทิพ
  20. หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
  21. พลเอก ครวญ สุทธานินทร์
  22. พลเรือตรี จรัส บุญบงการ
  23. พลเรือตรี จรูญ เฉลิมเตียรณ
  24. นาวาโท เจริญ รัชตชาติ
  25. นายเจริญ ปัณฑโร
  26. พันเอก จินดา ณ สงขลา
  27. พลจัตวา จิตต์ สุนทานนท์
  28. พันเอก จิตต์ ธนะโชติ
  29. พันโท จิตต์กวี เกษะโกมล
  30. พลโท จิตติ นาวีเสถียร
  31. นายจิตติ สุจริตกุล
  32. พลตรี จําเป็น จารุเสถียร
  33. นายพลตํารวจตรี จํารัส มัณฑกานนท์
  34. นายจําลอง หะรินสุด
  35. นายจ่าง รัตนะรัต
  36. พลโท เจียม ญาโณทัย
  37. พลเอก หลวงจุลยุทธ์ยรรยง
  38. พันเอก จุมพล ทองทาบ
  39. นายพลตํารวจตรี ฉัตร หนุนภักดี
  40. พลโท ฉลอง อุชุโกมล
  41. นายฉลอง ซึ่งตระกูล
  42. นายเฉลิม พรมมาศ
  43. พลอากาศเอก เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
  44. พันเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์
  45. พลโท ชลอ จารุกลัส
  46. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ
  47. นายพลตํารวจจัตวา ชาญ อังศุโชติ
  48. นาวาอากาศโท ชาญชาย สังฆเนตร
  49. พันตรี ชาญชัย วิเศษกุล
  50. พลเรือเอก หลวงชํานาญอรรถยุทธ์
  51. พันตรี ชํานาญ มณีวัตร
  52. นายชำนาญ ยุวบูรณ์
  53. นายพลตํารวจเอก หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ)
  54. พลเรือตรี ชิน สนแจ้ง
  55. พันเอก เชิดชัย ทองสิงห์
  56. นาวาเอก เฉดชาย ถมยา
  57. พันเอก โชติ หิรัณยัษฐิติ
  58. นาวาอากาศเอก ชู สุทธิโชติ
  59. นายชู ณ ลําปาง
  60. นายชู ประภาสถิตย์
  61. นาวาอากาศเอก ชูเดช ดวงอุดม
  62. พันตรี ชูวิทย์ เก่งถนอมม้า
  63. พลเรือจัตวา ดาว เพชรชาติ
  64. นายดิเรก ชัยนาม
  65. นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ
  66. หลวงดํารงดุริตเรข
  67. นายพันตํารวจเอก ต่อศักดิ์ ยมนาค
  68. พลตรี ถนอม ปัทมานนท์
  69. นายถวิล สุนทรศารทูล
  70. นายแถบ นีละนิธิ
  71. พลจัตวา ธงเพิ่ม สังขวณิช
  72. นายทวี แรงขำ
  73. นายทวี บุณยเกตุ
  74. พลตรี ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
  75. พลอากาศตรี เทพ เกษมุติ
  76. พันตรี เทียนชัย ศิริสัมพันธ์
  77. พลจัตวา ทวนชัย โกศินานนท์
  78. หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม
  79. พลอากาศโท นักรบ บินบุรี
  80. พันโท นิลนนท์ กระหม่อมทอง
  81. พลเรือตรี นัย นพคุณ
  82. พลตรี เนตร เขมะโยธิน
  83. พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา
  84. พลจัตวา บุญชัย บำรุงพงศ์
  85. พันเอก บุญมาก เทศบุตร
  86. พันเอก บุญเรือน บัวจรูญ
  87. นาวาอากาศตรี บุญเปรียบ ดวงอุไร
  88. นายบุญชนะ อัตถากร
  89. นายบุญรอด บิณฑสันต์
  90. นายบรรเจิด ชลวิจารณ์
  91. นายพลตํารวจตรี บันลือ เรื่องตระกูล
  92. พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  93. นายพลตํารวจตรี ประจวบ กิรติบุตร
  94. พันเอก ประจวบ สุนทรางกูร
  95. พลเอก พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก)
  96. นายพลตํารวจตรี ประชา บูรณธนิต
  97. พลตรี ประทักษ์ จันทราภา
  98. พันตรี ประเทียบ เทศวิศาล
  99. พันเอก ประเทือง อารีนิจ
  100. พลโท ประพันธ์ กุลพิจิตร
  101. พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร
  102. พันเอก ประลอง วีระปรีย
  103. พันตรี ประหยัด รอดโพธิ์ทอง
  104. พันโท ประยุทธ จารุมณี
  105. นาวาโท ประสาท พรหมประวัติ
  106. พลจัตวา ประยูร หนุนภักดี
  107. พันตรี ประสงค์ กรีกุล
  108. นายประสงค์ บุญเพิ่ม
  109. นายพลตํารวจโท ประเสริฐ รุจิรวงศ์
  110. พันเอก ประเสริฐ ธรรมศิริ
  111. พันเอก ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ
  112. พันเอก เปรม ติณสูลานนท์
  113. หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล
  114. พลโท ปรุง รังสิยานนท์
  115. พลตรี ปุ่น ปุณยฤทธิเสนีย์
  116. นายป๋วย อึ๊งภากรณ์
  117. พลตรี ผเชิญ นิมิบุตร
  118. พลเรือโท ผิว มีคุณเอี่ยม
  119. จอมพล ผิน ชุณหะวัณ
  120. พลโท พจน์ บูรณศิลปิน
  121. พลจัตวา พร พิศกนก
  122. พันเอก พร ธนะภูมิ
  123. พันตรี ไพศาล รุ่งแสง
  124. พันเอก พงษ์ เภกะนันทน์
  125. พันเอก พึ่ง พินทุโยธิน
  126. พลอากาศตร พิชิต บุณยเสนา
  127. นาวาอากาศเอก พโยม เย็นสุดใจ
  128. นาวาอากาศโท พิน เจริญสุข
  129. นายพันตํารวจเอก พจน์ เภกะนันทน์
  130. นายพันตํารวจเอก พยงค์ สมิติ
  131. นายพ่วง สุวรรณรัฐ
  132. นายพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย
  133. นายพิศ ปัญญาลักษณ์
  134. พลตรี ฟอง ประมวญรัตน์
  135. พลจัตวา เฟื้อ ฤทธาคนี
  136. นาวาอากาศโท มานะ สังขวิจิตร
  137. นายพันตํารวจเอก ไมตรี บัณเย็น
  138. นายมนูญ บริสุทธิ
  139. พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
  140. นายมาลัย หุวะนันทน์
  141. นายมาลัย ชูพินิจ
  142. พันเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  143. พันตรี ยุทธศักดิ์ คล่องตรวจโรค
  144. นายพลตํารวจตรี เยือน ประภาวัต
  145. พลโท รัศมี รัชนวด
  146. พลตรี สม้าย อุทยานานนท์
  147. นายเล็ก จุณณานนท์
  148. นายเล้ง ศรีสมวงศ์
  149. พลตรี วิชัย พงศ์อนันต์
  150. พันโท วิชัย สังขทัต ณ อยุธยา
  151. พลเรือตรี วิเชียร พันธุ์โภคา
  152. พลอากาศตรี วงศ์ พุ่มพูลผล
  153. นาวาอากาศตรี วิเทพ จิตตะเสนีย์
  154. หลวงวุฒิศักดิ์เนตินาท
  155. พันเอก วิรัช เพชรโยธิน
  156. นายวิสูตร อรรถยุกติ
  157. นายวิทย์ ศิวะศรียานนท์
  158. พันเอก หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)
  159. นายวัฒนา อิศรภักดี
  160. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
  161. พันตรี วิลาศ โอสถานนท์
  162. นายวิบูล ธรรมบุตร
  163. นายวีกิจ วีรานุวัตต
  164. พันเอก ศักดิ์ พิศิษฐพงศ์
  165. พันโท ศิริ ถิรพัฒน์
  166. พลเรือตรี ศรี ดาวราย
  167. พลอากาศตรี ศิริ เมืองมณี
  168. นายพันตํารวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ
  169. พลเอก สุทธิ สุทธิสารรณกร
  170. นายพลตํารวจเอก ไสว ไสวแสนยากร
  171. พลโท สุรใจ พูลทรัพย์
  172. พลเรือโท สนอง ธนศักดิ์
  173. พลโท สุรจิต จารุเศรนี
  174. พลจัตวา สุรกิจ มัยลาภ
  175. พลตรี เสถียร พจนานนท์
  176. พลโท สนิท สนิทยุทธการ ไทยานนท์
  177. พลเอก หลวงสวัสดิ์กลยุทธ
  178. พลเอก หลวงสถิตยุทธการ
  179. พันตรี สิงห์ นาควัชระ
  180. พันโท แสวง ขมะสุนทร
  181. พันตรี สัมผัส พาสนยงภิญโญ
  182. พันเอก สมศักดิ์ ปัญจมานนท์
  183. พันตรี สุรินทร์ ผลประไพ
  184. พันตรี สันต์ ศรแมน
  185. พันโท แสวง จามรจันทร์
  186. พันเอก สิทธิ ศิลปสุขุม
  187. พันเอก สัมฤทธิ์ แพทย์เจริญ
  188. พลจัตวา สุภชัย สุรวรรธนะ
  189. พันตรี สําราญ ศิริณรงค์
  190. พลเรือตรี สวัสดิ์ ภูติอนันต์
  191. พลเรือจัตวา สนิท โปษะกฤษณะ
  192. นาวาเอก สงัด ชลออยู่
  193. นาวาเอก สนอง นิสาลักษณ์
  194. พลเรือตรี เสงี่ยม บุญมา
  195. นาวาตรี สวัสดิ์ พูลสุข
  196. นาวาตรี สมาน กอนแก้ว
  197. พลอากาศตรี สวัสดิ์ พรชน
  198. นาวาอากาศเอก สุรยุทธ รุ่งสว่าง
  199. ว่าที่นาวาอากาศตรี สุพจน์ เทพกาญจนา
  200. ว่าที่นายพันตํารวจเอก สําราญ กรัดศิริ
  201. พลโท ไสว ดวงมณี
  202. พันเอก สุข เปรุนาวิน
  203. นายสัญญา ธรรมศักดิ์
  204. นายเสกล บุณยัษฐิติ
  205. นายสมภพ โหตระกิตย์
  206. พันโท สนอง ถมังรักษ์สัตว์
  207. นายเสริม วินิจฉัยกุล
  208. นายพันตํารวจโท สง่า กิตติขจร
  209. พลเรือจัตวา จวบ หงสกุล
  210. นายศิริ ปกาสิต
  211. พันเอก แสวง เสนาณรงค์
  212. พันตรี สุรินทร์ ชลประเสริฐ
  213. พันตรี สม ขัตพันธุ์
  214. นายสงวน จันทรสาขา
  215. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์
  216. หลวงสัมฤทธิ์วิศวกรรม
  217. พระยาสุนทรพิพิธ
  218. นายสมัย เรื่องไกร
  219. นายสุรจิตร จันทรสาขา
  220. พันเอก อร่าม เมนะคงคา
  221. พลตรี อัมพร จินตกานนท์
  222. พลตรี อํานวย ไชยโรจน์
  223. พลจัตวา อรรถ ศศิประภา
  224. พันโท เอื้อม จิรพงศ์
  225. พันโท อรุณ ทวาทศิน
  226. พันตรี อัมพร ศรีแสง
  227. พลจัตวา อัครเดช ยงยุทธ
  228. พลเรือตรี อนันต์ เนตรโรจน์
  229. นาวาโท โอภาศ จามิกรณ์
  230. นาวาอากาศเอก เอกชัย มุสิกบุตร
  231. ว่าที่นาวาอากาศโท อุทัย วัฒนวิจารณ์
  232. หลวงอรรถปรีชาชนูปการ
  233. หลวงอรรถโกวิทวที
  234. นายอินทรี จันทรสถิตย์
  235. พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
  236. นาวาอากาศเอก ชิตชัย สุวรรณพฤกษ์
  237. พระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร)
  238. หลวงถวิลเศรษฐพณิชยการ
  239. หลวงประกอบนิติสาร

สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539

แก้
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539
 
ภาพรวม
สภานิติบัญญัติรัฐสภาไทย
เขตอำนาจประเทศไทย
ที่ประชุมอาคารรัฐสภาไทย
วาระ7 มกราคม พ.ศ. 2540 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540
การเลือกตั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539
รัฐบาลคณะรัฐมนตรีชวลิต
สภาร่างรัฐธรรมนูญ
สมาชิก99
ประธานสภาอุทัย พิมพ์ใจชน
รองประธานสภาคนที่ 1กระมล ทองธรรมชาติ
รองประธานสภาคนที่ 2ยุพา อุดมศักดิ์
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
สมัยประชุม
ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2540 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2540
 
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา

สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3]

โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ที่ประชุมรัฐสภาสรุปให้ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน โดยมีที่มาจากตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งประชาชนทางอ้อมทั้งหมด 76 จังหวัด และตัวแทนนักวิชาการ เสนอรายชื่อโดยสถาบันการศึกษา จำนวน 23 คน

ส่วนสมาชิกที่เป็นของตัวแทนประชาชนมีที่มา 3 ขั้นตอนดังนี้

  1. จากการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ
  2. ให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเองให้เหลือจังหวัดละ 10 คน รวมเป็น 760 คน
  3. จากนั้นจึงส่งรายชื่อทั้ง 760 คน ให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกขั้นสุดท้ายให้เหลือจังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน

โดยสมาชิกที่กล่าวถึงทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและตัวแทนนักวิชาการก็คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.

ผู้ดำรงตำแหน่ง

แก้

โดยก่อนที่จะมีการลงมตินั้น เหลื่อม พันธ์ฤกษ์ ทำหน้าที่ประธานสภาชั่วคราว ในฐานะที่เป็นสมาชิกที่อาวุโสสูงสุด

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

แก้
ลำดับ รายชื่อ สสร. ตำแหน่ง[4]
1 อานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมาธิการ
2 เกษม ศิริสัมพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง
3 คณิต ณ นคร รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่สอง
4 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการคณะกรรมาธิการ
5 พงศ์เทพ เทพกาญจนา ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง
6 สมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการคนที่สอง
7 คณิน บุญสุวรรณ โฆษกคณะกรรมาธิการ
8 โกเมศ ขวัญเมือง ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการ
9 เขียน ธีรวิทย์ คณะกรรมาธิการ
10 ทองใบ ทองเปาด์
11 พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร
12 วิสุทธิ์ โพธิแท่น
13 พันเอก สมคิด ศรีสังคม
14 สวัสดิ์ คำประกอบ
15 สุจิต บุญบงการ
16 เสรี สุวรรณภานนท์
17 เอนก สิทธิประศาสน์
18 กระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการข้อมูล
และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญ
19 เดโช สวนานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการจดหมายเหตุ
ตรวจรายงานการประชุมและกิจการสภา
20 สมเกียรติ อ่อนวิมล ประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์
21 อมร รักษาสัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟัง
ความคิดเห็นและประชาพิจารณ์

สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

แก้
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550
 
ภาพรวม
สภานิติบัญญัติรัฐสภาไทย
เขตอำนาจประเทศไทย
ที่ประชุมอาคารรัฐสภาไทย
รัฐบาลคณะรัฐมนตรีสุรยุทธ์
สภาร่างรัฐธรรมนูญ
สมาชิก100
ประธานสภานรนิติ เศรษฐบุตร
รองประธานสภาคนที่ 1เดโช สวนานนท์
รองประธานสภาคนที่ 2เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้ ได้รับการสรรหามาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,982 คน ลงมติคัดเลือกกันเอง เหลือ 200 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทำการคัดเลือกเหลือ 100 คน แล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เพื่อนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้า ฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[5]

สัดส่วนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ มาจากบุคคลในภาครัฐ 28 คน ภาคเอกชน 27 คน ภาคสังคม 23 คน และภาควิชาการ 22 คน หากจำแนกตามภูมิภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ 10 คน ภาคกลาง 68 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 คน และภาคใต้ 10 คน

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะคัดเลือกกันเองให้เหลือ จำนวน 25 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมเป็น 35 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

อ้างอิง

แก้
  • กาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เรื่อง ๔. การจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, องค์การค้าของคุรุสภา, 2544, 95 หน้า. ISBN 974-00-8350-1
  1. "ประกาศประธานวุฒิสภา เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
  2. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502
  3. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/D/002/13.PDF
  4. Admin, iLaw (2015-09-15). "ใครร่างนั้นสำคัญไฉน?: เปรียบเทียบคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามชุดในรอบ 20 ปี". iLaw.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 1ก วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550