ศรีสุข มหินทรเทพ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ (19 มกราคม พ.ศ. 2460 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2536) อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ศรีสุข มหินทรเทพ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 (1 ปี 38 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอกพจน์ เภกะนันทน์ |
ถัดไป | พลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น |
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 2500–2502 | |
ก่อนหน้า | พันตำรวจเอก สล้าง เริ่มรุจน์ |
ถัดไป | พันตำรวจเอก สุนิต ปัณยวณิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มกราคม พ.ศ. 2460 อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 (76 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิง บุญจันทร์ มหินทรเทพ |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พลตำรวจเอก |
ประวัติ
แก้พลตำรวจเอก ศรีสุขเกิดเมื่อ 19 มกราคม พ.ศ. 2460 ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนโตของรองอำมาตย์โท ขุนศรีสวัสดิ์ประภา (ศรีสวัสดิ์ มหินทรเทพ) กับคุณเรียม มหินทรเทพ บิดาของขุนศรีสวัสดิ์ประภาเป็นพระโอรสในเจ้าศรีสญชัย พระราชโอรสในพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร หรือ เจ้าอุ่นคำ โดยพลตำรวจเอกศรีสุขมีศักดิ์เป็นหลานอาของพลตำรวจเอกไสว ไสวแสนยากร[1] พลตำรวจเอกศรีสุขมีพี่น้องทั้งหมด 4 คนคือ
- พลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ
- พลตำรวจตรี เขมะสวัสดิ์ มหินทรเทพ มีลูกกับยุลิสต์ มหินท์เทพ มีบุตรธิดา ด้วยกัน 2คน 2.1 นางขวัญจิตสุวรรณจินดา โดยสมรสกับนายภาคินัย สุวรรณจินดา จึงเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี 2.2 ขวัญชัย มหินท์เทพ
- นาวาเอก เปรม มหินทรเทพ
- เกียรติศักดิ์ มหินทรเทพ
สมรสกับคุณหญิงบุญจันทร์ มหินทรเทพ (สกุลเดิม : จันทรังษี) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ พลตำรวจโท จิรสิทธิ์ มหินทรเทพ จิรศักดิ์ มหินทรเทพ และจิรพร มากกิติ
พลตำรวจเอก ศรีสุขถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ขณะอายุได้ 76 ปี
รับราชการ
แก้พลตำรวจเอก ศรีสุขเคยรับราชการในตำแหน่งผบ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจในช่วงปี 2500-02 ก่อนจะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 [2] และได้รับพระราชทานยศพลตำรวจเอกในวันเดียวกัน [3] แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปีก็พ้นจากตำแหน่งและถูกโยกย้ายให้เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยโดยมีพลตำรวจโท มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น รองอธิบดีกรมตำรวจขึ้นมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจสืบต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 [4]
ยศและตำแหน่ง
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[14]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[15]
- พ.ศ. 2519 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[16]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[17]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[18]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[19]
- พ.ศ. 2494 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[20]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[21]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 126-9
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 203 ง หน้า 1 30 กันยายน พ.ศ. 2518
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 241 ง หน้า 3028 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 147 ง พิเศษ หน้า 1 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๗๗๙)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๔๖๗๗)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๕๖๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๙๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๑, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๔ กันยายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๔, ๓ พฤษภาคม ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๙๘, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๖, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๒, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964.
ก่อนหน้า | ศรีสุข มหินทรเทพ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก พจน์ เภกะนันทน์ | อธิบดีกรมตำรวจ (พ.ศ. 2518 – 2519) |
พลตำรวจเอก มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น |