เขตดุสิต

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อำเภอดุสิต)

ดุสิต เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งของรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้

เขตดุสิต
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Dusit
พระที่นั่งอนันตสมาคม มองจากลานพระบรมรูปทรงม้า
คำขวัญ: 
เขตพระราชฐาน ตระการตาหมู่พระตำหนัก ศักดิ์สิทธิ์พระปิยะฯ วัดเบญจะเลื่องลือนาม สง่างามรัฐสภา ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบฯ เพียบพร้อมสิ่งสำคัญ ดุจสวรรค์ชั้นดุสิต
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดุสิต
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดุสิต
พิกัด: 13°46′37″N 100°31′14″E / 13.77694°N 100.52056°E / 13.77694; 100.52056
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.665 ตร.กม. (4.118 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด75,814[1] คน
 • ความหนาแน่น7,108.67 คน/ตร.กม. (18,411.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10300
รหัสภูมิศาสตร์1002
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 317 ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/dusit
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้

ประวัติศาสตร์

แก้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงจัดรูปแบบการปกครองใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย โดยจัดการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในมณฑลกรุงเทพมีกระทรวงนครบาลดูแล แบ่งเขตปกครองออกเป็นอำเภอและตำบลเช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ โดย อำเภอดุสิต เป็น 1 ใน 8 อำเภอชั้นใน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ริมคลองเปรมประชากร ถนนสุโขทัย

ใน พ.ศ. 2481 อำเภอบางซื่อซึ่งเป็นอำเภอชั้นนอกทางทิศเหนือ ได้ถูกยุบลงเป็นตำบลมาขึ้นกับอำเภอดุสิต และเนื่องจากทางอำเภอมีจำนวนประชากรและพื้นที่กว้างขวางมาก กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกตำบลสามเสนใน ตำบลมักกะสัน ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลถนนพญาไทของอำเภอดุสิต ไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางกะปิ เพื่อจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท ใน พ.ศ. 2509

ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอดุสิตจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตดุสิต มีหน่วยการปกครองย่อย 6 แขวง

ต่อมา ในพื้นที่เขตดุสิตมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังมีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบแขวงบางซื่อ ซึ่งได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งเป็นเขตบางซื่อ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532[2]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตดุสิตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ดุสิต Dusit
2.233
9,792
4,385.13
 
2.
วชิรพยาบาล Wachiraphayaban
1.074
8,844
8,234.64
3.
สวนจิตรลดา Suan Chit Lada
1.737
5,917
3,406.45
4.
สี่แยกมหานาค Si Yaek Maha Nak
0.339
6,720
19,823.01
6.
ถนนนครไชยศรี Thanon Nakhon Chai Si
5.282
44,541
8,432.60
ทั้งหมด
10.665
75,814
7,108.67

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตบางซื่อ

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้

ถนน

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามี 1 สะพาน คือ

 
ที่หยุดรถไฟยมราช

รถไฟ

  • ทางรถไฟสายเหนือ โดยถือเป็นแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตดุสิตกับเขตราชเทวีและเขตพญาไท มีสถานีรถไฟจิตรลดา หรือสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต แต่เป็นสถานีพิเศษที่ไม่ได้เปิดใช้เป็นการทั่วไป โดยจะใช้ที่หยุดรถโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นจุดโดยสารแทน และยังมีสถานีสามเสนตั้งอยู่ในแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต นอกจากนั้นยังมีที่หยุดรถไฟยมราช ตั้งอยู่ในแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต

ทางน้ำ อาศัย แม่น้ำเจ้าพระยา ในการคมนาคมและสัญจร

สถานที่สำคัญ

แก้
 
พระที่นั่งวิมานเมฆ
 
พระที่นั่งอนันตสมาคม

วัง

แก้

ซึ่งพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ปัจจุบันเป็นที่ประทับประจำของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

 
สัปปายะสภาสถาน

สถานที่ทำการรัฐบาล และหน่วยงานราชการ

แก้

ศาสนสถาน

แก้
 
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
 
วัดคอนเซ็ปชัญ

ศาสนสถานในศาสนาพุทธ

แก้

ศาสนสถานในศาสนาคริสต์

แก้

โรงเรียน

แก้
 
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

มหาวิทยาลัย และวิทยาลัย

แก้

สวนและพิพิธภัณฑ์

แก้
 
อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°46′37″N 100°31′12″E / 13.777°N 100.520°E / 13.777; 100.520

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดุสิตและตั้งเขตบางซื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (208 ง (ฉบับพิเศษ)): 8. 24 พฤศจิกายน 2532.
  3. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.