มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น

พลตำรวจเอก มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น (2 กันยายน พ.ศ. 2464 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น
พล.ต.ท มนต์ชัย มอบเงินให้กับครอบครัวของพลเมืองดีที่ถูกคนร้ายฆาตกรรมขณะขัดขวางการล้วงกระเป๋าบนรถเมลล์
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 (4 ปี 185 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอกศรีสุข มหินทรเทพ
ถัดไปพลตำรวจเอกสุรพล จุลละพราหมณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กันยายน พ.ศ. 2464
อำเภอชนะสงคราม จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต9 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (94 ปี 341 วัน)
โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสคุณหญิงวิจิตรา พันธุ์คงชื่น
บุตรพลตำรวจโทกฤษฎา พันธุ์คงชื่น
บุพการี
  • นายสมาน พันธุ์คงชื่น (บิดา)
  • นางสยาด พันธุ์คงชื่น (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ประจำการ2519 – 2524
ยศ พลตำรวจเอก
บังคับบัญชากรมตำรวจ

ประวัติ

แก้

พล.ต.อ. มนต์ชัย เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2464 ที่ เขตพระนคร เป็นบุตรชายของนายสมานกับนางสยาด พันธุ์คงชื่น มีชื่อเดิมว่า ทิพมนต์ พันธุ์คงชื่น ก่อนจะเปลี่ยนเป็น มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม

รับราชการ

แก้

พล.ต.อ.มนต์ชัยเคยรับราชการเป็นผู้บัญชาการ ตำรวจนครบาลและรับพระราชทานยศ พลตำรวจโท ก่อนจะได้เลื่อนขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2518 [1] ในสมัย พลตำรวจเอกพจน์ เภกะนันทน์ ต่อมาเมื่อพลตำรวจเอกศรีสุขถูกโยกย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย พลตำรวจโทมนต์ชัย จึงได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจแทนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 [2] พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก ในวันเดียวกัน [3] ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี 2524 ตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการคือ ข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 11 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี[4] ซึ่งพล.ต.อ.มนต์ชัย รับราชการในตำแหน่งดังกล่าวระหว่างวันที่ 11-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 โดยมีพลตำรวจโท สุรพล จุลละพราหมณ์ รองอธิบดีกรมตำรวจขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

ยศและตำแหน่ง

แก้
  • 20 มิถุนายน พ.ศ. 2485 - ร้อยตำรวจตรี[5]
  • 6 กันยายน พ.ศ. 2487 - ร้อยตำรวจโท[6]
  • - ร้อยตำรวจเอก
  • 29 กันยายน พ.ศ. 2495 - พันตำรวจตรี[7]
  • 3 สิงหาคม พ.ศ. 2498 - พันตำรวจโท[8]
  • 22 ตุลาคม พ.ศ. 2500 - พันตำรวจเอก[9]
  • - พลตำรวจตรี
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 - พลตำรวจโท[10]

ครอบครัว

แก้

พล.ต.อ.มนต์ชัยสมรสกับคุณหญิงวิจิตรา พันธุ์คงชื่น มีบุตรชายคือ พลตำรวจโทกฤษฎา พันธุ์คงชื่น อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[11]

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พล.ต.อ.มนต์ชัย ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราและเส้นเลือดในสมองแตก ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงพยาบาลตำรวจ สิริรวมอายุ 94 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 147 ง พิเศษ หน้า 1 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 152 ง หน้า 3895 14 ธันวาคม พ.ศ. 2519
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๖๖๓)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๗๘๓)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๕๐๑)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๕)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒)
  10. แจ้งความ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  11. "อินไซด์ตำรวจ:ประจำวันที่ 30 กันยายน 2556". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-31. สืบค้นเมื่อ 2015-09-24.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๙๘ ง หน้า ๓๑๓๔, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๒๓๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๙๐, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘