พลเอก พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ, อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย, อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 และอดีตจเรทหารสื่อสาร

ไสว ไสวแสนยากร
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน พ.ศ. 2502 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2507
ก่อนหน้าจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
ถัดไปแสง จุละจาริตต์
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2500 – 9 กันยายน พ.ศ. 2502
ก่อนหน้าเผ่า ศรียานนท์
ถัดไปสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (รักษาราชการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤษภาคม พ.ศ. 2447
เสียชีวิต1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (76 ปี)
คู่สมรสสะอิ้ง ไสวแสนยากร (สกุลเดิม: วัฒนภูติ)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลตำรวจเอก
พลเอก
บังคับบัญชากรมตำรวจ

ประวัติ

แก้

พลเอก พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 มีนามเดิมว่าเจ้าศรีไสว อุ่นคำ เป็นโอรสของเจ้าศรีสญชัย บิดาเป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร แห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง หรือ เจ้าอุ่นคำ และเป็นพระราชอนุชาในพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ หรือ เจ้าคำสุก (พระราชบิดาของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์) มีพี่น้องร่วมพระบิดา ได้แก่ เจ้าศรีสวัสดิ์ มหินทรเทพ (เข้ารับราชการในไทยเป็น ขุนศรีสวัสดิ์), เจ้าศรีแสวง, เจ้าสุดสงวน (ญ.), เจ้าคำผิว (ญ.) และเจ้าสวาท[1]

ครั้นอยู่ในไทยท่านใช้ชื่อในเอกสารว่า ไสว อุ่นคำ แล้วรับราชการเป็น ขุนไสวแสนยากร ก่อนเปลี่ยนนามสกุลเป็น ไสวแสนยากร ตามราชทินนาม[1]

พลเอก ไสวถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 สิริอายุ 76 ปี

การทำงาน ยศ และบรรดาศักดิ์

แก้
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - ร้อยตรี[2]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 - พันตรี[3]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2483 - ปลัดจังหวัดหนองคาย[4]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - พันเอก
  • - รองจเรทหารบก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491 - พลตรี[5]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2491 - จเรทหารสื่อสาร[6]
  • 11 กันยายน พ.ศ. 2494 - รักษาราชการในตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 และ ผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 2[7]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2495 - รับพระราชทานยศพลโท (พระราชทานยศย้อนหลัง)[8]
  • 30 เมษายน พ.ศ. 2495 - แม่ทัพภาคที่ 2 และผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 2 (ขณะนั้นมียศเป็น พลตรี)[9]
  • 16 กันยายน พ.ศ. 2497 - ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[10]
  • 14 มีนาคม พ.ศ. 2499 - รับพระราชทานยศพลเอก [11]
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2500 - อธิบดีกรมตำรวจ [12]
  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2500 - รับพระราชทานยศพลตำรวจเอก [13]
  • 7 ธันวาคม พ.ศ. 2500 - นายตำรวจราชสำนักพิเศษ[14]
  • 9 กันยายน พ.ศ. 2502 - ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังคงรับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกตามเดิม

โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการทหารบก ได้มารักษาราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจอีกตำแหน่งหนึ่ง [15]

งานการเมือง

แก้

วันที่ 2 สิงหาคม 2497 พลเอก ไสว ขณะมียศเป็น พลโท ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 126-9
  2. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๒๘๐๓)
  3. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๑๙)
  4. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (หน้า ๒๔๓๒)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๑๒๓)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  10. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
  11. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2016-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอน 26 ง พิเศษ หน้า 1 27 มีนาคม พ.ศ. 2499
  12. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งข้าราชการ เล่ม 74 ตอน 79 ง พิเศษ หน้า 2 21 กันยายน พ.ศ. 2500
  13. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอน 98 ง หน้า 2735 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500
  14. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้อธิบดีกรมตำรวจพ้นตำแหน่งหน้าที่และตั้งผู้รักษาการแทน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอน 88 ง หน้า 2157 15 กันยายน พ.ศ. 2502
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๒, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๔๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๙๖๖, ๑๖ มีนาคม ๒๔๘๖
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  21. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๔, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๒
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๒๐, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๑๗๐๒, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๖
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๓๓๗, ๘ กันยายน ๒๕๐๗
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 16 หน้า 520, 19 กุมภาพันธ์ 2500
ก่อนหน้า ไสว ไสวแสนยากร ถัดไป
หลวงสวัสดิสรยุทธ
(ดล บุนนาค)
   
แม่ทัพภาคที่ 2
(2494 – 2497)
  ครวญ สุทธานินทร์
ประมาณ อดิเรกสาร    
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(2 สิงหาคม 2497 - 26 กุมภาพันธ์ 2500)
  เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
เผ่า ศรียานนท์    
อธิบดีกรมตำรวจ
(2500 - 2502)
  สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์    
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
(11 กันยายน 2502 – 31 ธันวาคม 2507)
  แสง จุละจาริตต์