สงครามแปซิฟิก
สงครามแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific War) บางครั้งเรียกเป็น สงครามเอเชีย–แปซิฟิก หรือ แนวรบแปซิฟิก[36] เป็นแนวรบในสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการสู้รบในเอเชียตะวันออก มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และโอเชียเนีย ตามภูมิศาสตร์ถือเป็นแนวรบที่ใหญ่ที่สุดของสงคราม ซึ่งรวมพื้นที่แนวรบมหาสมุทรแปซิฟิก แนวรบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และสงครามโซเวียต–ญี่ปุ่นในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายของสงคราม
สงครามแปซิฟิก | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ฝ่ายสัมพันธมิตรหลัก: ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ฝ่ายเข้าร่วมรบ | ฝ่ายอักษะหลัก: ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ฝ่ายเข้าร่วมรบ | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรหลัก | ผู้นำฝ่ายอักษะหลัก | ||||||||
กำลัง | |||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐจีนเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 โดยมีสงครามตั้งแต่ ค.ศ. 1931 ที่การบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น[37] อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางกว่า[f]ว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มต้นในวันที่ 7 ธันวาคม (8 ธันวาคมตามเวลาญี่ปุ่น) ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพอเมริกันที่ฮาวาย, เกาะเวก, กวม และฟิลิปปินส์ อาณานิคมมาลายา, สิงคโปร์ กับฮ่องกงของอังกฤษ และรุกรานไทยไปพร้อมกัน[38][39][40]
จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938[41] ได้ประกาศนโยบาย "การจัดระเบียบใหม่ในเอเชียตะวันออกและการสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" (อังกฤษ: New order in East Asia and the Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) และให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ โดยมีเป้าหมายยึดครองประเทศจีนและประเทศในเอเชียอันตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก
สงครามสิ้นสุดลงด้วยการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ และการทิ้งระเบิดทางอากาศครั้งใหญ่โดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการรุกรานแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ส่งผลให้ญี่ปุ่นยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง ญี่ปุ่นสูญเสียดินแดนในเอเชียและแปซิฟิกและมีอำนาจอธิปไตยจำกัดอยู่เพียงเฉพาะเกาะหลักสี่เกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายพันธมิตรกำหนด[42]
ภาพรวม
แก้การตั้งชื่อ
แก้ในประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ปกติไม่ได้แยกสงครามแปซิฟิกจากสงครามโลกครั้งที่สองในภาพรวม และเรียกกันในชื่อง่าย ๆ ว่า สงครามต่อต้านญี่ปุ่น ในสหรัฐ คำว่า เขตสงครามแปซิฟิก เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าทางเทคนิคแล้ว ยุทธบริเวณดังกล่าวจะไม่รวมไปถึงยุทธบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ (ภายใต้บังคับบัญชาของพลเอกดักลาส แมกอาเธอร์) เขตสงครามจีน พม่า อินเดีย หรือเขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามปกติ
ส่วนประเทศญี่ปุ่นใช้คำว่า สงครามมหาเอเชียบูรพา (ญี่ปุ่น: 大東亜戦争; โรมาจิ: Dai Tō-A Sensō) ซึ่งมาจากการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1941 หมายถึงทั้งสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสงครามที่กำลังดำเนินอยู่กับจีน มีการเผยแพร่ชื่อดังกล่าวต่อสาธารณชนในวันที่ 12 ธันวาคม โดยอธิบายว่าสงครามนี้เกี่ยวข้องกับการที่ชาติเอเชียได้รับเอกราชจากชาติตะวันตกผ่านกองทัพของวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา[43] ทางการญี่ปุ่นยังได้จัดรวมสงครามที่ตนเรียก กรณีจีน-ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日支事変; โรมาจิ: Nisshi Jihen) ไว้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาเอเชียบรูพาด้วย ระหว่างการยึดครองญี่ปุ่นของทหารอเมริกัน (1945–52) คำดังกล่าวถูกห้ามใช้ในเอกสารราชการ แม้ยังคงมีการใช้อย่างไม่เป็นทางการต่อไป จึงเรียกสงครามดังกล่าวอย่างเป็นทางการว่า "สงครามแปซิฟิก" (ญี่ปุ่น: 太平洋戦争; โรมาจิ: Taiheiyō Sensō) ในประเทศญี่ปุ่น ก็ใช้คำว่า "สงครามสิบห้าปี" (ญี่ปุ่น: 十五年戦争; โรมาจิ: Jūgonen Sensō) ซึ่งหมายถึงสมัยตั้งแต่เหตุการณ์กรณีมุกเดน ปี 1931 ถึงปี 1945
ฝ่ายเข้าร่วมรบ
แก้ฝ่ายสัมพันธมิตร
แก้สมาชิกหลักของฝ่ายสัมพันธมิตรคือจีน สหรัฐ และจักรวรรดิบริติช ประเทศจีนทำสงครามกับญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1937 สหรัฐและดินแดนของตน รวมถึงเครือรัฐฟิลิปปินส์ เข้าร่วมสงครามหลังถูกญี่ปุ่นโจมตี จักรวรรดิบริติชก็เป็นผู้ทำสงครามหลักเมื่อพิจารณาถึงกองทัพอังกฤษกับกองทัพอาณานิคมจากอินเดีย พม่า, มาลายา, ฟิจิ, ตองงา นอกจากนี้ ยังมีกองทัพจากออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และแคนาดา รัฐบาลพลัดถิ่นดัตช์ (ที่เป็นผู้ถือครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์) ก็มีส่วนด้วย ประเทศทั้งหมดเป็นสมาชิกในสภาสงครามแปซิฟิก[44] ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 Corps Léger d'Intervention กลุ่มคอมมานโดฝรั่งเศส ก็มีส่วนในการทัพต้านกลับในอินโดจีน กองโจรที่เข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียบางส่วนได้แก่ กองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น กองทัพปลดปล่อยเกาหลี ขบวนการเสรีไทย เวียดมินห์[45] และขบวนการฮุกบาลาฮับ[46][47]
สหภาพโซเวียตเคยทำสงครามตามพรมแดนกับญี่ปุ่นอย่างไม่เป็นทางการเป็นระยะสั้น ๆ ในปี 1938 และอีกครั้งในปี 1939 ก่อนจะธำรงตนเป็นกลางตามกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1941[48] จนกระทั่งเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เมื่อสหภาพโซเวียต (และมองโกเลีย) เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรและรุกรานแมนจูกัว จีน มองโกเลียใน รัฐในอารักขาเกาหลีของญี่ปุ่น และดินแดนที่ญี่ปุ่นอ้างสิทธิ์ เช่น ซาฮาลินใต้[49]
เม็กซิโกให้การสนับสนุนทางอากาศในรูปของ 201st Fighter Squadron และฝรั่งเศสเสรีให้ความช่วยเหลือทางทะเลในรูปของ Le Triomphant และ Richelieu
ฝ่ายอักษะและรัฐที่เกี่ยวข้อง
แก้ประเทศสมาชิกฝ่ายอักษะที่สำคัญที่ให้การสนับสนุนญี่ปุ่น รวมไปถึงรัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมของไทย ซึ่งได้รีบจัดตั้งพันธมิตรชั่วคราวกับญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1941 เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นกำลังรุกรานคาบสมุทรตอนใต้ของไทย นอกจากนี้ กองทัพพายัพยังได้ส่งกำลังพลเข้ารุกรานและยึดครองทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ซึ่งเคยเป็นดินแดนของไทยในอดีตก่อนที่จะถูกบีบบังคับให้เสียแก่กองทัพอังกฤษ ประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกคือ รัฐหุ่นเชิดญี่ปุ่นแมนจูกัว ซึ่งประกอบด้วยดินแดนแมนจูเรียส่วนใหญ่และบางส่วนของมองโกเลียใน และรัฐบาลหวังจิงเว่ย ซึ่งควบคุมบริเวณชายฝั่งของจีน
นโยบายอย่างเป็นทางการของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถือว่า ประเทศไทยมิใช่พันธมิตรของฝ่ายอักษะ และสหรัฐอเมริกาไม่ได้อยู่ในสภาวะสงครามกับไทย นโยบายของรัฐบาลสหรัฐหลังปี ค.ศ. 1945 ก็มิได้ปฏิบัติต่อประเทศไทยอย่างศัตรูเก่า แต่มองว่าไทยถูกบีบบังคับให้เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นโดยการแบล็กเมล์ และหลังจากนั้น ไทยก็ได้ถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น ลักษณะการปฏิบัติต่อไทยของสหรัฐนั้นเหมือนกับประเทศอื่นที่ถูกฝ่ายอักษะยึดครอง อย่างเช่น เบลเยียม เชโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก กรีซ เกาหลี นอร์เวย์ โปแลนด์และเนเธอร์แลนด์
ญี่ปุ่นเกณฑ์ทหารจำนวนมากจากอาณานิคมเกาหลีและฟอร์โมซา (ซึ่งในภายหลังรู้จักกันในชื่อไต้หวัน) และในขอบเขตเล็ก ๆ บางส่วนของวิชีฝรั่งเศส กองทัพแห่งชาติอินเดียและกองทัพแห่งชาติพม่าก็ได้ออกปฏิบัติการในพื้นที่สงครามแปซิฟิกเช่นกัน และในขอบเขตเล็กย่อยลงไปอีก กองทัพเรือเยอรมันและอิตาลี (ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยเรือค้าขายติดอาวุธและเรือดำน้ำ) ยังได้ออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียอีกด้วย
ภูมิหลังประวัติศาสตร์
แก้ความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น
แก้รากเหง้าของปัญหาเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขณะที่จีนยังคงอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมือง และญี่ปุ่นกำลังพัฒนาประเทศให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว ตลอดช่วงเวลาปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงและท้ายที่สุดได้ผนวกเกาหลี และขยายอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจเข้าสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมนจูเรีย การขยายอำนาจดังกล่าวง่ายเข้าจากสถานการณ์ภายในของจีนเอง เพราะในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1910 ประเทศจีนแตกออกเป็นก๊กขุนศึกต่าง ๆ โดยรัฐบาลกลางอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ซึ่งประเทศจีนที่อ่อนแอไม่สามารถต้านทานความต้องการของญี่ปุ่นได้ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี ค.ศ. 1927 จอมทัพเจียง ไคเช็ค และกองทัพปฏิบัติแห่งชาติแห่งพรรคก๊กมินตั๋งได้ทำสงครามตีก๊กขุนศึกทางเหนือ เจียงสามารถเอาชนะขุนศึกทางตอนใต้และตอนกลางของจีนได้เป็นผลสำเร็จ และได้รับการสวามิภักดิ์ในนามของจาง เซวเหลียง และหยาง หู่เฉิง ควบคุมดินแดนแมนจูเรียอยู่ และนำไปสู่การรวมชาติจีนแต่ในนามในปี ค.ศ. 1928 ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งตื่นตระหนกกับจีนที่กำลังเข้มแข็งขึ้นภายใต้รัฐบาลเดียว จึงได้จัดฉากกรณีมุกเดนขึ้นในปี ค.ศ. 1931 และใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานแมนจูเรียและจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัว จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงซึ่งถูกโค่นล้มไปแล้ว ทรงเป็นประมุขหุ่นเชิดแห่งแมนจูกัว
เป้าหมายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นในจีนนั้นเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ปลอดภัยและเพื่อจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดขึ้นในจีนเพื่อมิให้ดำเนินการใด ๆ ขัดขวางผลประโยชน์ของญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าพฤติการณ์ของญี่ปุ่นจะไม่ถูกมองว่าไม่เข้าที่โดยบรรดาชาติมหาอำนาจอาณานิคมยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ในปี ค.ศ. 1930 การต่อต้านการล่าอาณานิคมที่เพิ่มมากขึ้นหมายความว่ากำลังทางทหารอย่างชัดเจนในการสนับสนุนการล่าอาณานิคมไม่ได้รับการยอมรับดังเช่นแต่ก่อน
พฤติการณ์ของญี่ปุ่นในแมนจูเรียถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การถอนตัวออกจากสันนิบาติชาติของญี่ปุ่น ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 จีนและญี่ปุ่นยังคงคุมเชิงกันอยู่ โดยที่เจียง ไคเช็คได้มุ่งความสนใจของเขาไปยังการทำลายพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเขาพิจารณาว่าเป็นอันตรายที่สำคัญยิ่งกว่าภัยจากญี่ปุ่น อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมในจีนต่อความคิดเห็นทั้งในหมู่ผู้นำทางการเมืองและประชากรส่วนใหญ่ทำให้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวไม่อาจป้องกันได้เพิ่มฃขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงแม้ว่ารัฐบาลกลางและพรรคคอมมิวนิสต์จะได้ร่วมมือกันระหว่างการปราบปรามพวกขุนศึกทางเหนือ ระหว่างปี ค.ศ. 1930-1934 แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลกลางและพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้าสู่ความขัดแย้งโดยตรง[50] ฝ่ายญี่ปุ่นได้ฉวยโอกาสขณะที่จีนแตกแยกภายในโจมตีหนักขึ้น และยกพลขึ้นบกที่เซี่ยงไฮ้ในปี ค.ศ. 1932[51]
ขณะเดียวกัน ในประเทศญี่ปุ่น นโยบายการลอบสังหารโดยสมาคมลับและผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำให้คณะรัฐบาลพลเรือนสูญเสียการควบคุมฝ่ายทหาร นอกจากนั้น กองบัญชาการทหารสูงสุดก็สามารถควบคุมกองทัพภาคสนามได้เพียงจำกัด ซึ่งส่วนใหญ่มักกระทำการใด ๆ ตามผลประโยชน์ของตนเอง และบ่อยครั้งที่ขัดต่อผลประโยชน์ของชาติโดยรวม แต่โดยปกติแล้วยังคงอยู่ในพระประสงค์ของจักรพรรดิฮิโรฮิโต การรวมเอเชียยังได้ถูกใช้เป็นเหตุผลสำหรับการขยายดินแดนของญี่ปุ่น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้รับการสรุปไว้ได้ดีที่สุดโดย "ลัทธิอะโมะ" ในปี ค.ศ. 1934 โดยเออิจิ เอโมะ หัวหน้ากองข้อมูลแห่งกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ลัทธิมอนโรแห่งเอเชีย" ลัทธิดังกล่าวประกาศเจตนาของญี่ปุ่นแก่ประเทศยุโรปให้ดำเนินนโยบาย "ละมือ" ในจีน และด้วยเหตุนี้จึงเป็นการยกเลิกนโยบายเปิดประตู นอกจากนี้ยังประกาศว่าญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำด้านความมั่นคงในเอเชียตะวันออกแต่เพียงผู้เดียว รวมทั้งภาระในการเอาชนะคอมมิวนิสต์ เศรษฐกิจยังได้เป็นปัจจัยสำคัญอันนำไปสู่การรุกรานประเทศจีน ระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐและยุโรปหดตัวลงอย่างรุนแรง และญี่ปุ่นได้หันมาครอบงำจีนอย่างสมบูรณ์ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อจัดหาตลาดที่มีเสถียรภาพ ในช่วงก่อนหน้าสงครามจะปะทุขึ้นอย่างเต็มตัวในปี ค.ศ. 1937 ญี่ปุ่นได้ใช้กำลังในท้องถิ่นเพื่อข่มขู่จีนเว้นแต่จีนจะลดกำแพงภาษีศุลกากรและหยุดยั้งกิจกรรมต่อต้านและการคว่ำบาตรญี่ปุ่น
ในปี ค.ศ. 1936 เจียง ไคเช็คถูกลักพาตัวโดยจาง เซวเหลียง เพื่อที่จะได้รับการปล่อยตัว เจียง ไคเช็คจึงตกลงที่จะตั้งแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่น ต่อมา ได้เกิดเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งจุดชนวนให้เกิดสงครามระหว่างสาธารณรัฐจีนกับจักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่ารัฐบาลชาตินิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการร่วมรบกับญี่ปุ่นและร่วมมือจัดตั้งแนวร่วมแห่งชาติ แต่เหมา เจ๋อตุงปฏิเสธความต้องการของเจียง ไคเช็คในการบัญชาการกองทัพคอมมิวนิสต์โดยตรง ในปี ค.ศ. 1939 พรรคคอมมิวนิสต์มีทหาร 500,000 นายที่เป็นอิสระจากพรรคก๊กมินตั๋ง[52]
นอกเหนือจากนั้น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนความเห็นของมวลชนที่มีต่อชาติตะวันตกให้เป็นแง่ลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น ประชาชนญี่ปุ่นยังคงมีความเห็นเป็นกลางต่อสหรัฐอเมริกาอยู่ อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวของกรณีปาเนย์ได้ทำให้ความเห็นของมวลชนอเมริกันเปลี่ยนเป็นต่อต้านญี่ปุ่นเช่นกัน
ในปี ค.ศ. 1939 กองทัพญี่ปุ่นพยายามที่จะขยายดินแดนไปทางภาคตะวันออกไกลของสหภาพโซเวียตจากแมนจูเรีย แต่กองทัพญี่ปุ่นปราชัยยับเยินต่อกองทัพผสมโซเวียต-มองโกเลียภายใต้การบัญชาการของนายพลเกออร์กี จูคอฟ ทำให้ญี่ปุ่นยุติการขยายตัวไปยังดินแดนทางตอนเหนือ และทั้งสองประเทศได้ดำรงรักษาสันติภาพอันไม่มั่นคงจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1945
ความตึงเครียดระหว่างญี่ปุ่นกับมหาอำนาจตะวันตก
แก้ในความพยายามที่จะขัดขวางลัทธิทหารของญี่ปุ่น ชาติตะวันตกรวมไปถึงออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษและรัฐบาลผลัดถิ่นดัตช์ ซึ่งครอบครองอินเดียตะวันออกของดัตช์ซึ่งมีปิโตรเลียมอยู่ในปริมาณมาก หยุดการขายโลหะเหล็ก เหล็กกล้าและน้ำมันให้แก่ญี่ปุ่น โดยปฏิเสธที่จะให้ทรัพยากรดิบซึ่งจำเป็นต้องการดำเนินกิจกรรมต่อไปในจีนและอินโดจีนของฝรั่งเศส ในญี่ปุ่น รัฐบาลและกลุ่มชาตินิยมมองว่าการห้ามส่งสินค้าดังกล่าวเป็นพฤติกรรมลักษณะรุกราน น้ำมันนำเข้าคิดเป็นกว่า 80% ของปริมาณการบริโภคภายในประเทศ[53] ซึ่งจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น ทำให้น้ำมันไม่เหลือถึงมือทหาร และบีบให้กิจกรรมทางทหารหยุดชะงักลง สื่อญี่ปุ่น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนักโฆษณาชวนเชื่อทหาร[g] เริ่มเรียกการห้ามส่งสินค้าดังกล่าวว่าเป็น "วงล้อม ABCD" หรือ "แนว ABCD" (ABCD ย่อมาจาก "American-British-Chinese-Dutch")
การเตรียมการของญี่ปุ่น
แก้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับทางเลือกระหว่างการล่มสลายทางเศรษฐกิจหรือการถอนตัวจากการพิชิตดินแดนล่าสุด (และยังเสียหน้าอีกด้วย) กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงเริ่มต้นวางแผนทำสงครามกับชาติตะวันตกในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 1941 วัตถุประสงค์สำคัญคือ ให้กลุ่มกองทัพรบนอกประเทศใต้ยึดทรัพยากรทางเศรษฐกิจภายใต้การควบคุมของสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาลายาและหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "แผนใต้" นอกจากนี้กองบัญชาการยังได้ตัดสินใจจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหรัฐอเมริกา และความเชื่อที่ว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง[56] ญี่ปุ่นเรียกแผนการหลังนี้ว่า "แผนตะวันออก"
แผนใต้ มีขั้นตอนดังนี้
|
แผนตะวันออก มีขั้นตอนดังนี้
|
หลังจากที่วัตถุประสงค์ข้างต้นทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว ยุทธศาสตร์จะเปลี่ยนไปเป็นการตั้งรับ และจะเน้นการรักษาดินแดนที่พิชิตได้ใหม่ขณะที่หวังการเจรจาสันติภาพ
ญี่ปุ่นได้วางแผนในการยึดครองอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปเอเชียอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสร้างแนวป้องกันขนาดใหญ่ซึ่งลากยาวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแสวงหาทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในเอเชียอาคเนย์อย่างอิสระขณะทำสงครามป้องกันตนเองจนทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องสู้รบเป็นอาณาบริเวณกว้างเหนื่อยล้า[57] และเพื่อการป้องกันการเข้าแทรกแซงของภายนอก ญี่ปุ่นจึงพยายามวางแผนที่จะทำลายกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรก[58]
เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน แผนการเหล่านี้หลัก ๆ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยในอีกหนึ่งเดือนถัดมา ความคาดหวังความสำเร็จของนักวางแผนทางทหารของญี่ปุ่นนั้นขึ้นอยู่กับการไม่สามารถรับมือกับการโจมตีของญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพของสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต เนื่องจากภัยคุกคามที่มาจากเยอรมนี สหภาพโซเวียตก็ยังถูกมองว่าไม่น่าจะเริ่มความเป็นปรปักษ์ก่อน
ไม่มีหลักฐานว่าญี่ปุ่นวางแผนจะเอาชนะสหรัฐอเมริกา ทางเลือกน่าจะเป็นว่าการเจรจาสันติภาพหลังจากชัยชนะในขั้นต้นแล้ว อันที่จริง กองบัญชาการทหารสูงสุดญี่ปุ่นหมายเหตุไว้ว่า หากบรรลุการเจรจาซึ่งยอมรับได้กับสหรัฐอเมริกาแล้ว การโจมตีในอนาคตก็จะถูกยกเลิก แม้ว่าคำสั่งโจมตีจะถูกแจกจ่ายไปแล้วก็ตาม
ญี่ปุ่นยังได้วางแผนว่า หากสหรัฐเคลื่อนกองเรือแปซิฟิกมายังฟิลิปปินส์ ก็จะนำกองเรือผสมเข้าขัดวางและโจมตีขณะยังไม่ถึงจุดหมาย เพื่อรักษาแผนการและแนวทางก่อนสงครามของกองทัพเรือญี่ปุ่นทั้งหมด และหากสหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษโจมตีก่อน แผนการได้กำหนดเพิ่มเติมว่าฝ่ายทหารจะต้องรักษาตำแหน่งของตนและรอคำสั่งจากกองบัญชาการทหารสูงสุด นักวางแผนมองว่าการโจมตีฟิลิปปินส์และมาลายายังมีความเป็นไปได้ว่าจะสำเร็จอยู่บ้าง แม้ว่าในกรณีที่ร้ายที่สุดอาจรวมไปถึงการเปิดฉากโจมตีหลายด้านซึ่งมีกองทัพโซเวียตเข้าร่วมด้วย
ญี่ปุ่นรุก ค.ศ. 1941–1942
แก้โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
แก้ช่วงเช้ามืดของวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 (เวลาฮาวาย) ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เช่นเดียวกับเกาะกวมและเกาะเวก ญี่ปุ่นได้โจมตีทางอากาศครั้งใหญ่โดยใช้เครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งส่งผลทำให้เรือประจัญบานของสหรัฐแปดลำไม่สามารถใช้การได้ อากาศยานอเมริกันพังเสียหาย 188 ลำ และชาวอเมริกันเสียชีวิต 2,403 คน[59] ญี่ปุ่นได้เสี่ยงดวงว่าสหรัฐอเมริกา เมื่อเผชิญกับความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่อย่างฉับพลัน จะยอมตกลงบรรลุข้อตกลงเจรจาและยินยอมให้ญี่ปุ่นปกครองเอเชียอย่างเสรี แต่การเสี่ยงโชคดังกล่าวไม่เป็นผล ความสูญเสียของสหรัฐนั้นเสียหายน้อยกว่าที่เคยคาดกันไว้มาก เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าเรือประจัญบานมาก ยังอยู่ในทะเล สาธารณูปโภคที่สำคัญของกองทัพเรือ (ถังน้ำมันเชื้อเพลิง อู่ต่อเรือและโรงไฟฟ้า) ฐานเรือดำน้ำ และหน่วยข่าวกรองทางสัญญาณไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ขณะที่เกิดการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ขึ้นนั้น สหรัฐอเมริกายังไม่ได้อยู่ในสภาวะสงครามอย่างเป็นทางการกับประเทศใด ๆ ในโลก[h] ก่อให้เกิดคลื่นความไม่พอใจไปทั่วสหรัฐ[59] ยุทธศาสตร์ถอยทัพของญี่ปุ่นต้องอาศัยสงครามบั่นทอนกำลังเพื่อให้สหรัฐยอมรับเงื่อนไขในที่สุด ซึ่งอยู่เหนือขีดความสามารถของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น[60][61]
การต่อต้านสงครามในสหรัฐหายไปหลังจากการโจมตีดังกล่าว วันที่ 8 ธันวาคม สหราชอาณาจักร[i][62] สหรัฐ[j][63] แคนาดา[64] และเนเธอร์แลนด์[65]ประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น ตามมาด้วยออสเตรเลีย[66]ในวันถัดไป
โจมตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แก้ประเทศไทย ซึ่งดินแดนถูกเลือกเป็นสถานที่สำหรับเริ่มต้นการทัพมาลายาเรียบร้อยแล้ว ยอมจำนนภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกญี่ปุ่นรุกราน[67] รัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ส่วนทางใต้ กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดอาณานิคมอังกฤษที่ปีนังในวันที่ 19 ธันวาคม โดยมีการต้านเพียงเล็กน้อย[68][ต้องการเลขหน้า]
ฮ่องกง คราวน์โคโลนีของอังกฤษ ถูกโจมตีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน กองทัพอังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ ซึ่งต้องเสียกำลังพลและทรัพยากรไปกับการทำสงครามกับเยอรมนีเป็นระยะเวลากว่าสองปี และยังพัวพันอย่างหนักในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและที่อื่น ๆ ไม่สามารถจัดเตรียมการป้องกันได้มากไปกว่าการต้านทานที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันต่อทหารญี่ปุ่นผู้กรำศึก ฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความพ่ายแพ้ถึงขั้นหายนะหลายครั้งในช่วงหกเดือนแรกของสงคราม เรือรบอังกฤษหลักถึงสองลำ เอชเอ็มเอส รีพัลซ์ และเอชเอ็มเอส ปรินส์ออฟเวลส์ ถูกจมในการโจมตีทางอากาศของญี่ปุ่นนอกชายฝั่งมาลายาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941[69]
หลังจากปฏิญญาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 (ซึ่งพบการใช้คำว่า "สหประชาชาติ" อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก) รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรได้แต่งตั้งพลเอกอังกฤษ เซอร์อาร์ชิบาลด์ เวเวลล์ ในกองบัญชาการอเมริกา-บริเตน-ดัตช์-ออสเตรเลีย (ABDACOM) ซึ่งเป็นกองบัญชาการสูงสุดกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวเวลล์มีอำนาจบัญชาการในนามเหนือกองกำลังขนาดใหญ่ แต่ก็กระจัดกระจายอย่างเบาบางเหนือพื้นที่ตั้งแต่พม่าไปจนถึงฟิลิปปินส์และทางเหนือของออสเตรเลีย ส่วนบริเวณอื่น รวมไปถึงอินเดีย ฮาวายและส่วนที่เหลือของออสเตรเลียอยู่ภายใต้การบัญชาการที่เป็นอิสระต่อกัน เมื่อวันที่ 15 มกราคม เวเวลล์เดินทางไปยังบันดุงในเกาะชวาเพื่อรับอำนาจบัญชาการ ABDACOM
ในเดือนมกราคม ญี่ปุ่นรุกรานพม่า หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล หลังจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา ในสิงคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ตกเป็นเชลยศึกถึงประมาณ 130,000 คน[70] บาหลีและติมอร์เสียแก่ข้าศึกในเดือนเดียวกัน[71][72] การต้านทานของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ประสบความล้มเหลวอย่างรวดเร็วนั้นได้ทำให้ "พื้นที่ ABDA" ถูกแยกออกเป็นสอง เวเวลล์ลาออกจาก ABDACOM เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โดยส่งมอบอำนาจเหนือพื้นที่ ABDA ให้แก่ผู้บัญชาการท้องถิ่นก่อนจะกลับไปดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในอินเดียต่อไป
ในขณะเดียวกัน เครื่องบินญี่ปุ่นได้เกือบจะกำจัดแสงยานุภาพทางอากาศเกือบทั้งหมดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำลังโจมตีออสเตรเลียตอนเหนือ เริ่มต้นด้วยการโจมตีเมืองดาร์วินซึ่งส่งผลกระทบทางจิตวิทยา (แต่มีความสำคัญทางทหารเพียงเล็กน้อย) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ และคร่าชีวิตไปอย่างน้อย 243 คน[73]
ในยุทธนาวีทะเลชวาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม กองทัพเรือญี่ปุ่นได้ชัยชนะครั้งใหญ่เหนือกองทัพเรือหลักของ ABDA ภายใต้การบัญชาการของพลเรือเอกกาเรล ดอร์มัน[74] การทัพอินเดียตะวันออกของดัตช์ในเวลาต่อมาสิ้นสุดลงด้วยการยอมจำนนของกองทัพสัมพันธมิตรบนเกาะชวาและสุมาตรา[75][76]
ในเดือนมีนาคมและเมษายน การโจมตีเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียโดยกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นส่งผลให้ซีลอนถูกโจมตีทางอากาศหลายระลอก และเรือบรรทุกเครื่องบินอังกฤษ เอชเอ็มเอส เฮอร์มีส เช่นเดียวกับเรือสัมพันธมิตรอื่น ๆ ถูกจมลง และกองเรืออังกฤษถูกขับไล่ออกจากมหาสมุทรอินเดียส่วนตะวันตก[77] อันเป็นการเปิดทางสำหรับการรุกรานพม่าและอินเดียของญี่ปุ่น
ฝ่ายอังกฤษ ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก สู้รบล่าถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า เป็นผลทำให้ถนนสายพม่า อันเป็นเส้นทางเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตรให้แก่กองกำลังชาตินิยมจีน ความร่วมมือระหว่างกลุ่มชาตินิยมจีนและคอมมิวนิสต์ค่อย ๆ ลดลงหลังจากเพิ่มขึ้นถึงขีดสุดในยุทธการอู่ฮั่น และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายเลวร้ายลงเมื่อทั้งสองพยายามขยายพื้นที่ปฏิบัติการในดินแดนยึดครองของตนเอง พื้นที่กองโจรชาตินิยมส่วนใหญ่นั้นถูกแย่งชิงโดยคอมมิวนิสต์ ในอีกด้านหนึ่ง กำลังชาตินิยมบางส่วนถูกจัดวางเพื่อขัดขวางพวกคอมมิวนิสต์มิใช่ญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้น กำลังชาตินิยมจีนส่วนใหญ่เป็นขุนศึกซึ่งเป็นพันธมิตรกับเจียง ไคเช็ค แต่มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของเขา "ทหารกว่า 1,200,000 นายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจียง มีเพียง 650,000 นายเท่านั้นที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงจากนายพลของเขา ส่วนอีก 550,000 นายนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของขุนศึกซึ่งอ้างความจงรักภักดีต่อรัฐบาลเท่านั้น กำลังที่เข้มแข็งที่สุดนั้นเป็นของเซอชวน ที่มีทหารอยู่ถึง 320,000 นาย ความพ่ายแพ้ของกองทัพนี้จะนำไปสู่การสูญเสียอำนาจอย่างใหญ่หลวงของเจียง"[78] ฝ่ายญี่ปุ่นแสวงหาประโยชน์จากความขาดความสามัคคีนี้และกระหน่ำโจมตีหนักยิ่งขึ้นไปอีก
ฟิลิปปินส์
แก้กองทัพฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกายังคงทำการรบต้านทานอยู่ในฟิลิปปินส์จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 เมื่อทหารมากกว่า 80,000 นายได้รับคำสั่งให้ยอมจำนน เมื่อถึงเวลานี้ พลเอกดักลาส แมกอาเธอร์ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุดแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ได้ล่าถอยไปยังออสเตรเลียที่ปลอดภัยกว่า กองทัพเรือสหรัฐ ภายใต้บังคับบัญชาพลเรือเอก เชสเตอร์ นิมิตส์ รับผิดชอบต่อส่วนที่เหลือของมหาสมุทรแปซิฟิก การแบ่งแยกบังคับบัญชาดังกล่าวสร้างผลกระทบไม่ดีต่อสงครามพาณิชย์[79] และตัวสงครามแปซิฟิกด้วยตามลำดับ
คุกคามออสเตรเลีย
แก้ปลาย ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ส่วนใหญ่ของกองทัพที่ดีที่สุดของออสเตรเลียได้รับคำสั่งให้สู้รบกับนาซีเยอรมันในยุทธบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ออสเตรเลียมีการเตรียมการรับมือกับการโจมตีเลวมาก ขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์ เครื่องบินขับไล่ เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักและเรือบรรทุกเครื่องบินที่ทันสมัย ขณะที่เรียกร้องกำลังเสริมจากเชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรี จอห์น เคอร์ทิน เรียกร้องการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยแถลงการณ์ประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1941[80][81]
ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งหลักได้ ค.ศ. 1942–1944
แก้มิดเวย์
แก้ยุทธนาวีมิดเวย์ เป็นยุทธนาวีที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก[82][83][84] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ประมาณหนึ่งเดือนหลังยุทธนาวีทะเลคอรัล และประมาณหกเดือนหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย จากการต่อต้านการโจมตีของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มิดเวย์อะทอลล์ และเป็นการคาดโทษ ความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ของกองเรือรบญี่ปุ่น จอห์น คีแกนได้เรียกมันว่า"ที่สุดของความประหลาดใจและเด็ดเดี่ยวอย่างคาดไม่ถึง ในประวัติศาสตร์ของการทำสงครามกองทัพเรือ" ยุทธนาวีนี้เคยเป็นการพ่ายแพ้ที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่นในระยะ 350 หลา
ภายหลังยุทธนาวีทั้งสอง กองเรือสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกเสียหายอย่างหนัก กองทัพญี่ปุ่นจึงคิดเข้าโจมตีมิดเวย์อะทอลล์ เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ในแนวป้องกันทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น และเป็นฐานในปฏิบัติการสำหรับแผนขั้นต่อไป รวมไปถึงการทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกาที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม สหรัฐอเมริกาจึงสามารถเตรียมการป้องกันและจัดวางกำลังพล จนสามารถทำลายกองทัพเรือของญี่ปุ่นได้ ยุทธนาวีมิดเวย์ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมาชิงความได้เปรียบในยุทธบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
สงครามที่หมู่เกาะโซโลมอน
แก้การทัพหมู่เกาะโซโลมอน เป็นการทัพหลักของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพเริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและยึดครองดินแดนหลายแห่งในหมู่เกาะโซโลมอนบริเตนและเกาะบัวเกนวิลล์ (Bougainville) ในดินแดนแห่งนิวกินีระหว่าง 6 เดือนแรกของปี ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นได้ยึดพื้นที่หลายส่วนและเริ่มสร้างท่าเรือและสนามบินหลายแห่งเพื่อใช้ป้องกันแนวด้านข้างของการบุกโจมตีในนิวกินี การสร้างแนวปลอดภัยสำหรับฐานทัพหลักของญี่ปุ่นอยู่ที่ราบวล (Rabaul) ในนิวบริเตน (New Britain) และเป็นฐานทัพที่จัดเตรียมเพื่อหยุดเส้นทางลำเลียงเสบียงระหว่างมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์
หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ต่อสหรัฐอเมริกาในยุทธนาวีที่มดเวย์ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนแผนการที่จะบุกยึดหมู่เกาะแถบโอเชียเนียซึ่งเกาะส่วนใหญ่เป็นฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศขนาดย่อยของสหรัฐอเมริกา
เพื่อปกป้องการสื่อสารและเส้นทางลำเลียงเสบียงในแปซิฟิกใต้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้สนับสนุนการรุกตอบโต้ในนิวกินีและทำลายฐานทัพญี่ปุ่นในราบวล และ ได้โต้กลับญี่ปุ่นในหมู่เกาะโซโลมอนด้วยการยกพลขึ้นบกที่กัวดาลคาแนล(ดู การทัพกัวดาลคาแนล) และเกาะเล็กๆที่อยู่ใกล้เคียงในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1942 การยกพลขึ้นบกนี้เป็นการเริ่มต้นการต่อสู้แบบผสมผสานระหว่างสองปรปักษ์ เริ่มต้นด้วยยกพลขึ้นบกที่กัวดาลคาแนล ตามติดด้วยยุทธการหลายครั้งในตอนกลางและตอนเหนือของหมู่เกาะโซโลมอน และรอบๆเกาะนิวกินี และเกาะบัวเกนวิลล์
ในการทัพนี้เป็นการต่อสู้ทั้งบนแผ่นดิน ในทะเล และกลางอากาศ สัมพันธมิตรยัดเยียดความเสียหายที่ไม่สามารถทดแทนได้ในด้านสินทรัพย์ทางทหารให้กับญี่ปุ่น สัมพันธมิตรยึดบางส่วนของหมู่เกาะโซโลมอนกลับคืนมาได้ (แม้ว่าจะมีการต่อต้านในเวลาต่อมาจนกระทั่งสงครามสิ้นสุด)และสามารถทำลายกองเรือและอากาศยานของญี่ปุ่นได้มาก การทัพหมู่เกาะโซโลมอนได้มาบรรจบกับการนิวกินี
ศึกนี้จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเริ่มที่จะหวาดกลัวมาขึ้น
ฝ่ายสัมพันธมิตรบุก ค.ศ. 1944–1945
แก้การต่อสู้ที่ฟิลิปปินส์
แก้ในปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นพยายามทุกหนทางเพื่อที่จะตัดกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่สหรัฐอเมริกาก็ได้สู้กับญี่ปุ่นอย่างเต็มที่เพื่อที่จะยึดฟิลิปปินส์กลับคืนมา ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์ถือเป็นยุทธนาวีเรือบรรทุกอากาศยานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการสู้รบระหว่างสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก การรบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19–20 มิถุนายน ค.ศ. 1944 นอกชายฝั่งของหมู่เกาะมาเรียนาและยังเกี่ยวข้องกับสนามบินญี่ปุ่นบนแผ่นดิน การรบก่อเกิดความเสียหายต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำและเครื่องบิน 600 ลำซึ่งฝ่ายสหรัฐเรียกมันว่า Great Marianas Turkey Shoot ความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงน่าจะเกิดมาจากความล้าสมัยของเครื่องบินญี่ปุ่นและความขาดประสบการณ์ของนักบิน (นักบินที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ตายในการทัพกัวดาลคาแนล ยุทธนาวีมิดเวย์ และการรบอื่น) ตรงกันข้ามกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่มีเครื่องบินขับไล่ กรัวม์แมน F6F เฮลแคท อันทันสมัย นักบินได้รับการฝึกอย่างดีและมีประสบการณ์มาก และมีเรดาร์ตรวจสอบชี้ทางในการบินลาดตระเวนรบ ในที่สุดพลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์จำนวน 200,000 นายและยึดฟิลิปปินส์ได้สมบูรณ์
จากเลย์เตสู่ซามาร์
แก้ก่อนที่พลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์จะยกพลขึ้นบกที่เลย์เตประเทศฟิลิปปินส์ กองเรือของญี่ปุ่นได้พยายามต่อสู้เพื่อขัดขวางสหรัฐอเมริกาที่จะยึดฟิลิปปินส์แต่ก็ถูกอากาศยานของอเมริกาโจมตีอย่างหนักทำให้ญี่ปุ่นเสียเรือรบไปจำนวนหนึ่งและหนึ่งในนั้นก็คือเรือประจัญบานมุซาชิได้ถูกจมลงไปยังทะเลซิบูยัน
แต่หลังจากที่พลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์แล้ว ญี่ปุ่นจึงคิดแผนการขึ้นมาแผนนี้มีชื่อว่า"โชโก"โดยมีแผนก็คือหลอกล่อให้กองเรืออเมริกาที่ 3 ของพลเรือเอกบูล ฮอลซีย์ให้ผละออกไปและทำลายกองกำลังทางบกของแมกอาเธอร์ด้วยเรือรบของญี่ปุ่น วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นเริ่มแผนการโชโกโดยการเข้าโจมตีซามาร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกาะเลย์เต ในช่วงแรกกองเรือของญี่ปุ่นสามารถหลอกล่อให้กองเรืออเมริกาที่ 3 ให้ผละออกไปได้แล้วเปิดน่านน้ำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่เลย์เต แต่ทว่าในเวลาต่อมากองเรือญี่ปุ่นก็ได้เจอกองเรือแทฟฟี่ 3ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการย่อยของกองเรืออเมริกาที่ 7 ซึ่งในกองเรือแทฟฟี่ 3 มีเรือพิฆาต เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กและเรือขนส่งเสบียง ต่อมาญี่ปุ่นเปิดฉากยิงกองเรือแทฟฟี่ 3 พลเรือตรีคลิฟตัน สเปรคผู้บัญชาการกองเรือแทฟฟี่ 3 ได้ต่อสู้อย่างเต็มที่เพื่อปกป้องทหารอเมริกัน 200,000 นายบนเกาะเลย์เต ซึ่งเรียกการต่อสู้ครั้งนี้ว่ายุทธนาวีที่ซามาร์ ผลปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายชนะโดยกองเรือแทฟฟี่ 3 ได้จมเรือลาดตระเวนญี่ปุ่น 3 ลำ แต่กองเรือแทฟฟี่ 3 ต้องสูญเสียเรือพิฆาต 3 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก 2 ลำและอากาศยานอีก 23 ลำ ทำให้กองเรือญี่ปุ่นต้องถอยกลับไป
ที่น่าสนใจก็คือศึกครั้งนี้ญี่ปุ่นได้เริ่มใช้แผนที่ชื่อว่า"กามิกาเซ่หรือหน่วยบินพลีชีพ โดยใช้เครื่องบินเข้าพุ่งชนเรือรบของอเมริกา ตัวอย่างเช่น ในยุทธนาวีที่ซามาร์ฝูงบินกามิกาเซ่ได้จมเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็ก ยูเอสเอส เซนต์โล(CVE-63)ซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกาตกตะลึงกับวิธีที่แปลกๆของญี่ปุ่น
สิ้นสุดสงครามแปซิฟิก ค.ศ.1945
แก้สหรัฐอเมริกาบุกยึดอิโวะจิมะและโอกินนะวะ
แก้ในปลายปี ค.ศ.1944 จนถึงปี ค.ศ.1945 เครื่องบินของกองทัพอเมริกาได้กระหน่ำทิ้งระเบิดลงสู่เมืองต่างๆของญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นโอซะกะ นะระ อิชิกะวะ เป็นต้น รวมถึงโตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่นด้วย ซึ่งทำให้เมืองต่างๆของญี่ปุ่นเกิดเพลิงไหม้ทั้งวันทั้งคืน สิ่งก่อสร้างพังทลายลงมา มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตมากมาย
วันที่ 19 กุมพาพันธ์ ค.ศ.1945 กองทัพอเมริกาได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวะจิมะ ฐานทัพอากาศยานที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายคือยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่อเมริกามีชัยชนะเหนือญี่ปุ่นที่อิโวะจิมะแล้ว สหรัฐอเมริกาได้สร้างสนามบินเพื่อจอดเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-29ที่จะเข้าทิ้งระเบิดในแผ่นดินใหญ่ที่ญี่ปุ่น
ต่อมาวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพอเมริกาได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะโอะกินนะวะซึ่งเป็นเกาะที่ใกล้กับญี่ปุ่นมากที่สุดทางตอนใต้ ญี่ปุ่นคิดว่าหากสูญเสียโอะกินนะวะไปสหรัฐอเมริกาก็จะมีฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศที่จะโจมตีญี่ปุ่นทางตอนใต้ดังน้นช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่วิกฤตหนักของญี่ปุ่น ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำภารกิจครั้งสุดท้ายเพื่อช่วยเหลือจักรวรรดิญี่ปุ่นในปฏิบัติการเท็งโงซึ่งแปลว่า"ปฏิบัติการสรวงสวรรค์" มันคือการเกิดใหม่ของ"กามิกาเซ่"ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นมันคือปฏิบัติการแบบฆ่าตัวตาย มีเพียงทางเดียวเพื่อที่จะช่วยเหลือญี่ปุ่นซึ่งนำโดยเรือประจัญบานยะมะโตะที่แล่นออกจากญี่ปุ่นและโจมตีจุดทอดสมอของสหรัฐอเมริกาที่โอะกินนะวะ เรือประจัญบานยะมะโตะพร้อมกับเรือลาดตระเวนเบา 1 ลำและเรือพิฆาต 8 ลำ ถูกตรวจพบโดยเรือดำน้ำสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้ของเกาะคิวชู เช้าวันต่อมาวันที่ 7 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพเรืออเมริกาได้ส่งเครื่องบินกว่า 300 ลำขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อจมเรือรบยะมะโตะ เครื่องบินของอเมริกาได้กระหน่ำทิ้งระเบิดและตอร์ปิโดลงไปยังเรือรบยะมะโตะ จนในเวลา 14:30 น.เรือรบยะมะโตะก็ได้จมลงในทะเล ไม่เพียงแค่นั้นเครื่องบินของอเมริกายังจมเรือลาดตระเวนเบายาฮากิและเรือพิฆาตอีก 4 ลำได้อีกด้วย จากปฏิบัติการเท็งโงที่ล้มเหลวเรือรบที่เหลือในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่เคยแล่นเรือรบออกมาอีกเลย เดือนมิถุนายน ค.ศ.1945 หลังจาก 2 เดือนแห่งสมรภูมิอันดุเดือดสหรัฐอเมริกาก็สามารถยึดเกาะโอะกินนะวะไว้ได้อย่างสมบูรณ์
จุดจบสงครามแปซิฟิก
แก้สหรัฐอเมริกาคิดว่าหากนำกองทัพเข้าบุกโจมตีญี่ปุ่นคงเป็นเรื่องที่ยากเพราะชาวญี่ปุ่นจะลุกฮือขึ้นมาต่อสู้จนตัวตาย สหรัฐอเมริกาจึงใช้วิธีเด็ดขั้นเด็ดขาดในการจัดการกับญี่ปุ่นเพื่อให้ญี่ปุ่นยอมแพ้อย่างง่ายโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูหรือที่เรียกว่าระเบิดนิวเคลียร์และถือว่าเป็นการทดสอบอาวุธด้วย วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 เครื่องบินบี-29ของอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ชื่อว่าลิตเติลบอยลงสู่เมืองฮิโรชิมะทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 140,000 คน ต่อมาวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 เครื่องบินบี-29ของอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองที่ชื่อว่าแฟตแมนถล่มเมืองนางาซากิทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 80,000 คน จนในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 ญี่ปุ่นก็ได้ประกาศยอมแพ้สงคราม นับเป็นการยุติสงครามแปซิฟิกและสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ.1945
ความเสียหาย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ต่อสู้ในสงครามต่อญี่ปุ่นโดยยังไม่ประกาศสงครามตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 จากนั้นประกาศสงครามในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1941[1]
- ↑ แม้ว่าญี่ปุ่นเข้ารุกรานและยึดครองจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ยังไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ จากนั้นญี่ปุ่นจึงโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งนำสงครามที่จำกัดในจีนมาสู่ความขัดแย้งที่กว้างขึ้นระดับโลก[1]
- ↑ จนถึงเมษายน ค.ศ. 1945
- ↑ จนถึงกรกฎาคม ค.ศ. 1945
- ↑ จนถึงกรกฎาคม ค.ศ. 1944
- ↑ "For fifty-three long months, beginning in July 1937, China stood alone, single-handedly fighting an undeclared war against Japan. On 9 December 1941, after Japan's surprise attack on Pearl Harbor, what had been for so long a war between two countries now became part of a much wider Pacific conflict."[1][2]
- ↑ : "It was not an official term, but a term of incitement used by the Japanese media, under the guidance of the military, in order to stir up the Japanese people's sense of crisis..."[54][55]
- ↑ Neutrality Patrol ให้เรือพิฆาตสหรัฐทำการต่อสู่ที่ทะเล แต่สภาคองเกรสยังไม่ประกาศสงคราม
- ↑ ดูการประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหราชอาณาจักร
- ↑ ดูการประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหรัฐ
- ↑ จำนวนกองทัพสหรัฐในเอเชียและแปซิฟิกในช่วงที่สงครามสิ้นสุด: กองทัพบก: 1,770,036 นาย,[4] กองทัพเรือ (ไม่นับยามฝั่งและนาวิกโยธิน): 1,366,716 นาย,[5] และเหล่านาวิกโยธิน: 484,631 นาย[6] จำนวนนี้ไม่รวมหน่วยยามฝั่งหรือหรือทหารเรือที่แนวรบจีน-พม่า-อินเดีย[7]
- ↑ ไม่นับรวมกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์
- ↑ ประมาณการว่ามีพลเมืองจีนเสียชีวิต 1 ถึง 6 ล้านคน (1937–1945);[19] พลเมืองที่เสียชีวิตประมาณ 4 ล้านคนมาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์;[20][ต้องการเลขหน้า], พลเมืองเวียดนามเสียชีวิต 1–2 ล้านคน;[21] พลเมืองอินเดียประมาณ 3 ล้านคน[22]เสียชีวิตในทุพภิกขภัยเบงกอล ค.ศ. 1943; พลเมืองฟิลิปปินส์เสียชีวิต 0.5 ถึง 1 ล้านคน[23]; พลเมืองพม่าเสียชีวิต 91,000[24] ถึง 1,000,000 คน[25]; พลเมืองติมอร์ตะวันออกเสียชีวิต 50,000 คน[26]; และพลเมืองมาลายา แปซิฟิก กับที่อื่น ๆ เสียชีวิตหลายแสนคน[20][ต้องการเลขหน้า]
- ↑ ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิต 2,133,915 นายใน ค.ศ. 1937–1945,[29] ผู้สมรู้ร่วมคิดชาวจีนบาดเจ็บและเสียชีวิต 1.18 ล้านคนใน ค.ศ. 1937–1945 (เสียชีวิต 432,000 คน),[30] ชาวพม่าบาดเจ็บและเสียชีวิต 22,000 คน,[ต้องการอ้างอิง] ทหารไทยเสียชีวิต 5,600 นาย,[31] และทหารแห่งชาติอินเดีย (อาซาดฮินด์) เสียชีวิต/หายไป 2,615 นาย[32]
- ↑ พลเมืองญี่ปุ่นเสียชีวิต 460,000 คน (338,000 คนในการทิ้งระเบิดญี่ปุ่น,[33] 100,000 คนในยุทธการที่โอกินาวะ, 22,000 คนในยุทธการที่ไซปัน), พลเมืองเกาหลีเสียชีวิต 543,000 คน (ส่วนใหญ่เกิดจากโครงการบังคับใช้แรงงานของญี่ปุ่น),[34] พลเมืองไทยเสียชีวิต 2,000–8,000 คน[35]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Ch'i 1992, p. 157.
- ↑ 2.0 2.1 Sun 1996, p. 11.
- ↑ Hastings 2008, p. 205.
- ↑ Coakley & Leighton 1989, p. 836.
- ↑ US Navy Personnel in World War II Service and Casualty Statistics, Naval History and Heritage Command, Table 9.
- ↑ King, Ernest J. (1945). Third Report to the Secretary of the Navy p. 221
- ↑ "US Navy Personnel in World War II Service and Casualty Statistics", Naval History and Heritage Command, Footnote 2.
- ↑ 8.0 8.1 Hastings 2008, p. 10.
- ↑ "Chapter 10: Loss of the Netherlands East Indies". The Army Air Forces in World War II. HyperWar. สืบค้นเมื่อ 31 August 2010.
- ↑ Cherevko 2003, Ch. 7, Table 7.
- ↑ Cook & Cook 1993, p. 403.
- ↑ Harrison p. 29 Retrieved 10 March 2016
- ↑ Australia-Japan Research Project, "Dispositions and Deaths" Retrieved 10 March 2016
- ↑ Meyer 1997, p. 309.
- ↑ Jowett 2005, p. 72.
- ↑ "Losses", Nav source. Retrieved 25 July 2015. Allies' warships, Uboat. Retrieved 25 July 2015; "Major British Warship Losses in World War II". Retrieved 25 July 2015; Chinese Navy Retrieved 26 July 2015.
- ↑ 17.0 17.1 Hara 2011, p. 299.
- ↑ USSBS Summary Report, p. 68. Retrieved 26 May 2023. US aircraft losses only. Includes 8,700 in combat and the rest operational.
- ↑ "Chinese People Contribute to WWII". สืบค้นเมื่อ 23 April 2009.
- ↑ 20.0 20.1 Dower 1993.
- ↑ "Vietnam needs to remember famine of 1945". Anu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
- ↑ Sen 1999, p. 203.
- ↑ Gruhl 2007, pp. 143–144.
- ↑ Clodfelter 2017, pp. 527.
- ↑ McLynn 2010, p. 1.
- ↑ Ruas, Óscar Vasconcelos, "Relatório 1946–47", AHU
- ↑ Hara 2011, p. 297.
- ↑ USSBS Summary Report, p. 67. Retrieved 5/26/23. Approximately 20,000 in combat and 30,000 operational.
- ↑ Bren, John (3 June 2005) "Yasukuni Shrine: Ritual and Memory" Japan Focus. Retrieved on 5 June 2009.
- ↑ Rummel 1991, Table 5A.
- ↑ Murashima 2006, p. 1057n.
- ↑ Clodfelter 2002, p. 556.
- ↑ Statistics of democide: Chapter 13: Death By American Bombing, RJ Rummel, University of Hawaii.
- ↑ Gruhl 2007, p. 19.
- ↑ E. Bruce Reynolds, "Aftermath of Alliance: The Wartime Legacy in Thai-Japanese Relations", Journal of Southeast Asian Studies, v21, n1, March 1990, pp. 66–87. "An OSS document (XL 30948, RG 226, USNA) quotes Thai Ministry of Interior figures of 8,711 air raids deaths in 1944–45 and damage to more than 10,000 buildings, most of them totally destroyed. However, an account by M. R. Seni Pramoj (a typescript entitled 'The Negotiations Leading to the Cessation of a State of War with Great Britain' and filed under Papers on World War II, at the Thailand Information Center, Chulalongkorn University, p. 12) indicates that only about 2,000 Thai died in air raids."
- ↑ Murray & Millett 2001, p. 143.
- ↑ MacLeod 1999, p. 1.
- ↑ Drea 1998, p. 26.
- ↑ Costello 1982, p. 129–148.
- ↑ Japan Economic Foundation, Journal of Japanese Trade & Industry, Volume 16, 1997
- ↑ International Military Tribunal for the Far East
- ↑ Takemae 2003, p. 516.
- ↑ Jansen 2002, p. 626.
- ↑ "WW2 People's War – Timeline". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2011. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
- ↑ "World War II and the founding of the Vietnamese state". Encyclopædia Britannica (Online ed.). สืบค้นเมื่อ 25 August 2021.
- ↑ "The Hukbalahap Insurrection: World War II and Huk Expansion". US Army. สืบค้นเมื่อ 25 August 2021.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
- ↑ Sandler 2001, pp. 1067–1068.
- ↑ Sandler 2001, p. 945.
- ↑ "World War II Database: China". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-15. สืบค้นเมื่อ 2007-03-05.
- ↑ "World War II: 1930–1937". สืบค้นเมื่อ 2007-03-05.
- ↑ "Georgi Dimitrov and the United National Front in China 1936-1944 (See: No. 22 New Soviet Aid for Chinese)". สืบค้นเมื่อ 2007-03-05.
- ↑ Irvine H. Anderson, Jr. De Facto Embargo on Oil to Japan: A Bureaucratic Reflex. The Pacific Historical Review, Vol. 44, No. 2 (May, 1975), p. 201.
- ↑ Kokushi Daijiten ("Historical Dictionary"), 1980
- ↑ Cited by Christopher Barnard, 2003, Language, Ideology and Japanese History Textbooks, London & New York, Routledge Curzon, p. 85.
- ↑ Peattie & Evans, Kaigun
- ↑ Weinberg, Gerhard L (2005). A World At Arms. Cambridge University Press. p. 310. ISBN 0521618266.
- ↑ Morgan, Patrick M. Strategic Military Surprise: Incentives and Opportunities, pg. 51
- ↑ 59.0 59.1 Evans & Peattie 1997, p. 488.
- ↑ Evans & Peattie 1997, p. 113.
- ↑ Parillo 1993, p. 60.
- ↑ "Prime Minister's Declaration". Parliamentary Debates (Hansard). 8 December 1941. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2014. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
- ↑ "Declaration of War with Japan". United States Congress. 8 December 1941. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2011.
- ↑ "Canada Declares War on Japan". Inter-Allied Review. 15 December 1941. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 April 2015 – โดยทาง Pearl Harbor History Associates, Inc.
- ↑ "The Kingdom of the Netherlands Declares War with Japan". Inter-Allied Review. 15 December 1941. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2010. สืบค้นเมื่อ 3 October 2009 – โดยทาง Pearl Harbor History Associates Inc.
- ↑ "Australia Declares War on Japan". Inter-Allied Review. 15 December 1941. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2008. สืบค้นเมื่อ 3 October 2009 – โดยทาง Pearl Harbor History Associates Inc.
- ↑ Brecher & Wilkenfeld 1997, p. 407.
- ↑ Barber 2010.
- ↑ Peattie 2007, pp. 168–169.
- ↑ "Remembering 1942, The fall of Singapore, 15 February 1942". Awm.gov.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2008. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
- ↑ L., Klemen (1999–2000). "The capture of Bali Island, February 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2012. สืบค้นเมื่อ 4 August 2011.
- ↑ Klemen, L (1999–2000). "The Japanese Invasion of Dutch West Timor Island, February 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2011. ดูยุทธการที่ติมอร์
- ↑ Peattie 2007, pp. 170–172.
- ↑ L, Klemen (1999–2000). "The Java Sea Battle, February 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 August 2011.
- ↑ Klemen, L (1999–2000). "The conquest of Java Island, March 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 August 2011.
- ↑ Womack, Tom (1999–2000). "An Abandoned Army – The KNIL and The Japanese Invasion of Northern Dutch Sumatra". Dutch East Indies Campaign website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 August 2011.
- ↑ Peattie 2007, p. 172.
- ↑ Hoyt, Edwin P. (1986). Japan's War. Da Capo. pp. 262–263. ISBN 0-306-80348-8.
- ↑ Blair, Silent Victory
- ↑ "In office – John Curtin – Australia's PMs – Australia's Prime Ministers". Primeministers.naa.gov.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.
- ↑ Cited in Frank Crowley (1973) Vol 2, p. 51
- ↑ "Battle of Midway: June 4–7,1942". Naval History & Heritage Command. 27 April 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 20 February 2009. "...considered the decisive battle of the war in the Pacific."
- ↑ Dull, Paul S (1978). Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. US Naval Institute Press. ISBN 1-59114-219-9. "Midway was indeed "the" decisive battle of the war in the Pacific.", p. 166
- ↑ "A Brief History of Aircraft Carriers: Battle of Midway". U.S. Navy. 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007.
ข้อมูล
แก้- Alexander, Joseph H. (1996). The Final Campaign: Marines in the Victory on Okinawa. Diane. ISBN 978-0-7881-3528-6.
- Allen, Louis (1984). Burma: The longest War. Dent Publishing. ISBN 0-460-02474-4.
- Asada, Sadao (1998). "The Shock of the Atomic Bomb and Japan's Decision to Surrender: A Reconsideration". The Pacific Historical Review. 67 (4): 477–512. doi:10.2307/3641184. JSTOR 3641184.
- Banham, Tony (2005). Not the Slightest Chance: The Defence of Hong Kong, 1941. Hong Kong: Hong Kong University Press.
- Barber, Andrew (2010). Penang At War: A History of Penang During and Between the First and Second World Wars 1914–1945. AB&B. ISBN 978-983-43372-3-0.
- Bix, Herbert P. (2000). Hirohito and the Making of Modern Japan. New York: Harper Collins. ISBN 978-0-06-093130-8.
- Blackburn, Kevin; Hack, Karl, บ.ก. (2007). Forgotten Captives in Japanese-Occupied Asia. Routledge. doi:10.4324/9780203934746. ISBN 978-0-203-93474-6.
- Blair, Clay Jr (1975). Silent Victory. Philadelphia: Lippincott.
- Bond, Brian; Tachikawa, Kyoichi (2004). British and Japanese Military Leadership in the Far Eastern War, 1941–1945 Volume 17 of Military History and Policy Series. Routledge. ISBN 978-0-7146-8555-7.
- Boog, Horst; Rahn, Werner; Stumpf, Reinhard; Wegner, Bernd, บ.ก. (2001). Germany and the Second World War. Vol. 6: The Global War. ISBN 978-0-19-159035-1.
- Boyd, Carl (1979). "The Japanese Submarine Force and the Legacy of Strategic and Operational Doctrine Developed Between the World Wars". ใน Addington, Larry (บ.ก.). Selected Papers from the Citadel Conference on War and Diplomacy: 1978. Charleston. pp. 27–40.
- Brecher, Michael; Wilkenfeld, Jonathan (1997). A Study of Crisis. University of Michigan Press. ISBN 978-0-472-10806-0.
- Brooks, Risa; Stanley, Elizabeth A. (2007). Creating Military Power: The Sources of Military Effectiveness. Stanford University Press. p. 41. ISBN 978-0-8047-5399-9.
- Cherevko, Kirill (2003). Serp i Molot Protiv Samuraiskogo Mecha [Hammer and Sickle against Samurai Sword] (ภาษารัสเซีย). Moscow: Veche.
- Chevrier; Chomiczewski; Garrigue (2004). The Implementation of Legally Binding Measures to Strengthen the Biological and Toxin Weapons Convention: Proceedings of the NATO Advanced Study Institute, held in Budapest, Hungary, 2001. Springer. ISBN 978-1-4020-2097-1.
- Ch'i, Hsi-Sheng (1992). "The Military Dimension, 1942–1945". ใน James C. Hsiung; Steven I. Levine (บ.ก.). China's Bitter Victory: War with Japan, 1937–45. Armonk: M. E. Sharpe. ISBN 978-1-56324-246-5.
- Cleaver, Thomas McKelvey (2018). Tidal Wave: From Leyte Gulf to Tokyo Bay. Bloomsbury Publishing. ISBN 978-1-472-82546-9.
- Clodfelter, Micheal (2002). Warfare and Armed Conflicts – A Statistical Reference to Casualty and Other Figures, 1500–2000. McFarland. ISBN 0-7864-1204-6.
- Clodfelter, Micheal (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492–2015 (4 ed.).
- Coakley, Robert W.; Leighton, Richard M. (1989). Global Logistics and Strategy 1943–1945. Washington, DC: Center of Military History.
- Cook, Haruko Taya; Cook, Theodore Failor (1993). Japan at War: an Oral History. New York: New Press. ISBN 978-1-56584-039-3.
- Corfield, Justin; Corfield, Robin (2012). The Fall of Singapore. Singapore: Talisman Books. ISBN 978-981-07-0984-6.
- Costello, John (1982). The Pacific War: 1941–1945. Harper Collins. ISBN 978-0-688-01620-3.
- Coox, Alvin (1973). "The Lake Khasan Affair of 1938: Overview and Lessons". Soviet Studies. 25 (1): 51–65. doi:10.1080/09668137308410900.
- Crawford, Keith A.; Foster, Stuart J. (2007). War, Nation, Memory: International Perspectives on World War II in School History Textbooks. Charlotte: Information Age. ISBN 978-1-60752-659-9.
- Croddy; Wirtz (2005). Weapons of Mass Destruction: Nuclear weapons. Bloomsbury Academic. ISBN 978-1-85109-490-5.
- Dauria, Tom (2014). Within a Presumption of Godlessness. Archway. ISBN 978-1-4808-0420-3.
- Dennis, Peter; Grey, Jeffrey; Morris, Ewan; Prior, Robin; Bou, Jean (2008). The Oxford Companion to Australian Military History (2nd ed.). Melbourne: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-551784-2.
- Dower, John (1993). War Without Mercy: Race and Power In the Pacific War. New York: Pantheon Books. ISBN 0-394-75172-8.
- Drea, Edward J. (1998). In the Service of the Emperor: Essays on the Imperial Japanese Army. Nebraska: University of Nebraska Press. ISBN 0-8032-1708-0.
- Drea, Edward J. (2005). Nomonhan: Japanese-Soviet Tactical Combat, 1939.
- Evans, David C; Peattie, Mark R (1997). Kaigun: Strategy, Tactics, and Technology in the Imperial Japanese Navy, 1887–1941. Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 0-87021-192-7.
- Fairbank, John King; Goldman, Merle (1994). China: A New History. Harvard University Press. ISBN 0-674-11673-9.
- Frank, Richard B. (2007). Tsuyoshi Hasegawa (บ.ก.). The End of the Pacific War: Reappraisals. Stanford University Press. p. 89. ISBN 978-0-8047-5427-9.
- Gailey, Harry A. (2011). The War in the Pacific: From Pearl Harbor to Tokyo Bay (reprint, 1995 ed.). Random House Publishing Group. ISBN 978-0-307-80204-0.
- Garthoff, Raymond L. (1969). "The Soviet Manchurian Campaign, August 1945". Military Affairs. 33 (2): 312–336. doi:10.2307/1983926. JSTOR 1983926.
- Garver, John W. (1988). Chinese-Soviet Relations, 1937–1945.
- Greenfield, Kent Roberts (1967). American Strategy in World War II: A Reconsideration. The Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-89874-557-3.
- Grey, Jeffrey (1999). A Military History of Australia. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-64483-6.
- Gruhl, Werner (2007). Imperial Japan's World War Two: 1931–1945. New Brunswick: Transaction Publishers. ISBN 978-0-76580352-8.
- Hanson, Victor Davis (2004). Ripples of Battle: How Wars of the Past Still Determine How We Fight, How We Live, and How We Think (illustrated, reprint ed.). Anchor Books. ISBN 978-0-38572194-3.
- Hara, Tameichi (2011). Japanese Destroyer Captain. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-1-59114-384-0.
- Harmsen, Peter (2013). Shanghai 1937: Stalingrad on the Yangtze (First ed.). Casemate. ISBN 978-1-61200-167-8.
- Harmsen, Peter (2015). Nanjing 1937: Battle for a Doomed City. Casemate. ISBN 978-1-61200-284-2.
- Hastings, Max (2008). Retribution. Knopf Doubleday Publishing Group. ISBN 978-0-307-26351-3.
- He, Yingqin (1978). Who Actually Fought the Sino-Japanese War 1937–1945?.
- Heinrichs, Waldo H.; Gallicchio, Marc S. (2017). Implacable Foes: War in the Pacific, 1944–1945. Oxford University Press. ISBN 978-0-19061-675-5.
- Himeta, Mitsuyoshi (1995). 日本軍による『三光政策・三光作戦をめぐって [Concerning the Three Alls Strategy/Three Alls Policy By the Japanese Forces]. Iwanami Bukkuretto. p. 43. ISBN 978-4-00-003317-6.
- Ho, Ping-ti (1959). Studies on the Population of China, 1368–1953. Cambridge: Harvard University Press. OCLC 1171226366.
- Hopkins, William B. (2010). The Pacific War: The Strategy, Politics, and Players that Won the War. Zenith Press. ISBN 978-0-76033-975-6.
- Hsu Long-hsuen; Chang Ming-kai (1971). History of The Sino-Japanese War (1937–1945). แปลโดย Wen Ha-hsiung (2nd ed.). Taipei, Taiwan, Republic of China: Chung Wu Publishing.
- Jansen, Marius B. (2002). The Making of Modern Japan. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 0-674-00334-9.
- Jowett, Phillip (2005). Rays of the Rising Sun: Japan's Asian Allies 1931–1945 Volume 1: China and Manchukuo. Helion and Company Ltd. ISBN 1-874622-21-3.
- Lin, Hsiao-tin (2010). James C. Hsiung; Steven I. Levine (บ.ก.). Modern China's Ethnic Frontiers: A Journey to the West Volume 67 of Routledge Studies in the Modern History of Asia (illustrated ed.). Taylor & Francis. ISBN 978-0-415-58264-3.
- Lind, Jennifer M. (2010). Sorry States: Apologies in International Politics. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-7628-0.
- Long, Gavin (1963). The Final Campaigns. Australia in the War of 1939–1945. Series 1 – Army. Vol. 7. Canberra: Australian War Memorial. OCLC 1297619.
- MacLeod, Roy M. (1999). Science and the Pacific War: Science and Survival in the Pacific, 1939–1945. Kluwer Academic Publishing. ISBN 978-0-79235851-0.
- MacKinnon, Stephen (2008). Wuhan, 1938: War, Refugees, and the Making of Modern China. University of California Press. ISBN 978-0-520-25445-9.
- Marr, David G. (1995). Vietnam 1945: The Quest for Power. University of California Press.
- McGibbon, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford Companion to New Zealand Military History. Auckland, NZ: Oxford University Press. ISBN 0-19-558376-0.
- McLynn, Frank (2010). The Burma Campaign: Disaster into Triumph, 1942–1945. Bodley Head.
- Meyer, Milton Walter (1997). Asia: A Concise History. Lanham: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-84768063-4.
- Murashima, Eiji (2006). "The Commemorative Character of Thai Historiography: The 1942–43 Thai Military Campaign in the Shan States Depicted as a Story of National Salvation and the Restoration of Thai Independence". Modern Asian Studies. 40 (4): 1053–1096. doi:10.1017/S0026749X06002198. S2CID 144491081.
- Murray, Williamson; Millett, Allan R. (2001). A War to be Won: Fighting the Second World War. Harvard University Press. ISBN 978-0-67404130-1.
- Nesbit, Roy C (2009). The Battle for Burma. Pen & Sword Military. ISBN 978-1-84415-955-0.
- Olsen, Lance (2012). Taierzhuang 1938 – Stalingrad 1942: Insight into a blind spot of WW2 Series. Clear Mind Publishing. ISBN 978-0-9838435-7-3.
- Parillo, Mark P. (1993). Japanese Merchant Marine in World War II. Annapolis: United States Naval Institute Press.
- Parshall, Jonathan; Tully, Anthony (2005). Shattered Sword: The Untold Story of the Battle of Midway. Dulles, Virginia: Potomac Books. ISBN 1-57488-923-0.
- Peattie, Mark R (2007). Sunburst: The Rise of Japanese Naval Air Power, 1909–1941. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-1-59114-664-3.
- Rauch, Jonathan (2002). "Firebombs Over Tokyo America's 1945 attack on Japan's capital remains undeservedly obscure alongside Hiroshima and Nagasaki". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- Reynolds, Clark G. (1974). Command of the Sea: The History and Strategy of Maritime Empires. Morrow. ISBN 978-0-688-00267-1.
- Roscoe, Theodore (1949). United States Submarine Operations in World War II. Annapolis: Naval Institute Press.
- Roscoe, Theodore (1958). Pig Boats. Bantam Books.
- Rummel, Rudolph (1991). China's Bloody Century Genocide and Mass Murder Since 1900. Routledge. doi:10.4324/9781315081328. ISBN 978-1-315-08132-8.
- Russell, Richard A. (1997). Project Hula: Secret Soviet-American Cooperation in the War Against Japan. Washington, D.C.: Naval Historical Center. ISBN 0-945274-35-1.
- Sandler, Stanley (2001). World War II in the Pacific: An Encyclopedia. Routledge. ISBN 0-8153-1883-9.
- Schoppa, R. Keith (2011). In a Sea of Bitterness, Refugees during the Sino-Japanese War. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-05988-7.
- Selden, Mark (2007). "A Forgotten Holocaust: US Bombing Strategy, the Destruction of Japanese Cities & the American Way of War from World War II to Iraq". The Asia-Pacific Journal. 5. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
- Selden, Mark (2008). "A Forgotten Holocaust: US Bombing Strategy, the Destruction of Japanese Cities & the American Way of War from World War II to Iraq'". The Asia-Pacific Journal.
- Sen, Amartya Kumar (1999). Poverty and Famines: An Essay on Entitlement and Deprivation. London: Oxford University Press. ISBN 978-0-19564954-3.
- Slim, William (1956). Defeat into Victory. Cassell. ISBN 0-552-08757-2.
- Skates, James (1994). Invasion of Japan: Alternative to the Bomb. Columbia: University of South Carolina Press. ISBN 978-0-87249-972-0.
- Smith, J. Douglas, and Richard Jensen. World War II on the Web: A Guide to the Very Best Sites. (2002)
- Spector, Ronald, Eagle Against the Sun: The American War with Japan Free Press, 1985.
- Stevens, Keith (March 2005). "A token operation: 204 military mission to China, 1941–1945". Asian Affairs. 36 (1): 66–74. doi:10.1080/03068370500039151. S2CID 161326427.
- Stille, Mark (2014). The Imperial Japanese Navy in the Pacific War. Osprey Publishing. ISBN 978-1-47280-146-3.
- Sun, Youli (15 September 1996). China and the Origins of the Pacific War, 1931–41. Palgrave MacMillan. ISBN 978-0-31216454-6.
- Takemae, Eiji (2003). The Allied Occupation of Japan. Continuum Press. ISBN 0-82641-521-0.
- Tanaka, Yuki (1996). Hidden Horrors: Japanese War Crimes in World War II. Boulder: Westview Press. ISBN 978-0-8133-2717-4.
- Tanaka, Yuki (2003). Japan's Comfort Women: Sexual Slavery and Prostitution During World War II and the US Occoupation. Routledge. ISBN 978-1-134-65012-5.
- Toland, John (2003). The Rising Sun: the Decline and Fall of the Japanese Empire. New York: Random House. ISBN 0-8129-6858-1.
- Willmott, H.P. (2014). Empires in the Balance: Japanese and Allied Pacific Strategies to April 1942 (reprint, 1982 ed.). Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 978-1-612-51728-5.
- Willmott, H.P. (1983). The Barrier and the Javelin. Annapolis, Maryland: United States Naval Institute Press. ISBN 0-87021-092-0.
- Willmott, H.P. (2005). The Battle Of Leyte Gulf: The Last Fleet Action. Indiana University Press. ISBN 0-253-34528-6.
- Willmott, H.P. (2002). The War with Japan: The Period of Balance, May 1942 – October 1943. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 1-461-64607-3.
- Y'Blood, William T. (1981). Red Sun Setting: The Battle of the Philippine Sea. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 1-59114-994-0.
- Wilson, Dick (1982). When Tigers Fight. New York: The Viking Press.
- Xiaobing, Li, บ.ก. (2012). China at War: An Encyclopedia. Abc-Clio. ISBN 978-1-59884-415-3. สืบค้นเมื่อ 21 May 2012.
- Yahara, Hiromichi (1997). The Battle For Okinawa. Wiley. ISBN 978-0-471-18080-7.
- United States War Department. TM 30-480 Handbook On Japanese Military Forces, 1942 (1942) online; 384 pp; highly detailed description of wartime IJA by U.S. Army Intelligence.
อ่านเพิ่ม
แก้- Bergerud, Eric M. (2000). Fire in the Sky: The Air War in the South Pacific. Boulder, Colorado: Westview Press. ISBN 0-8133-3869-7.
- Buell, Thomas (1976). Master of Seapower: A Biography of Admiral Ernest J. King. Annapolis: Naval Institute Press.
- Buell, Thomas (1974). The Quiet Warrior: A Biography of Admiral Raymond Spruance.
- Craven, Wesley, and James Cate, eds. The Army Air Forces in World War II. Vol. 1, Plans and Early Operations, January 1939 to August 1942. University of Chicago Press, 1958. Official history; Vol. 4, The Pacific: Guadalcanal to Saipan, August 1942 to July 1944. 1950; Vol. 5, The Pacific: Matterhorn to Nagasaki. 1953.
- Cutler, Thomas (1994). The Battle of Leyte Gulf: 23–26 October 1944. Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 1-55750-243-9.
- Dean, Peter J. McArthur's Coalition: US and Australian operations in the Southwest Pacific Area, 1942–1945 (University Press of Kansas, 2018)
- Degan, Patrick (2003). Fighting in World War II: The Battles Between American and Japanese Aircraft Carriers (New ed.). Jefferson: McFarland & Company Inc. ISBN 0-786-41451-0.
- Dunnigan, James F.; Nofi, Albert A. (1998). The Pacific War Encyclopedia. Facts on File.
- Goldman, Stuart (2012). Nomonhan, 1939: The Red Army's Victory That Shaped World War II. Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 978-1-61251-098-9.
- Gordon, David M. (January 2006). "The China-Japan War, 1931–1945". Journal of Military History. 70 (1): 137–182. doi:10.1353/jmh.2006.0052. S2CID 161822140.
- Harries, Meirion; Harries, Susie (1994). Soldiers of the Sun: The Rise and Fall of the Imperial Japanese Army. New York: Random House. ISBN 0-679-75303-6.
- Harrison, Simon (2012). Dark Trophies. Hunting and the Enemy Body in Modern War. New York City: Berghahn Books. ISBN 978-0-85745-499-7.
- Hayashi, Saburo and Alvin, Coox. Kogun: The Japanese Army in the Pacific War. Quantico, Virginia: Marine Corps Assoc., 1959.
- Hornfischer, James D. (2011). Neptune's Inferno: The U.S. Navy at Guadalcanal. Random House Publishing Group. ISBN 978-0-553-38512-0.
- Hornfischer, James D. (2016). The Fleet at Flood Tide: The U.S. at Total War in the Pacific, 1944–1945. Random House Publishing Group. ISBN 978-0-345-54872-6.
- Hsiung, James C. and Steven I. Levine, eds. China's Bitter Victory: The War with Japan, 1937–1945 M. E. Sharpe, 1992
- Hsi-sheng, Ch'i. Nationalist China at War: Military Defeats and Political Collapse, 1937–1945 University of Michigan Press, 1982
- Inoguchi, Rikihei, Tadashi Nakajima, and Robert Pineau. The Divine Wind. Ballantine, 1958. Kamikaze.
- James, D. Clayton. The Years of MacArthur. Vol. 2. Houghton Mifflin, 1972.
- Judge, Sean M. et al. The Turn of the Tide in the Pacific War: Strategic Initiative, Intelligence, and Command, 1941–1943 (University Press of Kansas, 2018).
- Kirby, S. Woodburn The War Against Japan. 4 vols. London: H.M.S.O., 1957–1965. Official Royal Navy history.
- Leary, William M. We Shall Return: MacArthur's Commanders and the Defeat of Japan. University Press of Kentucky, 1988.
- Lundstrom, John B. (2005). The First Team and the Guadalcanal Campaign: Naval Fighter Combat from August to November 1942 (New ed.). Annapolis, Maryland: US Naval Institute Press. ISBN 1-59114-472-8.
- Matloff, Maurice and Snell, Edwin M. Strategic Planning for Coalition Warfare 1941–1942 เก็บถาวร 28 พฤษภาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, United States Army Center of Military History, Washington, D.C., 1990
- McCarthy, Dudley (1959). South-West Pacific Area – First Year. Australia in the War of 1939–1945. Series 1 – Army. Vol. 5. Canberra: Australian War Memorial. OCLC 3134247.
- Miller, Edward S. (2007). War Plan Orange: The U.S. Strategy to Defeat Japan, 1897–1945. US Naval Institute Press. ISBN 978-1-59114-500-4.
- Morrison, Samuel, Elliot, History of United States Naval Operations in World War II. Vol. 3, The Rising Sun in the Pacific. Boston: Little, Brown, 1961; Vol. 4, Coral Sea, Midway and Submarine Actions. 1949; Vol. 5, The Struggle for Guadalcanal. 1949; Vol. 6, Breaking the Bismarcks Barrier. 1950; Vol. 7, Aleutians, Gilberts, and Marshalls. 1951; Vol. 8, New Guinea and the Marianas. 1962; Vol. 12, Leyte. 1958; vol. 13, The Liberation of the Philippines: Luzon, Mindanao, the Visayas. 1959; Vol. 14, Victory in the Pacific. 1961.
- Myers, Michael W. Pacific War and Contingent Victory: Why Japanese Defeat Was Not Inevitable (UP of Kansas, 2015) 198 pp. online review.
- Okumiya, Masatake and Fuchida, Mitso. Midway: The Battle That Doomed Japan. Naval Institute Press, 1955.
- Potter, E. B. and Chester W. Nimitz. Triumph in the Pacific. Prentice Hall, 1963. Naval battles
- Potter, E. B.Yamamoto Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. 1967.
- Potter, E. B. Nimitz. Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, 1976.
- Potter, E. B. Bull Halsey Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, 1985.
- Prados, John (2012). Islands of Destiny: The Solomons Campaign and the Eclipse of the Rising Sun. Dulles, Virginia: Penguin. ISBN 978-1-101-60195-2.
- Prados, John (2016). Storm Over Leyte: The Philippine Invasion and the Destruction of the Japanese Navy. New York: Penguin. ISBN 978-0-698-18576-0.
- Prange, Gordon W. Donald Goldstein, and Katherine Dillon. At Dawn We Slept. Penguin, 1982. Pearl Harbor
- Prange, et al. Miracle at Midway. Penguin, 1982.
- Prange, et al. Pearl Harbor: The Verdict of History.
- Sarantakes, Nicholas Evan. Allies against the Rising Sun: The United States, the British Nations, and the Defeat of Imperial Japan (2009). 458 pp.
- Seki, Eiji (2007). Sinking of the SS Automedon And the Role of the Japanese Navy: A New Interpretation. University of Hawaii Press. ISBN 978-1-905246-28-1.
- Shaw, Henry, and Douglas Kane. History of U.S. Marine Corps Operations in World War II. Vol. 2, Isolation of Rabaul. Washington, D.C.: Headquarters, U.S. Marine Corps, 1963
- Shaw, Henry, Bernard Nalty, and Edwin Turnbladh. History of U.S. Marine Corps Operations in World War II. Vol. 3, Central Pacific Drive. Washington, D.C.: Office of the Chief of Military History, 1953.
- Sledge, E. B., With the Old Breed: At Peleliu and Okinawa. Presidio, 1981. Memoir.
- Toll, Ian W. Pacific Crucible: War at Sea in the Pacific, 1941–1942 W.W. Norton, (2011). ISBN 978-0393080650
- Toll, Ian W. The Conquering Tide: War in the Pacific Islands, 1942–1944, W.W. Norton, (2015). ISBN 978-0393080643
- Toll, Ian W. Twilight of the Gods: War in the Western Pacific, 1944–1945, W.W. Norton, (2020). ISBN 978-0393080650
- Weinberg, Gerhard L. A World at Arms: A Global History of World War II, Cambridge University Press. ISBN 0-521-44317-2. (2005).
- Yenne, Bill (2014). The Imperial Japanese Army: The Invincible Years 1941–42. Osprey Publishing. ISBN 978-1-78200-982-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "The Pacific War Online Encyclopedia" compiled by Kent G. Budge, 4000 short articles
- Film Footage of the Pacific War เก็บถาวร 6 พฤศจิกายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Animated History of the Pacific War เก็บถาวร 24 มิถุนายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Pacific War Series – at The War Times Journal
- Imperial Japanese Navy Page
- "Japan's War in Colour" ที่ยูทูบ