กัวลาลัมเปอร์[8] หรือ กัวลาลุมปูร์[8] (มลายู: Kuala Lumpur, ออกเสียง [ˈkualə, -a ˈlumpo(r), -ʊ(r)]) มีชื่อทางการว่า ดินแดนสหพันธ์กัวลาลัมเปอร์ หรือ ดินแดนสหพันธ์กัวลาลุมปูร์ (Wilayah Persekutuan Kuala Lumpur) และชื่อย่อว่า เคเอ็ล (KL) เป็นดินแดนสหพันธ์และเมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดโดยมีพื้นที่ 243 ตารางกิโลเมตร (94 ตารางไมล์) และประชากรโดยประมาณ 1.73 ล้านคนในปี 2016[9] หากเรียกรวมปริมณฑลกัวลาลัมเปอร์จะเรียกว่าหุบเขากลัง และเป็นเขตนครที่มีประชากรถึง 7.564 คนในปี 2018[4]

กัวลาลัมเปอร์
ดินแดนสหพันธ์กัวลาลัมเปอร์
Wilayah Persekutuan Kuala Lumpur
การถอดเสียงอื่น ๆ
 • ยาวีولايه ڤرسکوتوان کوالا لومڤور
 • จีน吉隆坡联邦直辖区
吉隆坡聯邦直轄區
 • ทมิฬகோலாலம்பூர் கூட்டரசு பிரதேசம்
บนลงล่างและซ้ายไปขวา:
ทิวทัศน์นครวามค่ำคืน และเห็นตึกแฝดเปโตรนาส, เคแอลทาวเวอร์ และ ทีอาร์เอ็กซ์ทาวเวอร์; แยกบูกิตบินตัง, ถนนเปอตาลิง, อาคารสุลต่านอับดุล ซามัดบนจัตุรัสเมอร์เดกา, มัสยิดจาเม็กตรงจุดตัดระหว่างแม่น้ำกมบักกับแม่น้ำกลัง, อนุสรณ์สถานแห่งชาติ, สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ และอิซตานาเนอการา
ธงของกัวลาลัมเปอร์
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของกัวลาลัมเปอร์
ตรา
สมญา: 
เคแอล (KL)
คำขวัญ: 
Bersedia Menyumbang Bandaraya Cemerlang
อังกฤษ: พร้อมที่จะมีส่วนร่วมพัฒนานคร
เพลง: มาจูดันเซอจะฮ์เตอรา
อังกฤษ: Progress and Prosper
แผนที่
กัวลาลัมเปอร์ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
กัวลาลัมเปอร์
กัวลาลัมเปอร์ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กัวลาลัมเปอร์
กัวลาลัมเปอร์
กัวลาลัมเปอร์ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
กัวลาลัมเปอร์
กัวลาลัมเปอร์
พิกัด: 03°08′52″N 101°41′43″E / 3.14778°N 101.69528°E / 3.14778; 101.69528
ประเทศมาเลเซีย
เขตการปกครอง
ก่อตั้ง1857[1]
ได้รับสถานะนคร1 กุมภาพันธ์ 1972
โอนสู่เขตอำนาจของสหพันธรัฐ1 กุมภาพันธ์ 1974
การปกครอง
 • ประเภทดินแดนสหพันธ์
ที่มีรัฐบาลท้องถิ่น
 • องค์กรศาลาว่าการนครกัวลาลัมเปอร์
 • นายกเทศมนตรีมาฮาดี บิน เจะ งะฮ์ (Mahadi bin Che Ngah)
พื้นที่[2]
 • ดินแดนสหพันธ์243 ตร.กม. (94 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,243.27 ตร.กม. (866.13 ตร.ไมล์)
ความสูง[3]66 เมตร (217 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด (เมอร์เดกา 118)678.9 เมตร (2,227 ฟุต)
ประชากร
 (ประมาณ ค.ศ. 2019)[5]
 • ดินแดนสหพันธ์1,782,500 คน
 • อันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น7,802 คน/ตร.กม. (20,210 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล7,564,000[4] คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล2,708 คน/ตร.กม. (7,010 คน/ตร.ไมล์)
 • เดมะนิมKL-ite (เกแอลไลต์ / เกไลต์)
ตัวชี้วัดนคร
 • HDI (2019)0.867 (สูงมาก) (ที่ 1)[6]
 • GDP (2019)244,210 ล้านริงกิต ($59,831 ล้าน) (ที่ 2)[7]
 • ต่อหัว (2019)129,472 ริงกิต (31,720 ดอลลาร์สหรัฐ) (ที่ 1)[7]
เขตเวลาUTC+8 (MST)
รหัสไปรษณีย์50000 ~ 60000
เวลากลางUTC+06:46:46
รหัสพื้นที่03
รหัสยานยนต์V และ W (ยกเว้นแท็กซี่)
HW (แท็กซี่)
ISO 3166-2MY-14
เว็บไซต์www.visitkl.gov.my
www.dbkl.gov.my/en/

กัวลาลัมเปอร์เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การเงิน เศรษฐกิจ ของประเทศมาเลเซีย เป็นที่ตั้งของรัฐสภาและอิซตานาเนอการา พระราชฐานของประมุขแห่งรัฐ กัวลาลัมเปอร์เริ่มก่อร่างขึ้นเป็นนิคมในปี 1857 ในฐานะเมืองที่เกิดขึ้นรองรับการขุดดีบุกในภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางการปกครองของรัฐเซอลาโงร์ตั้งแต่ปี 1880 ถึง 1978 กัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐมาลายาที่ซ่งต่อมาคือประเทศมาเลเซีย และคงเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลส่วนบริหารและนิติบัญญัติจนของรัฐบาลกลางกระทั่งต้นปี 1999 ซึ่งได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองไปยังปูตราจายา[10] ในขณะที่องค์การทางการเมืองบางส่วนยังคงอยู่ในกัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย[11] ตั้งอยู่ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลย์][12] นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 กัวลาลัมเปอร์เป็นที่จัดการแข่งขันกีฬาและเทศกาลวัฒนธรรมระกับนานาชาติมากมาย เช่น กีฬาจักรภพปี 1998 และซีเกมส์ 2017 กัวลาลัมเปอร์มีการพัฒนารุดหน้ามากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นที่ตั้งของอาคารแฝดที่สูงที่สุดในโลก คือ ตึกแฝดเปโตรนาส, สัญลักษณ์ของการพัฒนามาเลเซีย และเป็นที่ตั้งของเมอร์เดกา 118 อาคารสูงสุดอันดับสองของโลก

การคมนาคมในกัวลาลัมเปอร์มีทั้งระบบถนนที่ครอบคลุมและระบบขนส่งมวลชน อันประกอบด้วยเอ็มอาร์ที (MRT), แอลอาร์ที (LRT), โมโนเรล, รถไฟ, รถบัส และรถไฟเชื่อมต่อสนามบิน กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในเมืองระดับแนวหน้าในแง่ของการท่องเที่ยวและการจับจ่ายซื้อของ ในปี 2019 กัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองที่มีผู้เดินทางเข้ามามากที่สุดอันดับ 6 ของโลก[13] และยังเป็นที่ตั้งของห้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกสิบแห่ง[14]

กัวลาลัมเปอร์อยู่อันดับที่ 70 ของโลก และอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการจัดอันดับเมืองน่าอยู่อาศัยของอีคอโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต[15] กัวลาลัมเปอร์เป็นที่เก้าในกลุ่มประเทศ ASPAC และที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะศูนย์กลางนวัตกรรมชั้นนำของโลกโดย KPMG ในปี 2021[16] และในปี 2020 ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นเมืองหลวงหนังสือโลกโดยยูเนสโก[17][18]

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของกัวลาลัมเปอร์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 38.0
(100.4)
36.2
(97.2)
36.7
(98.1)
37.2
(99)
38.5
(101.3)
36.6
(97.9)
36.3
(97.3)
38.0
(100.4)
35.8
(96.4)
37.0
(98.6)
36.0
(96.8)
35.5
(95.9)
38.5
(101.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 32.0
(89.6)
32.8
(91)
33.1
(91.6)
33.1
(91.6)
33.0
(91.4)
32.8
(91)
32.8
(91)
32.3
(90.1)
32.1
(89.8)
32.0
(89.6)
31.7
(89.1)
31.5
(88.7)
32.4
(90.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 27.7
(81.9)
28.2
(82.8)
28.6
(83.5)
28.7
(83.7)
28.8
(83.8)
28.6
(83.5)
28.1
(82.6)
28.1
(82.6)
28.0
(82.4)
28.0
(82.4)
27.8
(82)
27.6
(81.7)
28.2
(82.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.4
(74.1)
23.6
(74.5)
24.0
(75.2)
24.3
(75.7)
24.6
(76.3)
24.3
(75.7)
23.8
(74.8)
23.9
(75)
23.8
(74.8)
24.0
(75.2)
23.8
(74.8)
23.6
(74.5)
23.9
(75)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 17.8
(64)
18.0
(64.4)
18.9
(66)
20.6
(69.1)
20.5
(68.9)
19.1
(66.4)
20.1
(68.2)
20.0
(68)
21.0
(69.8)
20.0
(68)
20.7
(69.3)
19.0
(66.2)
17.8
(64)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 193
(7.6)
198
(7.8)
257
(10.12)
290
(11.42)
197
(7.76)
131
(5.16)
148
(5.83)
162
(6.38)
214
(8.43)
265
(10.43)
321
(12.64)
252
(9.92)
2,628
(103.46)
ความชื้นร้อยละ 80 80 80 82 81 80 79 79 81 82 84 83 81
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 17 17 19 20 18 14 16 16 19 21 24 22 223
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 185.0 192.4 207.9 198.8 206.8 194.4 200.2 189.0 163.8 169.1 152.3 162.6 2,222.3
แหล่งที่มา 1: Pogodaiklimat.ru[19]
แหล่งที่มา 2: NOAA (sunshine hours, 1961–1990)[20]
ข้อมูลภุมิอากาศที่กัวลาลัมเปอร์
เดือน มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม ทั้งปี
ชั่วโมงรับแสงเฉลี่ยรายวัน 12.0 12.0 12.1 12.2 12.3 12.3 12.3 12.2 12.1 12.0 12.0 11.9 12.1
ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลตโดยเฉลี่ย 12 12 12 12 12 12 12 12 12 12 12 12 12
ข้อมูล: Weather Atlas[21]

ประชากร

แก้
ชาติพันธุ์ในกัวลาลัมเปอร์ – 2015 Population Quick Info[22]
กลุ่มชาติพันธุ์ ร้อยละ
มลายู
  
40.32%
จีน
  
36.90%
อินเดีย
  
8.62%
อื่น ๆ
  
0.98%
ไม่ใช่ชาวมาเลเซีย
  
13.18%

กัวลาลัมเปอร์เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศมาเลเซีย ข้อมูลเมื่อ 2016 มีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมือง 1.76 ล้านคน[23] มีความหนาแน่นประชากรที่ 6,696 คนต่อตารางกิโลเมตร (17,340 ต่อตารางไมล์) และเป็นเขตการปกครองที่หนาแน่นที่สุดของประเทศ[2] กัวลาลัมเปอร์ยังเป็นจุดศูนย์กลางของเขตปริมณฑลหุบเขากลังที่ครอบคลุมถึงเปอตาลิงจายา, กลัง, ซูบังจายา, ปูจง, ชะฮ์อาลัม และกมบัก ซึ่งข้อมูลเมื่อ 2017 มีประชากรรวมประมาณ 7.25 ล้านคน[24]

ประชากรในกัวลาลัมเปอร์ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธ์หลักสามกลุ่ม: มลายู, จีน และอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น ยูเรเชีย, กาดาซัน, อีบัน และกลุ่มชนพื้นเมืองอื่น ๆ ทั่วมาเลเซีย[25][26]

ประชากรในอดีต

แก้
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1890 20,000—    
1900 30,000+50.0%
1931 111,418+271.4%
1957 316,537+184.1%
1970 451,201+42.5%
1974 612,004+35.6%
1980 919,610+50.3%
1991 1,145,342+24.5%
2000 1,305,792+14.0%
2010 1,588,750+21.7%
2020 1,982,112+24.8%
กัวลาลัมเปอร์ได้รับสถานะดินแดนสหพันธ์ใน ค.ศ. 1974
ที่มา: [27][28][29]

ภาษาและศาสนา

แก้
ศาสนาในกัวลาลัมเปอร์ – สำมะโน ค.ศ. 2010[30]
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
46.4%
พุทธ
  
35.7%
ฮินดู
  
8.5%
คริสต์
  
5.8%
ไม่ทราบ / ไม่ระบุ
  
1.4%
ศาสนาชาวบ้านจีน
  
1%
อื่น ๆ
  
0.6%
ไม่มีศาสนา
  
0.5%

กัวลาลัมเปอร์มีผู้นับถือศาสนาหลากหลายมาก โดยมีสถานที่สักการะให้กับประชากรหลาย ๆ กลุ่ม ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู, ชุมชนมุสลิมเชื้อสายอินเดีย และมุสลิมเชื้อสายจีนจำนวนน้อย ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน, ลัทธิขงจื๊อ และลัทธิเต๋าส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ชาวอินเดียนับถือศาสนาฮินดู และมีชาวจีนและอินเดียบางส่วนที่หันไปนับถือศาสนาคริสต์ด้วย[31]

 
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: มัสยิดเนอการา, วัดเทียนโห่ว, วิหารศรีมหามาเรียมมัน, อาสนวิหารนักบูญยอห์น

กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามรัฐ/ดินแดนที่มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามน้อยกว่า 50% ส่วนอีกสองรัฐคือรัฐปีนังและรัฐซาราวัก

สถิติจากสำมะโน ค.ศ. 2010 ระบุว่าประชากรชาวจีน 87.4% ระบุตนเองว่านับถือศาสนาพุทธ โดยมีจำนวนน้อยที่ระบุตนเองว่านับถือศาสนาคริสต์ (7.9%), ศาสนาพื้นบ้านจีน (2.7%) และอิสลาม (0.6%) ประชากรชาวอินเดียส่วนใหญ่ระบุตนเองว่านับถือศาสนาฮินดู (81.1%) โดยมีจำนวนน้อยที่ระบุตนเองว่านับถือศาสนาคริสต์ (7.8%), อิสลาม (4.9%) และพุทธ (2.1%) ชุมชนบูมีปูเตอราที่ไม่ใช่ชาวมลายูส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (44.9%) โดยมีจำนวนน้อยที่ระบุตนเองว่านับถือศาสนาอิสลาม (31.2%) และพุทธ (13.5%) ส่วนชาวมลายูบูมีปูเตอราทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม[32] เนื่องจากหลักเกณฑ์ตามคำอธิบายของชาวมลายูในรัฐธรรมนูญมาเลเซียระบุว่าพวกเขาต้องนับถือศาสนาอิสลาม[33]

ภาษามาเลเซียเป็นภาษาราชการในกัวลาลัมเปอร์ นอกจากภาษามลายู ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่ผู้มีเชื้อสายอินโดนีเซียพูด เช่น มีนังกาเบา[34] และชวา พลเมืองในนครนี้สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษ และมีจำนวนมากใช้ภาษานี้เป็นภาษาแม่ โดยสำเนียงที่ใช้งานมากที่สุดคือภาษาอังกฤษแบบมาเลเซีย[35] ภาษาจีนกวางตุ้งและจีนมาตรฐานก็มีผู้พูดจำนวนมาก เพราะเป็นภาษาที่ประชากรชาวจีนพูด[36] ภาษาย่อยอีกภาษาที่มีผู้พูดจำนวนมากคือภาษาแคะ ประชากรชาวอินเดียส่วนใหญ่พูดภาษาทมิฬ และมีผู้พูดภาษาอินเดียอื่น ๆ เป็นภาษาชนกลุ่มน้อย เช่น ภาษาเตลูกู, มลยาฬัม, ปัญจาบ และฮินดี[37]

ภูมิทัศน์นคร

แก้

สถาปัตยกรรม

แก้
 
อาคารเปโตรนาส

สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของเมืองกัวลาลัมเปอร์ ได้แก่ หอคอยกัวลาลัมเปอร์ (Menara Kuala Lumpur) อาคารเปโตรนาสทาวเวอร์ (Petronas Towers) ตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจของเมือง ที่แวดล้อมด้วยสวนสาธารณะ และส่วนอาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (KLCC) อาคารเปโตรนาส เคยเป็นอาคารที่มีความสูงที่สุดในโลกในช่วง ค.ศ. 1998-2004 จนกระทั่งอาคารไทเป 101 ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ใน ค.ศ. 2004 แต่ยังคงเป็นอาคารแฝดที่มีความสูงที่สุดในโลก[38] อาคารเปโตรนาสมี 2 อาคาร นับเป็นอาคารที่สูงที่สุดอันดับ 8 และ 9 ของโลก[39]

ภาพปริทัศน์ของกัวลาลัมเปอร์

อ้างอิง

แก้
  1. "Malaya Celebrates, 1959". British Pathé. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2013. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Laporan Kiraan Permulaan 2010
  3. "Malaysia Elevation Map (Elevation of Kuala Lumpur)". Flood Map : Water Level Elevation Map. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  4. 4.0 4.1 "World Urbanization Prospects, The 2018 Revision" (PDF). UN DESA. 7 August 2019. p. 77. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  5. "Population Statistics". Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 29 December 2021.
  6. "Subnational Human Development Index (2.1) [Kuala Lumpur – Malaysia]". Global Data Lab of Institute for Management Research, Radboud University. สืบค้นเมื่อ 10 November 2021.
  7. 7.0 7.1 "Department of Statistics Malaysia Official Portal". www.dosm.gov.my. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.
  8. 8.0 8.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  9. "Federal Territory of Kuala Lumpur". Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2016.
  10. "Putrajaya – Administrative Capital of Malaysia". Government of Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2007. สืบค้นเมื่อ 11 December 2007.
  11. Jeong Chun Hai @Ibrahim, & Nor Fadzlina Nawi. (2007). Principles of Public Administration: An Introduction. Kuala Lumpur: Karisma Publications. ISBN 978-983-195-253-5
  12. Gwillim Law (30 June 2015). "Malaysia States". Statoids. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 11 December 2007.
  13. "Mastercard Destination Cities Index 2019" (PDF). MasterCard. 4 September 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
  14. Violet Kim (19 February 2014). "12 best shopping cities in the world". CNN Travel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2017. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  15. "KL is second most liveable city in Southeast Asia". The Sun. 17 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2017. สืบค้นเมื่อ 27 August 2017.
  16. "KPMG Leading Technology Innovation Hub 2021" (PDF). KPMG. 17 July 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2021. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
  17. "Kuala Lumpur named World Book Capital 2020". UNESCO. 30 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2018. สืบค้นเมื่อ 30 September 2018.
  18. "Unesco names Kuala Lumpur World Book Capital". The Straits Times. 30 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2018. สืบค้นเมื่อ 30 September 2018.
  19. "Climate of Kuala lumpur" (ภาษารัสเซีย). Weather and Climate (Погода и климат). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2018. สืบค้นเมื่อ 8 October 2013.
  20. "Kuala Lumpur Climate Normals 1961–1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
  21. "Kuala Lumpur, Malaysia – Climate data". Weather Atlas. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2017. สืบค้นเมื่อ 29 March 2017.
  22. Laporan Kajian Semula Persempadanan Mengenai Syor-Syor Yang Dicadangkan Bagi Bahagian-Bahagian Pilihan Raya Persekutuan Dan Negeri Di Dalam Negeri-Negeri Tanah Melayu Kali Keenam Tahun 2018 Jilid 1 (PDF) (Report) (ภาษามาเลย์). Suruhan Pilihanraya Malaysia. 2018. p. 174. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 April 2018. สืบค้นเมื่อ 15 April 2018.
  23. "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  24. "Kuala Lumpur Population 2017". World Population Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2017. สืบค้นเมื่อ 6 April 2017.
  25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ KEB
  26. "Kuala Lumpur Culture & Heritage". AsiaWebDirect. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2007. สืบค้นเมื่อ 4 December 2007.
  27. "TABURAN PENDUDUK MENGIKUT PBT & MUKIM 2010". Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 15 December 2017.
  28. Ian F. Shirley; Carol Neill, บ.ก. (2015). Asian and Pacific Cities: Development Patterns. Routledge. p. 84. ISBN 978-1-138-81442-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2 September 2017.
  29. Keat Gin Ooi, บ.ก. (2004). Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 1. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-770-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 September 2017.
  30. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF) (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2013. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012.
  31. "Religion by Location: Malaysia". Adherents.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2001. สืบค้นเมื่อ 15 December 2007.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  32. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF) (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Department of Statistics, Malaysia. p. 96. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 January 2013. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012.
  33. Harding, Andrew (27 July 2012). "Chapter 8 - Religion and the Constitution". The Constitution of Malaysia: A Contextual Analysis. Hart Publishing. ISBN 9781847319838. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2020. สืบค้นเมื่อ 7 December 2019.
  34. Aslinda, Noviatri, Reniwati; The Trace of Minangkabau-Wise in Malaysian Language, 2015
  35. Lam Seng Fatt (15 March 2011). Insider's Kuala Lumpur (3rd Edn): Is No Ordinary Travel Guide. Open Your Eyes to the Soul of the City (Not Just the Twin Towers ...). Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. pp. 9–. ISBN 978-981-4435-39-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2016. สืบค้นเมื่อ 29 October 2015.
  36. "Kuala Lumpur Culture & Heritage: Traditions, Races, People". Kuala Lumpur Hotels & Travel Guide. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2007. สืบค้นเมื่อ 16 February 2008.
  37. Ziauddin Sardar (2000). The Consumption of Kuala Lumpur. Reaktion Books. pp. 120–. ISBN 978-1-86189-057-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2016. สืบค้นเมื่อ 29 October 2015.
  38. [1]Petronas Towers
  39. [2]World's tallest buildings - Top 200

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้