มัสยิดจาเม็ก

(เปลี่ยนทางจาก Jamek Mosque)

3°8′56.06″N 101°41′45.46″E / 3.1489056°N 101.6959611°E / 3.1489056; 101.6959611

มัสยิดสุลต่านอับดุล ซอมัด จาเม็ก
Masjid Jamek Sultan Abdul Samad
แผนที่
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
หน่วยงานกำกับดูแลอิหม่าม: อุซตัซ ฮาจี ยะฮ์ยา มะฮ์ยุดดิน บิน ดาตุก ฮาจี อูโตะฮ์ ไซด์ (ค.ศ. 2017–ปัจจุบัน)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
ผู้บริหารสภาอิสลามกัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรม
รูปแบบอิสลาม, มัวร์, โมกุล
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2452
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ1,000 คน[1]
หอคอย2

มัสยิดจาเม็ก หรือชื่อทางการว่า มัสยิดสุลต่านอับดุล ซามัด จาเม็ก (มลายู: Masjid Jamek Sultan Abdul Samad, ยาวี: مسجد جامع سلطان عبدالصمد) เป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย[2] มัสยิดนี้ได้รับการออกแบบโดยอาร์เทอร์ เบนิสัน ฮับแบ็ก (Arthur Benison Hubback) และสร้างใน ค.ศ. 1909 โดยสร้างใกล้กับแม่น้ำกลังและแม่น้ำกมบัก

คำว่า "จาเม็ก" ในภาษามลายูมีความหมายเดียวกันกับในภาษาอาหรับ (جامع) ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่ผู้คนมาสักการะ[3] และคนในพื้นที่เรียกมัสยิดนี้ว่า "มัสยิดวันศุกร์"[4]

ประวัติ แก้

 
มัสยิดจาเม็กมองผ่านทางแม่น้ำกมบักและแม่น้ำกลัง

มัสยิดนี้ถูกสร้างขึ้นบนสุสานเก่า[5][6] ถึงแม้ว่าจะมีมัสยิดอื่นที่สร้างบนถนนชวาก็ตาม แต่มัสยิดจาเม็กเป็นมัสยิดแรกที่สร้างในตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ โดยวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1908 และเปิดมัสยิดในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1909[7][8] โดยใช้งบประมาณ 32,625 ดอลลาร์ ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาจากการสนับสนุนของรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ[3] มัสยิดจาเม็กทำหน้าที่เป็นมัสยิดหลักของกัวลาลัมเปอร์จนกระทั่งมีการสร้างมัสยิดเนอการาใน ค.ศ. 1965

หลังจากนั้นจึงมีการขยายมัสยิด โดยสร้างทุ่งเปิดโล่งไว้ด้านนอก[9] และใน ค.ศ. 1993 โดมหนึ่งถล่มลงมาเพราะรับน้ำฝนไม่ไหว ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมแล้ว[7]

ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2017 มัสยิดนี้เปลี่ยนชื่อเป็นมัสยิดสุลต่านอับดุล ซามัด จาเม็ก ตามชื่อบรรพบุรุษของสุลต่านชาราฟุดดินแห่งรัฐเซอลาโงร์[10]

รูปแบบ แก้

 
มัสยิดส่วนเดิม (ซ้าย) และส่วนต่อเติม (ขวา) ใช้สีอิฐไม่เหมือนกัน

ตัวมัสยิดมีรูปร่างสถาปัตยกรรมแบบมัวร์, อินโด-ซาราเซนิก หรือโมกุล[11] อาร์เทอร์ เบนิสัน ฮับแบ็ก ได้สร้างสิ่งก่อสร้างอื่นในแบบเดียวกัน เช่น สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ และมัสยิดอุบูเดียฮ์ที่กัวลากังซาร์ ตัวมัสยิดมีหออะซานอยู่ 2 หอ[9][12] และมีโดม 3 โดม โดยโดมที่ใหญ่ที่สุดมีความสูงถึง 21.3 เมตร (70 ฟุต)[3]

ใกล้มัสยิดมีสถานีรถไฟรางเบามัสยิดจาเม็กที่ให้บริการกับสายเกอลานาจายา, สายศรีเปอตาลิง และสายอัมปัง โดยที่สถานีตั้งอยู่ระหว่างไชนาทาวน์ กับลิตเทิลอินเดีย ใกล้ ๆ สถานีมีจัตุรัสเมอร์เดกาอยู่ด้วย

ดูเพิ่ม แก้

ภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Tariq, Qishin (23 June 2017). "KL's oldest mosque renamed Masjid Jamek Sultan Abdul Samad". The Star Online. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
  2. "Jamek Mosque". Tourism Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 25 May 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Masjid Jamek, a beautiful mosque surrounded by the city". Malaysia Travel Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-19. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
  4. "Masjid Jamek: Friday Mosque". History Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
  5. J.M. Gullick (2000). A History of Kuala Lumpur 1856-1939. The Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. p. 164.
  6. Bavani M (13 April 2016). "Rock-solid proof of 200-year-old graves". The Star.
  7. 7.0 7.1 Lam Seng Fatt (15 October 2011). Insider's Kuala Lumpur (3rd Edn): Is No Ordinary Travel Guide. Open Your Eyes to the Soul of the City (3rd Revised ed.). Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. pp. 38–39. ISBN 9789814435390.
  8. "Masjid warga kota". Utusan Online. 27 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
  9. 9.0 9.1 Audrey Southgate, Gregory Byrne Bracken (15 January 2014). A Walking Tour Kuala Lumpur (2nd ed.). Marshall Cavendish Editions. ISBN 9789814516945.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. QISHIN TARIQ (2017-06-23). "KL's oldest mosque renamed Masjid Jamek Sultan Abdul Samad". The Star.
  11. Malaysian Institute of Architects (2007). Architectural Heritage: Kuala Lumpur - Pre-Merdeka. Pertubuhan Akitek Malaysia. p. 20.
  12. "Hubback Walk". Museum Volunteers, JMM.