ปูตราจายา
ปูตราจายา หรือชื่อทางการ ดินแดนสหพันธ์ปูตราจายา (มลายู: Wilayah Persekutuan Putrajaya) เป็นเมืองใหม่และศูนย์กลางการปกครองของประเทศมาเลเซีย มีการย้ายที่ตั้งรัฐบาลจากกัวลาลัมเปอร์มายังปูตราจายาเมื่อปี ค.ศ. 1999 เนื่องจากความแออัดในเมืองหลวง โดยที่กัวลาลัมเปอร์ยังคงเป็นเมืองหลวงของมาเลเซีย และพระที่นั่งของสมเด็จพระราชาธิบดี ที่ตั้งของรัฐสภามาเลเซีย สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศทุกแห่ง และศูนย์กลางทางการค้าและการเงินของประเทศ ยังคงอยู่ในกัวลาลัมเปอร์ ปูตราจายาเป็นแนวความคิดของนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้รับฐานะเป็นดินแดนสหพันธ์แห่งที่สามของมาเลเซียเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 ถัดจากกัวลาลัมเปอร์ใน ค.ศ. 1974 และลาบวนใน ค.ศ. 1984[4]
ปูตราจายา ปรังเบอซาร์ | |
---|---|
ดินแดนสหพันธ์ปูตราจายา Wilayah Persekutuan Putrajaya | |
การถอดเสียงอักษรอื่น ๆ | |
• ยาวี | ڤوتراجاي |
• จีน | 布城 |
• ทมิฬ | புத்ராஜெயா Putrājāyā (ทับศัพท์) |
แถวบนจากซ้ายไปขวา: มัสยิดปูตราและเปอร์ดานาปูตรา, อาคารกระทรวงสาธารณสุข แถวล่างจากซ้ายไปขวา: อาคารกระทรวงการคลัง, อาคารสูงของกระทรวงต่าง ๆ, ภาพถ่ายมุมสูงของปูตราจายาเขต 1 | |
คำขวัญ: "Bandar raya Taman, Bandar raya Bestari" ("นครสวน, นครอัจฉริยะ") | |
พิกัด: 02°55′48″N 101°41′24″E / 2.93000°N 101.69000°E | |
ประเทศ | มาเลเซีย |
ตั้งถิ่นฐาน | ป. ค.ศ. 1921 |
จัดตั้งนคร | 19 ตุลาคม ค.ศ. 1995 |
เปลี่ยนผ่านจากรัฐเซอลาโงร์เป็นดินแดนสหพันธ์ | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 |
การปกครอง | |
• ประเภท | รัฐบาลกลางบริหารโดยตรง |
• ปกครองโดย | บริษัทปูตราจายา |
• ประธาน | Muhammad Azmi Mohd Zain |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 49 ตร.กม. (19 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2020)[2] | |
• ทั้งหมด | 109,202 คน |
• ความหนาแน่น | 2,200 คน/ตร.กม. (5,800 คน/ตร.ไมล์) |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ | |
• HDI (2019)[3] | 0.856 (สูงมาก) (ที่ 3) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 62xxx |
รหัสโทรศัพท์ | +603-88 |
รหัส ISO 3166 | MY-16 |
เวลาสุริยะเฉลี่ย | UTC+06:46:40 |
ป้ายทะเบียนยานพาหนะ | F และ Putrajaya |
ระบบขนส่งมวลชนเร็ว | |
เว็บไซต์ | www |
ศัพทมูลวิทยา
แก้ชื่อปูตราจายาตั้งตามนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน ปูตรา อัล-ฮัจ พื้นที่ของปูตราจายาเป็นดินแดนแทรก ล้อมรอบด้วยอำเภอเซอปังของรัฐเซอลาโงร์ ชื่อของปูตราจายามาจากภาษาสันสกฤต ที่แผลงเป็นภาษามลายู โดย "ปูตรา" (पुत्र) แปลว่า "บุตรชาย" และ "จายา" (जया) แปลว่า "ความสำเร็จ" หรือ "ชัยชนะ"[5]
การออกแบบ
แก้ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ปูตราจายาเป็นเมืองใหม่ ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย การพัฒนาของปูตราจายาเริ่มขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยเกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัดคนที่ 4 และคนที่ 7 ที่จะสร้างเมืองเพื่อเป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ อยู่ทางตอนใต้ของกัวลาลัมเปอร์ มีพื้นที่ราว 4,932 เฮกเตอร์ ประชากรคาดการณ์ ราว 350,000 คน การใช้ประโยชน์ที่ดินมีการวางผังอย่างเป็นสัดส่วน ดังนี้
- ราชการ 5.3%
- พานิชยกรรม 2.9%
- ที่พักอาศัย 25.8%
- วัฒนธรรม 2%
- สาธารณประโยชน์ 10.1%
- สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ 18.2%
- พื้นที่สีเขียว 37.5%
ส่วนประกอบสำคัญของเมืองได้แก่ทะเลสาบที่สร้างขึ้นโดยการขุด จึงทำให้เมืองปูตราจายามีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และมีสะพานที่ออกแบบอย่างสวยงามถึง 5 สะพานได้แก่ Putra Bridge, Seri Perdana Bridge, Seri bakti Bridge, Seri Gemilang Bridge, และ Seri Wawasan Bridge
ปูตราจายาเป็นความตั้งใจของผู้นำมาเลเซียที่ต้องการจะเนรมิตเมืองใหม่ขึ้นมา เมื่อปี 2538 โดยกำหนดแผนการพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะ 1A แล้วเสร็จในปี 2542 ระยะ 1B แล้วเสร็จในปี 2544 และระยะ 2 แล้วเสร็จในปี 2553 เพื่อเป็นศูนย์การบริหารและปกครอง แยกออกจากกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวง เพื่อต้องการควบคุมปัญหาการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรใน เมืองหลวงด้วย นอกจากนี้ จะเป็นความพร้อมในทุก ๆ ด้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคนมาเลเซีย
ปูตราจายาอยู่ห่างจากกัวลาลัมเปอร์ไปทางใต้ ประมาณ 25 กม. ห่างจากท่าอากาศยานระหว่างประเทศกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นสายการบินแห่งใหม่ที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ ประมาณ 20 กม. มีเส้นทางคมนาคมเข้าออกหลายเส้นทางในระดับทางด่วน และอาจกล่าวได้ว่าเป็นเมืองที่มีการเข้าออกได้สะดวกที่สุดในประเทศอีกด้วย
การพัฒนาโครงการประกอบด้วยส่วนของอาคารที่ทำการหลักของรัฐบาลอาคารของกระทรวงต่าง ๆ สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ศูนย์การค้า สนามกีฬา และที่อยู่อาศัยของข้าราชการและพนักงาน เป็นต้น
ปูตราจายาครอบคลุมพื้นที่ราว 4,581 เฮกตาร์ โดยภูมิทัศน์ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ความพยายามสร้างให้เป็น “เมืองในสวน” จึงมีที่โล่งแจ้งและสวนสาธารณะอยู่ทั่ว ๆ ไป และกว่า 600 เฮคตาร์ จะเป็นส่วนของภูมิทัศน์หลักที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์
ปูตราจายาเป็นเมืองหนึ่งที่มีการวางแผนด้านนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่รัดกุมในการกระจายการใช้พื้นที่ ระบบขนส่ง การใช้ประโยชน์และโครงสร้างพื้นฐาน การอยู่อาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศ สวนสาธารณะ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆ
ถนนหลักมีความยาว 4.2 กม. สามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับการพาเหรด สวนสนาม ในงานรัฐพิธีและการเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างสบายและสวยงาม
ในส่วนของอาคารที่เป็นจุดเด่นของเมืองอยู่ที่ตึกซึ่งก่อสร้างอยู่บนเนินสำหรับเป็นที่ทำการของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี หรือทำเนียบรัฐบาล เรียกว่า เปอร์ดานาปูตรา ส่วนยอดบนมีลักษณะคล้ายรูปโดมของมัสยิด เป็นตึกสูง 6 ชั้น แยกเป็น 3 ปีก โดยที่ทำการของนายกรัฐมนตรีอยู่ตรงกลางตึกซึ่งด้านบนเป็นรูปโดมแก้วโมเสค ส่วนปีกด้านตะวันตกใช้เป็นที่ทำงานของรองนายกรัฐมนตรี ส่วนปีกด้านตะวันออกเป็นที่ทำงานของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สถาปัตยกรรมของอาคารได้รูปแบบ Eclectic ที่มีอิทธิพลจากตะวันตกผสมผสานกับรูปแบบของมลายูและอิสลาม หลังคาสีเขียว
จากทำเนียบรัฐบาลมองออกมาทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของมัสยิดปูตรา (Masjid Putra) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมมัสยิดสีชมพูลอยอยู่บนแหลมปูตราจายา จุดที่สูงที่สุดของมัสยิด มีความสูงเทียบเท่าตึกประมาณ 25 ชั้น
เมืองคู่แฝดของปูตราจายา คือ ไซเบอร์จายา
เมืองพี่น้อง
แก้ปูตราจายามีเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้:
- ไซเบอร์จายา ประเทศมาเลเซีย
- อัสตานา ประเทศคาซัคสถาน[6]
- นครเซจง ประเทศเกาหลีใต้[7]
ภูมิอากาศ
แก้ปูตราจายามีสภาพภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Af) ซึ่งมีฝนตกหนักทั้งปี และอุณหภูมิสูงตลอดปี เมืองนี้ไม่มีฤดูแล้งแท้จริง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 27.1 °C และทั้งปีมีฝนตกโดยเฉลี่ย 2,307 มิลลิเมตร[8]
ข้อมูลภูมิอากาศของปูตราจายา | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.1 (88) |
31.9 (89.4) |
32.4 (90.3) |
32.2 (90) |
32.0 (89.6) |
31.7 (89.1) |
31.4 (88.5) |
31.3 (88.3) |
31.3 (88.3) |
31.2 (88.2) |
31.1 (88) |
31.0 (87.8) |
31.55 (88.79) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 26.5 (79.7) |
27.1 (80.8) |
27.4 (81.3) |
27.6 (81.7) |
27.7 (81.9) |
27.4 (81.3) |
27.0 (80.6) |
27.0 (80.6) |
26.9 (80.4) |
26.9 (80.4) |
26.9 (80.4) |
26.7 (80.1) |
27.09 (80.77) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 22.0 (71.6) |
22.3 (72.1) |
22.5 (72.5) |
23.1 (73.6) |
23.4 (74.1) |
23.1 (73.6) |
22.6 (72.7) |
22.8 (73) |
22.6 (72.7) |
22.7 (72.9) |
22.8 (73) |
22.4 (72.3) |
22.69 (72.85) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 168 (6.61) |
150 (5.91) |
227 (8.94) |
250 (9.84) |
188 (7.4) |
118 (4.65) |
121 (4.76) |
154 (6.06) |
176 (6.93) |
254 (10) |
268 (10.55) |
233 (9.17) |
2,307 (90.83) |
แหล่งที่มา: Climate-Data.org[9] |
ภาพ
แก้-
ปูตราจายา
-
มัสยิดปูตรา ในปูตราจายา
อ้างอิง
แก้- ↑ "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
- ↑ "Malaysia's population stood at 32.6 million in Q4 2018". The Borneo Post. 2018. สืบค้นเมื่อ 12 February 2019.
- ↑ "Subnational Human Development Index (2.1) [Sabah – Malaysia]". Global Data Lab of Institute for Management Research, Radboud University. สืบค้นเมื่อ 12 November 2018.
- ↑ Landau, Esther (2020-09-25). "NST175: From Prang Besar to Putrajaya | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
- ↑ "Fanciful origins of Malaysian town names". The Star (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
- ↑ "Международный авторитет Астаны повышают города-побратимы". inform.kz (ภาษารัสเซีย). KazInform. 6 July 2016. สืบค้นเมื่อ 30 November 2020.
- ↑ Yeen, Oh Ing. "Closer ties between Putrajaya and Sejong, Korea - Community | The Star Online". สืบค้นเมื่อ 2017-02-13.
- ↑ "Putrajaya climate: Average Temperature, weather by month, Putrajaya weather averagesg". En.climate-data.org. สืบค้นเมื่อ 14 December 2021.
- ↑ "Climate: Putrajaya". Climate-Data.org. สืบค้นเมื่อ July 30, 2020.
- ทั่วไป
- "Putrajaya presentation". Yangsquare.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2013. สืบค้นเมื่อ 22 January 2014.
อ่านเพิ่ม
แก้- King, Ross: Kuala Lumpur and Putrajaya: Negotiating Urban Space in Malaysia, Nias Press, 2008
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว ปูตราจายา จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการ