ภาษามลยาฬัม [มะ-ละ-ยา-ลำ] (มลยาฬัม: മലയാളം, อักษรโรมัน: Malayāḷam, แม่แบบ:IPA-ml) เป็นภาษาราชการของรัฐเกราลาทางภาคใต้ของอินเดีย มีผู้พูดประมาณ 36 ล้านคน และมีผู้พูดในเกาะลักษทวีปด้วย จัดอยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน ใกล้เคียงกับภาษาทมิฬ เขียนด้วยอักษรมลยาฬัม

ภาษามลยาฬัม
malayāḷaṁ
മലയാളം, มลยาฬํ
มลยาฬัม ในอักษรมลยาฬัม
ออกเสียงแม่แบบ:IPA-ml; pronunciation
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาครัฐเกรละที่มีชุมชนที่ติดกับอำเภอ Kanyakumari ของรัฐทมิฬนาฑู, ลักษทวีปและ Mahé (ปุฑุเจรี)
ชาติพันธุ์ชาวมลยาฬัม
จำนวนผู้พูด35 ล้านคน (ในอินเดีย)  (2011)[1][2][3][4]
ภาษาที่สอง: 700,000[3]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
ผู้วางระเบียบKerala Sahitya Akademi, รัฐบาลรัฐเกรละ
รหัสภาษา
ISO 639-1ml
ISO 639-2mal
ISO 639-3mal
Linguasphere49-EBE-ba
ผู้พูดภาษามลยาฬัม บันทึกในประเทศแอฟริกาใต้

ภาษามลยาฬัมจัดอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนใต้ คาดว่ามีกำเนิดร่วมกับภาษาทมิฬเมื่อราว พ.ศ. 1400 ก่อนจะแยกออกเป็นอีกภาษาหนึ่ง พัฒนาการของภาษาในช่วงแรกได้รับอิทธิพลจากภาษาทมิฬมาก การติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับและเคยอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส ทำให้ได้รับอิทธิพลของภาษากลุ่มโรมานซ์ เซมิติกและอินโด-อารยันเข้ามา ซึ่งอิทธิพลจากภาษาภายนอกเหล่านี้จะต่างกันไปในหมู่ผู้พูดที่นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามและศาสนาฮินดู

พัฒนาการ

แก้

คำว่ามลยาฬัมเกิดจากคำในภาษาทมิฬสองคำคือมาไล แปลว่าภูเขา และอาฬัมแปลว่าบริเวณ ซึ่งหมายถึงบริเวณภูเขา จุดกำเนิดของภาษามลยาฬัมไม่ว่าจะในฐานะสำเนียงของภาษาทมิฬหรือแตกออกมาจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมโดยอิสระ ได้มีการโต้แย้งกันในหมู่นักภาษาศาสตร์ Robert Caldwell กล่าวว่า ภาษามลยาฬัมแยกออกมาจากภาษาทมิฬคลาสสิก หลังจากที่ยืมคำจำนวนมากจากภาษาสันสกฤต และสูญเสียการลงท้ายเกี่ยวกับบุคคลของกริยา อย่างไรก็ตาม ในพุทธศตวรรษที่ 18 ได้พบการเขียนภาษามลยาฬัมซึ่งมีความแตกต่างจากภาษาทมิฬ บทกวีที่ชื่อรมชริตัมมีอายุย้อนหลังไปถึงพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสฤต รูปแบบการเขียนที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมาก พบในพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งใช้คำศัพท์ที่มาจากคัมภีร์ปุราณะ

ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ถุนชัถถุ รมนุชัน เอซุถาชัน เขียนเอกสารฉบับแรกที่ใช้อักษรครันถะ-มลยาฬัม ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของภาษามลยาฬัม และใช้ในการแปลรามายณะและมหาภารตะมาเป็นภาษามลยาฬัม

ภาษามลยาฬัมอยู่ในกลุ่มภาษาดราวิเดียนใต้เช่นเดียวกับภาษาทมิฬ ภาษาโกทวะ และภาษาตุฬุ ส่วนใหญ่เชื่อว่าภาษาทมิฬดั้งเดิมได้แยกออกมาเป็นภาษาทมิฬและภาษามลยาฬัม ต่อมา ใชนช่วงที่รัฐเกรละมีความโดดเด่นทางสังคมและการเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับ รวมทั้งการรุกรานของโปรตุเกส ทำให้ภาษามลยาฬัมได้รับอิทธิพลจากกล่มภาษาโรมานซ์ กลุ่มภาษาเซมิติก และกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน และทำให้ภาษาที่ใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาเชน คริสต์ อิสลามและยูดายมีความแตกต่างกัน

ที.เค. กฤษณะ เมนน ได้แบ่งยุคของภาษามลยาฬัมออกเป็น 4 ยุคคือ

  1. การินทมิฬ เมื่อราว 2,457 ปีก่อนพุทธศักราชจนถึง พ.ศ. 443 ส่วนใหญ่เหมือนกับภาษาทมิฬ ยังไม่รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤต
  2. ภาษามลยาฬัมโบราณ เมื่อประมาณ 443 – 868 ภาษามลยาฬัมได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤต และยืมคำจากภาษาสันสกฤตมาเป็นจำนวนมาก มีการลงท้ายกริยาด้วยบุคคลซึ่งขึ้นกับเพศและจำนวน เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมี
  3. ภาษามลยาฬัมยุคกลาง พ.ศ. 868 – 1968 เป็นยุคที่ศาสนาเชนมีอิทธิพลต่อภาษามาก
  4. ภาษามลยาฬัมสมัยใหม่ ตั้งแต่พ.ศ. 1968 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่ภาษามลยาฬัมเป็นเอกเทศจากภาษาทมิฬและภาษาสันสกฤต ซึ่งแบ่งย่อยเป็นช่วงก่อนและหลังการเข้ายึดครองของอังกฤษ

มิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้ริเริ่มการพิมพ์ในรัฐเกรละ และต่อมาศาสนาคริสต์ได้นำภาษามลยาฬัมไปใช้ในทางศาสนาแทนภาษาซีเรียค ดอกทรินา คริสตัมถูกแปลเป็นภาษามลยาฬัมและตีพิมพ์โดยชาวโปรตุเกสเมื่อ พ.ศ. 2121 ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่ตีพิมพ์ในรัฐเกรละ การสร้างตัวพิมพ์อักษรมลยาฬัมเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2364 หนังสือพิมพ์ภาษามลยาฬัมฉบับแรกชื่อ รัชยะ สมชรัม ตีพิมพ์โดยมิชชันนารีชาวเยอรมันเมื่อ พ.ศ. 2390

พัฒนาการของวรรณคดี

แก้

เอกสารที่เขียนด้วยอักษรมลยาฬัมที่เก่าที่สุดคือจารึกวซับปัลลิอายุราว พ.ศ. 1373 วรรณคดีในยุคแรก ๆ ของภาษานี้ได้แก่เพลงยุคคลาสสิกที่เรียกนาทัน ปาตตุ เพลงพื้นบ้านที่ใช้คำศัพท์แบบพื้นบ้าน และมนิปรวลัมที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤต กวีนิพพนธ์ภาษามลยาฬัมเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25

สัทวิทยา

แก้

สระ

แก้

ภาษามลยาฬัมได้ยืมสระประสม /äu/ (ഔ) และ /ai/ (ഐ) มาจากภาษาสันสกฤต โดยส่วนใหญ่พบในคำยืมจากภาษาสันสกฤต

ไวยากรณ์

แก้

โครงสร้างประโยคของภาษามลยาฬัมเป็นแบบประธาน-กรรม- กริยา เช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ[7] คุณศัพท์และคำแสดงความเป็นเจ้าของนำหน้าคำนาม มีการกทางไวยากรณ์ 6[8]-7[9] การก คำกริยาเป็นไปตามกาล มาลาและเป้าหมาย แต่ไม่ผันตามบุคคล เพศ หรือจำนวน ยกเว้น รูปแบบโบราณหรือในกวีนิพนธ์

ระบบการเขียน

แก้
 
ป้ายเขียนด้วยอักษรมลยาฬัม
 
อัลกุรอ่านแปลเป็นภาษามลยาฬัม เขียนด้วยอักษรอาหรับ

ในอดีตที่ผ่านมามีอักษรหลายชนิดใช้เขียนภาษามลยาฬัมได้แก่ อักษรวัตเตซุถุ อักษรโกเลซุถุ และอักษรมลยาฬัม จัดอยู่ในกลุ่มอักษรครันถะซึ่งเป็นรูปแบบของอักษรพราหมีที่แพร่หลายทางตอนใต้ และต่อมาได้พัฒนามาเป็นอักษรมลยาฬัมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

อักษรมลยาฬัมมี 53 ตัว แบ่งเป็นสระ 16 ตัวและพยัญชนะ 37 ตัว รูปแบบดั้งเดิมของการเขียนถูกแทนที่ด้วยรูปแบบใหม่ที่ประดิษฐ์ขึ้นใน พ.ศ. 2524 ซึ่งมีการลดรูปพยัญชนะที่เคยมีแตกต่างกันถึง 900 แบบจนน้อยกว่า 90 แบบ ทำให้สามารถพิมพ์ด้วยอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ดีดได้ ภาษามลยาฬัมเคยเขียนด้วยอักษรอื่น เช่น อักษรอาหรับ อักษรซีเรียค [10][11][12] และอักษรละตินแต่ไม่เป็นที่นิยม อักษรอาหรับพบที่มัดดารอซะฮ์และหมู่เกาะลักษทวีป[13][14]

สำเนียงและอิทธิพลจากภายนอก

แก้

อิทธิพลของภาษาสันสกฤตพบมากในรูปแบบมาตรฐานของภาษามลยาฬัมที่ใช้ในวรรณคดี คำยืมและอิทธิพลของภาษาฮีบรูและภาษาซีเรียครวมทั้งภาษาลาดิโนพบมากในภาษามลยาฬัมของชาวยิว ส่วนในชุมชนชาวคริสต์จะพบอิทธิพลของภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกส ภาษาซีเรียคและภาษากรีก ส่วนชุมชนของชาวมุสลิมจะพบอิทธิพลของภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย สำเนียงของชาวมุสลิมที่รู้จักกันดีคือสำเนียงมัปปิลาที่พูดในบริเวณมาลาบาร์ของรัฐเกรละ ส่วนสำเนียงอื่น ๆ จะพบทางเหนือของรัฐเกรละ

อ้างอิง

แก้
  1. "Census of India Website : Office of the Registrar General & Census Commissioner, India". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2018. สืบค้นเมื่อ 26 December 2019.
  2. Johnson, Todd M.; Grim, Brian J. (2013). "Chapter 1. Global Religious Populations, 1910–2010". The World's Religions in Figures: An Introduction to International Religious Demography (PDF) (1st ed.). John Wiley & Sons, Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 2022-01-08.
  3. 3.0 3.1 ภาษามลยาฬัม ที่ Ethnologue (22nd ed., 2019)
  4. Statement 1: Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2011". www.censusindia.gov.in. Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. [1] เก็บถาวร 14 พฤศจิกายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "Dravidian". Ethnologue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2017.
  6. Official languages, UNESCO, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2005, สืบค้นเมื่อ 10 May 2007
  7. "Wals.info". Wals.info. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
  8. Asher, R. E. and Kumari, T. C. (1997). Malayalam. Routledge Pub.: London.
  9. http://www.jaimalayalam.com/papers/socialCaseMalayalam05.pdf
  10. Suriyani Malayalam, Nasrani Foundation
  11. A sacredlanguage is vanishing from State เก็บถาวร 2008-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Hindu
  12. Prayer from the Past, India Today
  13. Gaṅgopādhyāẏa, Subrata (2004). Symbol, Script, and Writing: From Petrogram to Printing and Further. Sharada Pub. House. p. 158.
  14. "Education in Lakshadweep – Discovering the past chapters". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-05. สืบค้นเมื่อ 2013-12-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้