วัดเทียนโห่ว
วัดเทียนโห่ว (จีน: 乐圣岭天后宫/樂聖嶺天后宮, ทับศัพท์เป็น Thean Hou Temple) หรือ วัดทินเห่า เป็นวัดศาสนาพื้นบ้านจีนบูชาม่าโจ้ว ตั้งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย[2] วัดมีเนื้อที่ 1.67 เอเคอร์ (6,758 ตารางเมตร) บนเขารอบซันไฮต์ (Robson Heights) ในโลโรงเบลลามี (Lorong Bellamy) เหนือถนนซาเย็ด ปูตรา[3] วัดสร้างแล้วเสร็จในปี 1987 และเปิดอย่างเป็นทางการในปี 1989[1][2] วัดนี้สร้างขึ้นโดยชุมชนชาวไหหลำที่อาศัยในมาเลเซียบนพื้นที่ของสมาคมไหหลำเซลาโงร์และเขตสหพันธรัฐ (Selangor and Federal Territory Hainan Association; มาเลย์: Hainan Selangor and Wilayah Persekutuan; จีน: 雪隆海南会馆/雪隆海南會館) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4]
วัดเทียนโห่ว เยฺว่เชี่ยงหฺลิ่งเทียนโห่วกง | |
---|---|
ฟาซาดหน้าของโถงหลักของวัดเทียนโห่ว | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เซอปูเตห์, กัวลาลัมเปอร์ |
ประเทศ | มาเลเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 3°7′18″N 101°41′16″E / 3.12167°N 101.68778°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | วัดจีน |
เริ่มก่อตั้ง | 1981 |
เสร็จสมบูรณ์ | 1987[1] |
เว็บไซต์ | |
www.hainannet.com.my |
วัดเทียนโห่ว | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 天后宫 | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
โถงของวัดประกอบด้วยแท่นบูชาสามแท่นตามเทพเจ้าทั้งสามองค์[3] โดยทางขวาเป็นของพระโพธิสัตว์กวนอิม, ตรงกลางเป็นของม่าโจ้ว และทางซ้ายเป็นของจุ้ยบ้วยเนี้ย[3] นอกจากนี้ตรงกลางของโถงยังมีจุดบริการเสี่ยงเซียมซี ถึงแม้วัดนี้เป็นวัดม่าโจ้ว แต่ในปัจจุบันผู้คนนิยมบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิมในวัดนี้เช่นกัน[5]
ประวัติศาสตร์
แก้วัดเริ่มก่อสร้างในปี 1981 แล้วเสร็จในปี 1987 ด้วยมูลค่าก่อสร้าง 17 ล้านริงกิต[1][2] เปิดสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กันยายน 1989[2] โดยในวันที่ 16 พฤศจิกายน 1985 ได้อัญเชิญม่าโจ้วประดิษฐานในวัด, ในวันที่ 19 ตุลาคม 1986 ได้อัญเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิมประดิษฐานในวัด และในวันที่ 16 พฤศจิกายน 1986 ได้อัญเชิญจุ้ยบ้วยเนี้ยประดิษฐานในวัด
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Thean Hou Temple kick-starts CNY celebrations with record-breaking artworks". The Sun. 28 January 2017. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
The Thean Hou Temple is a six-tiered temple to the Chinese sea goddess Mazu. Costing RM7 million, the temple was completed in 1987 and officially opened in 1989. About 80,000 visitors, both local and foreign come to the temple during the Chinese New Year period.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Thean Hou Temple". VisitKL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Chap Goh Mei". Tourism Malaysia. 4 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
Located on top of Robson Hill off Jalan Syed Putra, its architecture will interest visitors, particularly tourists. Every year, thousands visit the temple to offer prayers to the three deities: the Goddess of the Seas (Thean Hou), the Goddess of the Waterfront (Swei Mei) and the Goddess of Mercy (Kuan Yin). Before leaving the temple, remember to get some souvenirs from the souvenir shops at the lowest level.
- ↑ "Mid-Autumn Celebration at Thean Hou Temple". Taiwan Buddhist Tzu Chi Foundation Malaysia. 30 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-09. สืบค้นเมื่อ 9 March 2019.
- ↑ Lonely Planet; Simon Richmond; Isabel Albiston (1 June 2017). Lonely Planet Kuala Lumpur, Melaka & Penang. Lonely Planet Global Limited. pp. 223–. ISBN 978-1-78701-060-4.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Thean Hou Temple
- เว็บไซต์ทางการ