ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (อังกฤษ: Great Depression) เป็นภาวะช็อกทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างเห็นได้ชัดหลังจากราคาหุ้นในสหรัฐอเมริการ่วงลงอย่างมาก[1] โรคระบาดทางการเงินเริ่มขึ้นในราวเดือนกันยายนและนำไปสู่การพังทลายของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในวันที่ 24 ตุลาคม (พฤหัสทมิฬ)[2]

ไมแกรนต์มาเตอร์ ภาพถ่ายโดย Dorothea Lange
ความวุ่นวายในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากเหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทล่ม

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็เป็นระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้เพราะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงการสร้างภาพแก่นักลงทุนในแต่ละปีหุ้นมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 22 ดัชนีหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจาก 100 ใน ค.ศ. 1926 เป็น 225 ใน ค.ศ. 1929 ทำให้คนหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมาก เพราะหวังผลกำไรในระยะเวลาอันสั้นแต่เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเริ่มประสบปัญหาเพราะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง การกู้ยืมมีมากและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ความต้องการในสินค้าเริ่มลดลงจนทำให้ผู้ประกอบการงดลงทุนเพราะเกรงว่าสินค้าที่ผลิตจะจำหน่ายไม่หมด

ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 เป็นต้นมา ราคาหุ้นจึงแกว่งตัวขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างรุนแรง นักธุรกิจและธนาคารซึ่งไม่มั่นใจในตลาดหุ้นจึงพยายามเรียกคืนหนี้สินที่ปล่อยกู้ไปราคาหุ้นจึงดิ่งลงเรื่อย ๆ จนตลาดหุ้นที่วอลสตรีท นครนิวยอร์ก ล้มลงเมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 เหตุการณ์ดังกล่าวต่อมาเรียกว่าอังคารทมิฬ (Black Tuesday) ความเสียหายทางการเงินครั้งนี้ไม่เพียงทำให้เกิดหนี้เสียจำนวนมากจนธนาคารหลายพันแห่งต้องล้มลงและมูลค่าความเสียหายมากกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ แต่ยังนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและขยายตัวไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาอั้นสั้น

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. John A. Garraty, The Great Depression (1986)
  2. Duhigg, Charles (March 23, 2008). "Depression, You Say? Check Those Safety Nets". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2021. สืบค้นเมื่อ December 25, 2021.