กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) (คีวจิไต: 大日本帝國海軍 ชินจิไต: 大日本帝国海軍 ไดนิปปง เทโกะกุ ไคงุง หรือ 日本海軍 นิปปง ไคงุง) เป็นกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1869 จนถึง ค.ศ. 1947 เมื่อถูกยุบตามรัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่นที่จะสละการใช้กองกำลังเป็นวิธีของการยุติข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่น (JMSDF) จึงได้มีการจัดตั้งหลังจากการสลายของ IJN[1]

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
大日本帝國海軍
Stylized flag with a solid red circle offset to the left on a white background, with sixteen red rays extending to the flag's edges.
ธงของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่น
ประจำการ1869–1947
ประเทศจักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น
ขึ้นต่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
รูปแบบกองทัพเรือ
ปฏิบัติการสำคัญการบุกครองไต้หวันของญี่ปุ่น ค.ศ. 1874
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง
สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่สอง
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญโทโง เฮฮาจิโร
อิโซโรกุ ยามาโมโตะ
อิโต สุเกะยูกิ
เจ้าชายฮิโรยาซุ ฟูชิมิโนะมิยะ
เครื่องหมายสังกัด
สัญลักษณ์
Yellow seal in the shape of a flower with sixteen petals.
พระราชลัญจกรแผ่นดิน ถูกใช้แทนตราประจำเหล่าทัพ

ในปี ค.ศ. 1920 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในโลก รองก็เพียงแต่กองทัพเรือสหราชอาณาจักรและกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา[2] กองทัพเรือได้รับการสนับสนุนจากกองการบินทหารเรือมหาจักรวรรดิญี่ปุ่นสำหรับอากาศยานและปฏิบัติการโจมตีทางอากาศจากกองเรือ กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นคู่ต่อสู้หลักของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก

ต้นกำเนิดของกองทัพเรือญี่ปุ่นสามารถสืบย้อนไปถึงตอนต้นของการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มต้นในตอนต้นของยุคกลางและไปถึงจุดสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16–17 ในช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับมหาอำนาจในทวีปยุโรปในระหว่างยุคแห่งการสำรวจ ผ่านไปสองศตวรรษแห่งความซบเซาระหว่างนโยบายสันโดษภายในใต้โชกุนแห่งยุคเอะโดะ กองทัพเรือญี่ปุ่นถูกเปรียบเทียบกับเมื่อในอดีตเมื่อประเทศถูกบังคับให้เปิดการค้าโดยการแทรกแซงของอเมริกาในปี ค.ศ. 1854 เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปฏิรูปสมัยเมจิ ประกอบกับการกลับมาสืบเชื้อสายจักรพรรดิ์ในยุคใหม่ที่เรืองรองและการปรับให้สู่อุตสาหกรรม กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้น บางช่วงเวลาก็มีการสู้รบบ้างเช่นใน สงครามจีน–ญี่ปุ่นและสงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น และท้ายสุดโดนทำลายล้างเกือบทั้งหมดโดยกองทัพเรือสหรัฐ (USN) ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[3]

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. "Japan> National Security> Self-Defense Forces> Early Development". Library of Congress Country Studies.
  2. Evans & Peattie 1997.
  3. Farley, Robert (14 สิงหาคม 2015). "Imperial Japan's Last Floating Battleship". The Diplomat. ISSN 1446-697X. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2017.

บรรณานุกรม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้