ยุทธการที่สิงคโปร์
ยุทธการที่สิงคโปร์ (อังกฤษ: Battle of Singapore) เป็นเหตุการณ์สู้รบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในการทัพมาลายาเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 แล้ว ญี่ปุ่นก็เริ่มรุกรานเกาะสิงคโปร์ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ของอังกฤษ สิงคโปร์ในขณะนั้นมีฉายาว่า "ยิบรอลตาแห่งตะวันออก" ถือเป็นฐานที่มั่นหลักของกองทัพอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือเป็นหน้าด่านสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ข้าศึกรุกรานเข้ามาในมหาสมุทรอินเดียอันเป็นที่ตั้งของอาณานิคมต่างๆจำนวนมากของอังกฤษ
ยุทธการที่สิงคโปร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
![]() พลโท อาเธอร์ เพอร์ซิวัล (ขวาสุด) แบกธงขาวเพื่อยอมจำนวน และถูกควบคุมตัวไปโดยทหารญี่ปุ่น เมื่อ 15 ก.พ. 1942 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
![]() | |||||||
กำลัง | |||||||
85,000 นาย ปืนใหญ่ 300 ระบบ รถหุ้มเกราะ 200 คัน ปืนต่อต้านรถถังและอากาศยาน 208 กระบอก |
36,000 นาย ปืนใหญ่ 440 ระบบ[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
~5,000 นายตายและบาดเจ็บ 80,000 ตกเป็นเชลย |
1,714 ตาย 3,378 บาดเจ็บ |
ญี่ปุ่นเริ่มข้ามช่องแคบรัฐยะโฮร์มาสู่เกาะสิงคโปร์ในเวลา 20:30น. ของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และในเช้าวันนั้นเองสิงคโปร์ก็ถูกโจมตีทางอากาศจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก การต่อสู้กินเวลาราวหนึ่งสัปดาห์ พลโท อาเธอร์ เพอร์ซิวัล ผู้บัญชาการกองทหารเครือจักรภพก็ได้ยกธงขาวเพื่อยอมจำนนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ส่งผลให้ทหารในบังคับของอังกฤษราว 80,000 นาย[2] (ซึ่งรวมถึงทหารจากออสเตรเลียและทหารแขกจากอินเดีย) ตกเป็นเชลยของญี่ปุ่นในทันที ถือเป็นการยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การทหารของอังกฤษ นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลได้เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "หายนะครั้งเลวร้ายสุด" ในประวัติศาสตร์การทหารของอังกฤษ[3]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Allen 2013, p. 169.
- ↑ Corrigan 2010, p. 280.
- ↑ Churchill 2002, p. 518.
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |