การยึดครองญี่ปุ่น

การยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ อันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และเครือจักรภพอังกฤษเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นการยึดครองแผ่นดินญี่ปุ่นโดยชาวต่างชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นกว่า 2,000 ปี การยึดครองดังกล่าวเปลี่ยนแปลงประเทศญี่ปุ่นจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งทำให้หวนคิดถึงการเมือง "นิวดีล" (New Deal) ของอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1930 การยึดครองดังกล่าวมีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการบัญชีดำ (Operation Blacklist) สิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก ที่ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1952 อันเป็นการฟื้นฟูเอกราชของญี่ปุ่น โดยยกเว้นหมู่เกาะรีวกีวก่อน ค.ศ. 1972

ญี่ปุ่นภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร

連合国軍事占領下の日本
Rengōkoku gunji senryō-ka no Nihon
1945–1952
ธงชาติ連合国軍事占領下の日本 Rengōkoku gunji senryō-ka no Nihon
อาณาเขตของญี่ปุ่นภายใต้การยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร # หมู่เกาะญี่ปุ่นถูกปกครองโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งแต่ ค.ศ. 1945–1952 (ยกเว้นเกาะอิโวจิมะ​จนถึง ค.ศ. 1968 และเกาะโอกินาวะ​จนถึง ค.ศ. ปี 1972) # ไต้หวันของญี่ปุ่น และหมู่เกาะสแปรตลีถูกปกครองปกครองโดยสาธารณรัฐจีน # จังหวัดคาราฟูโตะ และหมู่เกาะคูริลถูกปกครองโดยสหภาพโซเวียต # เกาหลีของญี่ปุ่น ทางตอนใต้ของเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือถูกปกครองโดยรัฐบาลกองทัพสหรัฐประจำเกาหลีจนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1948 ปัจจุบันคือเกาหลีใต้ # เกาหลีของญี่ปุ่น ทางตอนเหนือของเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือถูกปกครองโดยการปกครองพลเมืองเกาหลีของโซเวียตจนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1948 ปัจจุบันคือเกาหลีเหนือ # ดินแดนกวันตงถูกปกครองโดยสหภาพโซเวียตระหว่าง ค.ศ. 1945–1955 และกลับคืนสู่จีนใน ค.ศ. 1955 # ดินแดนแปซิฟิกใต้ถูกปกครองโดยสหรัฐระหว่าง ค.ศ. 1945–1947 และเปลี่ยนเป็นดินแดนหมู่เกาะแปซิฟิกในภาวะทรัสตีใน ค.ศ. 1947
อาณาเขตของญี่ปุ่นภายใต้การยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร
  1. หมู่เกาะญี่ปุ่นถูกปกครองโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งแต่ ค.ศ. 1945–1952 (ยกเว้นเกาะอิโวจิมะ​จนถึง ค.ศ. 1968 และเกาะโอกินาวะ​จนถึง ค.ศ. ปี 1972)
  2. ไต้หวันของญี่ปุ่น และหมู่เกาะสแปรตลีถูกปกครองปกครองโดยสาธารณรัฐจีน
  3. จังหวัดคาราฟูโตะ และหมู่เกาะคูริลถูกปกครองโดยสหภาพโซเวียต
  4. เกาหลีของญี่ปุ่น ทางตอนใต้ของเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือถูกปกครองโดยรัฐบาลกองทัพสหรัฐประจำเกาหลีจนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1948 ปัจจุบันคือเกาหลีใต้
  5. เกาหลีของญี่ปุ่น ทางตอนเหนือของเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือถูกปกครองโดยการปกครองพลเมืองเกาหลีของโซเวียตจนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1948 ปัจจุบันคือเกาหลีเหนือ
  6. ดินแดนกวันตงถูกปกครองโดยสหภาพโซเวียตระหว่าง ค.ศ. 1945–1955 และกลับคืนสู่จีนใน ค.ศ. 1955
  7. ดินแดนแปซิฟิกใต้ถูกปกครองโดยสหรัฐระหว่าง ค.ศ. 1945–1947 และเปลี่ยนเป็นดินแดนหมู่เกาะแปซิฟิกในภาวะทรัสตีใน ค.ศ. 1947
สถานะการยึดครองทางทหาร
ภาษาราชการญี่ปุ่น
อังกฤษ
ผู้บัญชาการ 
• 1945–1951
พลเอก ดักลาส แมกอาเธอร์
• 1951–1952
พลเอก แมทธิว ริจเวย์
จักรพรรดิ 
• 1945–1952
โชวะ
นายกรัฐมนตรี 
• 1945
นารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิ
• 1946–1947
ชิเงรุ โยชิดะ
• 1947–1948
เท็ตสึ คาตายามะ
• 1948
ฮิโตชิ อาชิดะ
• 1948–1952
ชิเงรุ โยชิดะ
ประวัติศาสตร์ 
15 สิงหาคม ค.ศ. 1945
• เริ่มต้นครอบครอง
28 สิงหาคม 1945
25 ตุลาคม ค.ศ. 1945
3 พฤษภาคม ค.ศ. 1947
15 สิงหาคม ค.ศ. 1948
9 กันยายน ค.ศ. 1948
28 เมษายน 1952
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น
หมู่เกาะรีวกีวภายใต้การปกครองของสหรัฐ
รัฐบาลกองทัพสหรัฐประจำเกาหลี
สหภาพโซเวียต
การปกครองพลเมืองเกาหลีของโซเวียต
จีน
ดินแดนหมู่เกาะแปซิฟิกในภาวะทรัสตี

การยอมแพ้ของญี่ปุ่น

แก้

ญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นชี้แจงสัมพันธมิตรถึงการยอมรับปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงประกาศความพ่ายแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขทางวิทยุ การประกาศนั้นเป็นครั้งแรกของสมเด็จพระจักรพรรดิที่ประกาศทางวิทยุและครั้งแรกของประชาชนที่ได้ยินเสียงของพระจักรพรรดิ

วันดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อวันชัยเหนือญี่ปุ่น (V-J - Victory over Japan) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสู่การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและการเริ่มต้นของเส้นทางที่ยาวนานในการฟื้นฟูประเทศญี่ปุ่น ในวันชัยเหนือญี่ปุ่นนั้น แฮร์รี ทรูแมน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานัดหมายจอมพลดักลาส แมคอาเธอร์ ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (Supreme Commander for the Allied Powers (SCAP)) สำหรับแผนดำเนินการยึดครองญี่ปุ่น

เนื่องจากในระหว่างสงครามนั้น บรรดาชาติมหาอำนาจต่างๆของฝ่ายสัมพันธมิตรวางแผนที่จะแบ่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อปกครองเอง ซึ่งหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรรบชนะเยอรมนีแล้วได้ยึดครองเป็นที่เรียบร้อย ด้านผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเป็นผู้ควบคุมโดยตรงบนเกาะหลักของญี่ปุ่น (ฮนชู ฮกไกโด ชิโกกุ และคีวชู) และเกาะโดยรอบ โดยการเป็นเจ้าของดินแดนต่าง ๆ ถูกแบ่งให้กับชาติมหาอำนาจของฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนี้

สำหรับการเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ของญี่ปุ่นนั้น ไม่มีสาเหตุชัดเจนว่าเหตุใดแผนจึงถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็มีทฤษฎีทั่วไปรวมถึงอำนาจที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ อีกทั้งแฮรี่ ทรูแมนไม่เชื่อมั่นในสหภาพโซเวียตมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับแฟรงกลิน โรสเวลต์ อีกทั้งสหภาพโซเวียตเคยมีความตั้งใจในการยึดครองเกาะฮกไกโด ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นฐานของลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างระหว่างการยึดครองเยอรมันตะวันออกและเกาหลีเหนือของโซเวียต ซึ่งทางประธานาธิบดีแฮรี่ ทรูแมน ไม่ยอมให้แผนการของฝ่ายคอมมิวนิสต์สำเร็จ

อ้างอิง

แก้

ผลงานที่อ้างอิง

แก้

หนังสือ

แก้
  • Asahi Shimbun Staff, The Pacific Rivals: A Japanese View of Japanese-American Relations, New York: Weatherhill, 1972. ISBN 978-0-8348-0070-0.
  • Barnes, Dayna (2017). Architects of Occupation: American Experts and the Planning for Postwar Japan. Ithaca: Cornell University Press. ISBN 978-1501703089.
  • Bix, Herbert (2001). Hirohito and the Making of Modern Japan. New York: Harper Perennial. ISBN 0-06-093130-2.
  • Dower, John W. (1993), Japan in War and Peace, New York, NY: The New Press, ISBN 1-56584-067-4
  • Dower, John W. (1999), Embracing Defeat: Japan in the Wake of World War II, Norton, ISBN 0-393-04686-9
  • Feifer, George (2001). The Battle of Okinawa: The Blood and the Bomb. Guilford, CT: Lyons Press. ISBN 9781585742158.
  • Gordon, Andrew (2003). A Modern History of Japan. New York, NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-511060-9.
  • Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0674984424.
  • Schrijvers, Peter (2002). The GI war against Japan : American soldiers in Asia and the Pacific during World War II. New York, NY: New York University Press. ISBN 9780814798164.
  • Sugita, Yoneyuki (2003). Pitfall or Panacea: The Irony of US Power in Occupied Japan, 1945–1952. Routledge. ISBN 0-415-94752-9..
  • Takemae, Eiji (2002). Inside GHQ: The Allied Occupation of Japan and its Legacy. แปลโดย Ricketts, Robert; Swann, Sebastian. New York: Continuum. ISBN 0826462472.. OCLC 45583413.

บทความวารสาร

แก้
  • Flores, Edmundo (July–August 1970). "Issues of Land Reform". The Journal of Political Economy. 78 (4): 890–905. doi:10.1086/259682. S2CID 154104106.
  • Kawai, Kazuo (1951). "American Influence on Japanese Thinkin". Annals of the American Academy of Political and Social Science. 278: 23–31. doi:10.1177/000271625127800104. S2CID 144554054.
  • Koikari, Mire (2002). "Exporting Democracy? American Women, 'Feminist Reforms,' and Politics of Imperialism in the U.S. Occupation of Japan, 1945–1952". Frontiers: A Journal of Women Studies. 23 (1): 23–45. doi:10.1353/fro.2002.0006. S2CID 144915178.
  • Lie, John (1997), "The State as Pimp: Prostitution and the Patriarchal State in Japan in the 1940s", The Sociological Quarterly, 38 (2): 251–263, doi:10.1111/j.1533-8525.1997.tb00476.x, JSTOR 4120735
  • McLelland, Mark (September 2010). "'Kissing Is a Symbol of Democracy!' Dating, Democracy, and Romance in Occupied Japan, 1945–1952". Journal of the History of Sexuality. 19 (3): 508–535. doi:10.1353/sex.2010.0007. PMID 21110475. S2CID 35663215.
  • Ness, Gayl D. (1967). "Review of Social Origins of Dictatorship and Democracy: Lord and Peasant in the Making of the Modern World". American Sociological Review. 32 (5): 818–820. doi:10.2307/2092029. JSTOR 2092029.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

รายงานในเวลานั้น

แก้