หมู่เกาะโองาซาวาระ
หมู่เกาะโองาซาวาระ (ญี่ปุ่น: 小笠原群島; โรมาจิ: Ogasawara-guntō) หรือ หมู่เกาะโบนิน[1] เป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยเกาะในเขตร้อนและเกาะใกล้เขตร้อนกว่า 30 เกาะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงโตเกียวราวๆ 1,000 กิโลเมตร มีสถานะเป็นกิ่งจังหวัดของมหานครโตเกียว มีประชากรอาศัยอยู่ราว 2,440 คน โดยกว่า 2,000 คน อาศัยอยู่บนเกาะชิจิจิมะ ซึ่งบนเกาะชิจิจิมะนี้ ยังมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ขนาด 25 เมตร ของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น (NAOJ) ตั้งอยู่อีกด้วย
หมู่เกาะโองาซาวาระ * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค ** | เอเชีย-แปซิฟิก |
ประเภท | มรดกโลกทางธรรมชาติ |
เกณฑ์พิจารณา | ix |
อ้างอิง | 1362 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | พ.ศ. 2554 (คณะกรรมการสมัยที่ 35) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
อุทยานแห่งชาติโองาซาวาระ | |
---|---|
小笠原国立公園 | |
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
ชิจิจิมะ | |
ที่ตั้ง | หมู่เกาะโองาซาวาระ, ญี่ปุ่น |
พื้นที่ | 66.29 กม² |
จัดตั้ง | 16 ตุลาคม ค.ศ. 1972 |
เนื่องจากหมู่เกาะโองาซาวาระแทบไม่ค่อยได้ติดต่อกับทวีปภายนอก พืชพันธุ์และสัตว์ในแถบนี้จึงมีลักษณะเฉพาะตัวและความแตกต่างในด้านกระบวนการวิวัฒนาการ หมู่เกาะโองาซาวาระมีฉายาว่า "กาลาปาโกสแห่งตะวันออก"[2]
การเดินทางมายังหมู่เกาะโองาซาวาระนั้นมีเส้นทางเดียว คือทางเรือ สาย โองาซาวารามารุ จากท่าเรือโตเกียว และใช้เวลาเดินทางราว 25.5 ชั่วโมง (ในสภาพอากาศปลอดโปร่ง) มีเรือออกประมาณ 4-5 เที่ยวต่อเดือน
มรดกโลก
แก้หมู่เกาะโองาซาวาระขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 35 เมื่อ พ.ศ. 2554 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
- (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
ระเบียงภาพ
แก้ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของชิจิจิมะ ในหมู่เกาะโองาซาวาระ (1981–2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 20.5 (68.9) |
20.1 (68.2) |
21.5 (70.7) |
23.2 (73.8) |
25.4 (77.7) |
28.0 (82.4) |
30.0 (86) |
29.9 (85.8) |
29.7 (85.5) |
28.3 (82.9) |
25.6 (78.1) |
22.4 (72.3) |
25.4 (77.7) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 18.4 (65.1) |
17.9 (64.2) |
19.2 (66.6) |
21.0 (69.8) |
23.2 (73.8) |
25.8 (78.4) |
27.5 (81.5) |
27.7 (81.9) |
27.5 (81.5) |
26.2 (79.2) |
23.5 (74.3) |
20.3 (68.5) |
23.2 (73.8) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 15.7 (60.3) |
15.3 (59.5) |
16.7 (62.1) |
18.8 (65.8) |
21.2 (70.2) |
24.0 (75.2) |
25.4 (77.7) |
25.9 (78.6) |
25.5 (77.9) |
24.1 (75.4) |
21.3 (70.3) |
17.8 (64) |
21.0 (69.8) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 65.3 (2.571) |
58.2 (2.291) |
77.0 (3.031) |
118.4 (4.661) |
145.4 (5.724) |
134.7 (5.303) |
80.9 (3.185) |
112.6 (4.433) |
131.1 (5.161) |
132.1 (5.201) |
128.2 (5.047) |
108.7 (4.28) |
1,292.6 (50.89) |
ความชื้นร้อยละ | 66 | 68 | 73 | 79 | 83 | 86 | 82 | 82 | 82 | 80 | 75 | 70 | 77.2 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 10.3 | 9.1 | 10.8 | 9.9 | 11.7 | 9.3 | 8.4 | 11.0 | 11.6 | 13.0 | 11.1 | 11.8 | 128 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 136.4 | 131.4 | 154.7 | 148.2 | 159.8 | 198.9 | 250.3 | 211.0 | 200.9 | 179.1 | 140.9 | 126.8 | 2,038.4 |
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [3] |
อ้างอิง
แก้- ↑ Comparison of name usage in published sources, 1800-2000; retrieved 2013-4-16.
- ↑ Japan Times. "Ogasawara Islands Join World Heritage family". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 26 June 2011.
- ↑ "気象庁|過去の気象データ検索". jma.go.jp.