เจ้าชายนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิโนะมิยะ

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

พลเอก เจ้าชายนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิโนะมิยะ (ญี่ปุ่น: 東久邇宮稔彦王โรมาจิHigashikuni-no-miya Naruhiko Ō) ทรงเป็นพระอนุวงศ์ญี่ปุ่นและพลเอกแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และทรงได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดือนก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะยอมจำนนในสงครามโลกครั้งที่สอง และทรงลาออกหลังญี่ปุ่นยอมจำนนได้เจ็ดวัน นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระสสุระ (พ่อสามี) ในเจ้าหญิงชิเงโกะ เจ้าเทรุ พระราชธิดาองค์ใหญ่ในจักรพรรดิโชวะ

เจ้าฮิงาชิกูนิ
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ก่อนหน้าคันตะโร ซุซุกิ
ถัดไปจิจูโร ชิเดฮาระ
วาระ17 สิงหาคม-9 ตุลาคม ค.ศ. 1945
จักรพรรดิจักรพรรดิโชวะ
ประสูติ3 ธันวาคม ค.ศ. 1887
เกียวโต จักรวรรดิญี่ปุ่น
สิ้นพระชนม์20 มกราคม ค.ศ. 1990 (ชันษา 102)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พระราชบุตรโมริฮิโระ ฮิงาชิกูนิ
โมโรมาซะ ฮิงาชิกูนิ
อากิตสึเนะ ฮิงาชิกูนิ
โทชิฮิโกะ ฮิงาชิกูนิ
ราชวงศ์ราชสกุลฮิงาชิกูนิ
พระราชบิดาเจ้าชายอาซาฮิโกะ เจ้าคูนิ
ลายพระอภิไธย

เจ้าชายฮิงาชิกูนิถือเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่เป็นสมาชิกพระราชวงศ์ และยังเป็นนายทหารคนสุดท้ายจากกองทัพที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เจ้าชายฮิงาชิกูนิยังทรงเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีชิบะ

พระประวัติ

แก้

เจ้าชายนารูฮิโกะประสูติในนครเกียวโต เป็นโอรสของเจ้าชายอาซาฮิโกะ เจ้าคูนิ ที่เกิดกับท่านหญิงเทราโอะ อูตาโกะ นางข้าหลวงในราชสำนัก เจ้าคูนิพระบิดาของพระองค์นั้นเป็นโอรสของเจ้าชายคูนิอิเอะ ซึ่งเป็นเจ้าฟุชิมิองค์ที่ 20 ซึ่งเป็นหนึ่งในตำแหน่งเจ้าสืบตระกูลที่เก่าแก่ที่สุด เจ้าฮิงาชิกูนิเป็นพี่น้องต่างมารดากับเจ้าชายคุนิโยะชิ เจ้าคุนิ พระบิดาในสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุงผู้เป็นพระอัครมเหสีในจักรพรรดิโชวะและพระชนนีของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ

เจ้าชายนารูฮิโกะได้รับพระราชทานราชทินนามจากจักรพรรดิโชวะเป็น เจ้าฮิงาชิกูนิ (東久邇宮) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1906

ครอบครัว

แก้

เจ้าฮิงาชิกูนิเสกสมรสกับเจ้าหญิงโทชิโกะ เจ้ายาซุ พระราชธิดาองค์ที่ 9 ในจักรพรรดิเมจิเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 มีพระโอรสด้วยกัน 4 พระองค์คือ:

  1. เจ้าชายโมริฮิโระ (盛厚王) (6 พฤษภาคม 1916 – 1 กุมภาพันธ์ 1969); เสกสมรสกับเจ้าหญิงชิเงโกะ เจ้าเทรุ พระราชธิดาองค์ใหญ่ในจักรพรรดิโชวะ
  2. เจ้าชายมาโรมาซะ (師正王) (ค.ศ. 1917 – 1 กันยายน 1923); สิ้นพระชนม์ในเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโต
  3. เจ้าชายอากิสึเนะ (彰常王) (13 พฤษภาคม 1920 – 30 สิงหาคม 2006); ลาออกจากฐานันดรในปี 1940 และได้บรรดาศักดิ์เป็น มาร์ควิส อาวาตะ อากิตสึเนะ
  4. เจ้าชายโทชิฮิโกะ (俊彦王) (24 มีนาคม 1929 – 15 เมษายน 2015); ลาออกจากฐานันดรในปี 1943 และได้บรรดาศักดิ์เป็น เคานต์ ทามาระ โทชิฮิโกะ

หน้าที่การงาน

แก้

นายกรัฐมนตรี

แก้
 
เจ้าชายนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิโนะมิยะขณะทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
 
คณะรัฐบาลในเจ้าชายนารูฮิโกะ อันได้แก่ มะโมรุ ชิเงะมิตซึ, มิตซูมาสะ โยนาอิ และเจ้าชายฟูมิมาโระ โคโนเอะ (ยืนอยู่แถวหน้า)

หลังจากที่กองทัพญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในศึกต่างๆและการทิ้งระเบิดปรมาณู พลเอกเจ้าฮิงาชิกูนิก็เริ่มเป็นฝ่ายต่อต้านนโยบายสู้ตายของกองทัพ เขาพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลยอมรับปฏิญญาพ็อทซ์ดัมของฝ่ายสัมพันธมิตร ได้รับโปรดเกล้าจากจักรพรรดิโชวะให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 แทนที่พลเรือเอก คันตาโร ซูซูกิ โดยรัฐบาลฮิงาชิกูนิมีภารกิจอยู่สองประการคือ ประการแรกคือกองทัพทั้งหมดยุติความเป็นศัตรูและถอนกำลังทหาร และประการที่สองคือ ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นวางใจว่าสถาบันจักรพรรดิจะได้รับความคุ้มครองและอยู่รอดปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เจ้าฮิงาชิกูนิลาออกจากตำแหน่งหลังยอมจำนนได้เจ็ดวันเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องกองทัพสหรัฐจะให้ญี่ปุ่นยกเลิกกฎหมายรักษาความสงบ ค.ศ. 1925

หลังการลาออกฯ

แก้

หลังจากที่ทรงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้นปี ค.ศ. 1946 ได้ทรงให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์โยมิอูริโฮจิและเดอะนิวยอร์กไทมส์ว่า สมาชิกพระราชวงศ์ต่างยินยอมที่จะให้สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะสละราชสมบัติ โดยที่เจ้าทากามัตสึจะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไปจนกว่ามกุฎราชกุมารอากิฮิโตะจะเจริญพระชันษา อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ถูกคัดค้านจากนายกรัฐมนตรีจิจูโร ชิเดฮาระและรัฐมนตรีกระทรวงวัง

ในค.ศ. 1946 เจ้าฮิงาชิกูนิได้ทูลขอลาออกจากพระราชวงศ์ไปเป็นสามัญชนแต่องค์จักรพรรดิไม่ทรงยินยอม อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกาได้ล้มเลิกระบอบคาโซกุของญี่ปุ่น ทำให้สมาชิกราชสกุลต่างๆรวมถึงเจ้าฮิงาชิกูนิถูกถอดยศและฐานันดรรวมถึงถูกริบทรัพย์บางส่วน

อดีตเจ้าฮิงาชิกูนิถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจล้มเหลวเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1990 ในกรุงโตเกียว ขณะมีพระชันษา 102 ปี 48 วัน

ฐานันดรศักดิ์

แก้
  • ค.ศ. 1887 - 1906 : เจ้าชายนารูฮิโกะ
  • ค.ศ. 1906 - 1947 : เจ้าชายนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิโนะมิยะ
  • ค.ศ. 1947 - 1990 : นายนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิ