กองทัพเรือสหรัฐ

กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016[3]

กองทัพเรือสหรัฐ
United States Navy
ตรากองทัพเรือ
ประจำการ13 ตุลาคม 1775; 248 ปีก่อน (1775-10-13)[1][2]
ประเทศ สหรัฐอเมริกา
รูปแบบกองทัพเรือ
บทบาทการแสดงกำลัง, การตอบสนองเหตุวิกฤต, ปฏิบัติการโดยตรง
กำลังรบกำลังประจำการ 323,197 นาย[3]
กำลังสำรอง 108,515 นาย[3]
เรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ[3]
เรือทั้งหมด 430 ลำ
อากาศยานมากกว่า 3,700 ลำ[3]
ขึ้นกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ
กองบัญชาการใหญ่เพนตากอน
อาร์ลิงตันเคาน์ตี, เวอร์จิเนีย, สหรัฐฯ
คำขวัญ"Non sibi sed patriae" (ละติน: "ไม่ใช่เพื่อตัวเองแต่เพื่อประเทศชาติ") (ไม่เป็นทางการ)[4]
สีหน่วยน้ำเงิน, ทอง   [5][6]
เพลงหน่วยแองเคอร์สะเวห์ ("Anchors Aweigh") ฟัง
วันสถาปนา13 ตุลาคม 1775
ยุทธภัณฑ์ดูที่หัวข้อ ยุทโธปกรณ์ ด้านล่าง
ปฏิบัติการสำคัญ
ดูจากรายการดังต่อไปนี้
อิสริยาภรณ์
อิสริยาภรณ์ประกาศกิตติคุณหน่วยประธานาธิบดี

อิสรยาภรณ์สรรเสริญหน่วยนาวี

อิสรยาภรณ์สรรเสริญหน่วยอันมีคุณความดี
เว็บไซต์www.navy.mil
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการสูงสุดประธานาธิบดี โจ ไบเดน
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมมาร์ก เอสเปอร์
อธิบดีกรมทหารเรือฌอน สแต็คลีย์ (รักษาการแทน)
ผู้บัญชาการยุทธนาวีพลเรือเอกหญิง ลิซา เอ็ม. แฟรนเกตตี
รอง ผ.บ. ฝ่ายยุทธการทหารเรือพล.ร.อ. วิลเลียม เอฟ. มอแรน
พันจ่าเอกพิเศษพ.จ.อ.(พ.) สตีเวน เอส. จิออร์ดาโน
เครื่องหมายสังกัด
ธง
ธงเรือ
สมอเรือ, เรือคอนสติติวชัน, และตราอินทรี
ธงสามเหลี่ยม
เครื่องหมายอากาศยาน

กองทัพเรือสหรัฐมีต้นกำเนิดย้อนไปยังกองทัพเรือภาคพื้นทวีปซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกา ก่อนที่จะถูกก่อตั้งขึ้นใหม่เป็นกองทัพเรือสหรัฐหลังจากนั้นไม่นาน กองทัพเรือสหรัฐมีบทบาทสำคัญในสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดยทำการปิดล้อมทางทะเลต่อฝ่ายสมาพันธรัฐ และเข้าควบคุมทางแม่น้ำของสมาพันธรัฐ ทั้งยังมีบทบาทหลักในการเอาชนะจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 กองทัพเรือสหรัฐยังคงวางกำลังอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรอินเดีย กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือทะเลน้ำลึก ที่มีความสามารถในการแสดงกำลังตามแนวชายฝั่งทั่วโลก และตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตระดับภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กองทัพเรือสหรัฐเป็นตัวแทนผู้กระทำของสหรัฐฯ ทางการทูตและการทหารอยู่บ่อยครั้ง

กองทัพเรือสหรัฐอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมทหารเรือ โดยมีพลเรือนเป็นผู้บริหารในตำแหน่งอธิบดีกรมทหารเรือ กรมทหารเรืออยู่ใต้สังกัดของกระทรวงกลาโหม บริหารโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการฝ่ายยุทธการทหารเรือ (CNO) เป็นนายพลเรือระดับสี่ดาวและนายทหารเรืออาวุโสของกรมทหารเรือ CNO อาจจะไม่ใช่นายทหารเรือที่อาวุโสที่สุดในกองทัพสหรัฐถ้าประธานหรือรองประธานคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งตามกฎหมายแล้วมียศสูงกว่า CNO เป็นนายทหารจากกองทัพเรือ

ยุทโธปกรณ์

แก้

ตามข้อมูลใน ค.ศ. 2013 กองทัพเรือสหรัฐมียุทโธปกรณ์ที่อยู่ในสถานะพร้อมปฏิบัติงานได้แก่ เรือ 280 ลำ, อากาศยานมากกว่า 3,650 ลำ, พาหนะที่ไม่ได้ใช้เพื่อการสู้รบ 50,000 คัน กองทัพสหรัฐเป็นเจ้าของอาคาร 75,200 อาคารบนพื้นที่ 13,000 ตร.กม.

เรือรบ

แก้

ชื่อของเรือในกองเรือประจำการของกองทัพเรือสหรัฐนั้นนำหน้าด้วยตัวอักษร USS แทนคำว่า "เรือรบสหรัฐ" (United States Ship)[7] เรือที่ไม่ได้อยู่ในกองเรือประจำการและมีลูกเรือเป็นพลเรือนมีชื่อนำหน้าด้วยตัวอักษร USNS แทนคำว่า "เรือเดินสมุทรสหรัฐ" (United States Naval Ship) ชื่อของเรือนั้นถูกเลือกอย่างเป็นทางการโดยอธิบดีกรมทหารเรือ โดยมักจะตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติบุคคลหรือสถานที่สำคัญ[8] นอกจากนี้เรือแต่ลำยังได้รับสัญลักษณ์จำแนกประเภทตัวเรือเพื่อระบุประเภทของเรือและหมายเลข (เช่น CVN หรือ DDG) นอกจากเรือรบประจำการแล้ว กองทัพเรือสหรัฐยังมีกองเรือสำรองที่ประกอบไปด้วยเรือที่ไม่พร้อมใช้งานที่ยังมีการบำรุงรักษาไว้เพื่อจะได้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ในยามจำเป็น

กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพแรกที่ทำการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์บนพาหนะทางทะเล[9] ทุกวันนี้เรือบรรทุกอากาศยานและเรือดำน้ำทุกลำของสหรัฐที่ประจำการอยู่ล้วนใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในกรณีของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ เครื่องปฏิกรณ์บนเรือสองเครื่องสามารถให้พลังงานเรือในการขับเคลื่อนอย่างไม่จำกัดและสามารถให้พลังงานไฟฟ้าให้กับเมืองที่มีประชากรอยู่อาศัย 100,000 คน[10]

อ้างอิง

แก้
  1. "Navy Birthday – 13 October 1775". Naval History and Heritage Command. สืบค้นเมื่อ 25 July 2013.
  2. "Precedence of the U.S. Navy and the Marine Corps". Naval History and Heritage Command. สืบค้นเมื่อ 19 August 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Status of the Navy". U.S. Navy. 6 February 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-27. สืบค้นเมื่อ 6 February 2016.
  4. "Navy Traditions and Customs". Naval History & Heritage Command. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-13. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
  5. US Navy web staff. "The U.S. Navy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.
  6. Carlos Cabo. "Pantone colors. Convert Pantone colors to RAL, CMYK, RGB, Hex, HSL, HSB, JSON".
  7. "Ship Naming in the United States Navy". Naval History & Heritage Command. United States Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-17. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
  8. O'Rourke, Ronald. (2013). Navy Ship Names: Background For Congress. Washington, D.C.: Congressional Research Service.
  9. "CVN-65 Enterprise". GlobalSecurity. สืบค้นเมื่อ 7 March 2007.
  10. "CVN-68 Nimitz Class". GlobalSecurity. สืบค้นเมื่อ 8 April 2006.