ยุทธการที่โอกินาวะ

ยุทธการโอกินาวะ หรือชื่อรหัส ปฏิบัติการภูเขาน้ำแข็ง (อังกฤษ: Operation Iceberg)[3] เป็นการสู้รบบนหมู่เกาะรีวกีวของโอกินาวะและเป็นสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ที่สุดในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก[4][5] การรบกินเวลาถึง 82 วันจากต้นเดือนเมษายนถึงกลางเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1945 หลังดำเนินการต่อสู้แบบกบกระโดดไปทีละเกาะ (campaign of island hopping) อันยาวนาน สัมพันธมิตรก็ได้เข้ามาใกล้ประเทศญี่ปุ่น สัมพันธมิตรวางแผนที่จะใช้โอกินาวะซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น 550 กิโลเมตรเป็นฐานบินสำหรับปฏิบัติการตามแผนการบุกแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่น (ชื่อรหัสปฏิบัติการดาวน์ฟอล) 4 กองพลของกองทัพที่ 10 สหรัฐคือ กองพลที่ 7, 27, 77 และ 96 และนาวิกโยธิน 2 กองพล คือ กองพลที่ 1 และ 6 ต่อสู้บนเกาะขณะที่นาวิกโยธินกองพลที่ 2 เป็นกองหนุนลอยลำแต่ไม่ได้ยกพลขึ้นฝั่ง การบุกได้รับการสนันสนุนจากกองทัพเรือ กำลังรบสะเทินน้ำสะเทินบก และกองทัพอากาศยุทธวิธี

ยุทธการโอกินาวะ
ส่วนหนึ่งของ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง
นาวิกโยธิน 2 นายจากกองพันที่ 2 กองพลนาวิกโยธินที่ 1 กำลังเคลื่อนที่บนสันเขาวานา (Wana) ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
นาวิกโยธิน 2 นายจากกองพันที่ 2 กองพลนาวิกโยธินที่ 1 บนสันเขาวานา (Wana) เตรียมยิงคุ้มกันด้วยปืนกลทอมป์สัน พฤษภาคม ค.ศ. 1945
วันที่1 เมษายน ค.ศ. 1945 – 22 มิถุนายน ค.ศ. 1945
สถานที่
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
 สหรัฐ
 บริเตนใหญ่
 แคนาดา
 ออสเตรเลีย
 นิวซีแลนด์
ญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหรัฐ ไซมอน บี. บัคเนอร์ 
สหรัฐ รอย ไกเกอร์

สหรัฐ โจเซฟ สทิลเวลล์

สหรัฐ ชารล์ส ดับบลิว. นิมิทซ์
สหรัฐ เรย์มอนด์ เอ. สพรัวนซ์

สหราชอาณาจักร บรูค ฟราเซอร์

ญี่ปุ่น มิตสึรุ อูชิจิมะ 
ญี่ปุ่น อิซามุ โช 

ญี่ปุ่น ฮิโรมิจิ ยาฮาระ (ถูกจับ)

ญี่ปุ่น มิโนรุ โอตะ 

ญี่ปุ่น เคโซ โคมูระ
กำลัง
183,000[1] 117,000[2]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 12,513
บาดเจ็บ 38,916
สูญเสียจากเหตุการณ์ที่ไม่ใช่การรบ 33,096
เสียชีวิตประมาณ 110,000
ถูกจับ 7,400–10,755
ประชาชนเสียชีวิตประมาณ 42,000–150,000

ยุทธการนี้ในภาษาอังกฤษอาจเรียกว่า "Typhoon of Steel (ไต้ฝุ่นเหล็ก)" และในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า tetsu no ame (เท็ตสึ โนะ อาเมะ) ("ฝนเหล็ก") หรือ tetsu no bōfū (เท็ตสึ โนะ โบฟู) ("ลมเหล็กกรรโชก") เป็นชื่อเล่นที่มาจากความโหดร้ายในการรบ, กระสุนปืนที่ปลิวว่อนไปทั่วสนามรบ, ความรุนแรงของการโจมตีแบบคามิกาเซะจากฝ่ายญี่ปุ่น และจำนวนเรือและยานพาหนะของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จู่โจมสู่เกาะ เป็นการรบที่มีจำนวนคนตายหรือได้รับบาดเจ็บสูงที่สุดสมรภูมิหนึ่งในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นสูญเสียทหารมากกว่า 100,000 นายและฝ่ายสัมพันธมิตรมีทหารเจ็บหรือตายมากกว่า 50,000 นาย ในเวลาเดียวกันนั้นมีประชาชนเสียชีวิต บาดเจ็บ ฆ่าตัวตายเพราะกลัวว่าจะโดนข่มขืน จากข่าวออกข่าวลวง ในสงครามจิตวิทยาของทหารญี่ปุ่น มากกว่า 100,000 คน (12,000 ตายในการรบ) ประมาณกันว่าหนึ่งในสี่ของประชากรเสียชีวิตเนื่องจากการบุกรุกครั้งนี้ การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิและสหภาพโซเวียตเข้าร่วมในสงครามทำให้ญี่ปุ่นยอมจำนนหนึ่งสัปดาห์หลังสิ้นสุดการสู้รบที่โอกินาวะ

คำสั่งยุทธการ

แก้

กองกำลังภาคพื้นดิน

แก้

กองกำลังภาคพื้นดินสหรัฐประกอบด้วย กองทัพที่ 10 บังคับบัญชาโดยพลโทไซมอน โบลิเวอร์ บักเนอร์ จูเนียร์ (Simon Bolivar Buckner, Jr.) มี 2 กองทัพน้อยภายใต้บังคับบัญชา คือ กองทัพน้อยสะเทินน้ำสะเทินบกที่ 3 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลตรีรอย ไกเกอร์ (Roy Geiger) ประกอบด้วย กองพลนาวิกโยธินที่ 1 และกองพลนาวิกโยธินที่ 6 และกองทัพน้อยที่ 24 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลตรี จอห์น อาร์. ฮอดจ์ (John R. Hodge) ประกอบด้วย กองพลทหาราบที่ 7 และกองพลทหาราบที่ 96 กองพลนาวิกโยธินที่ 2 เป็นกองกำลังลอยลำสำรอง กองทัพที่ 10 ยังกำกับดูแลกองพลที่ 27 ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาการณ์ และกองพลทหารราบที่ 77 รวมทั้งสิ้น กองทัพที่ 10 มีกำลังพลเป็นทหาร 102,000 นายและนาวิกโยธิน 81,000 นาย

 
ผู้บังคับบัญชากองทัพที่ 32 ของญี่ปุ่น ถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945

กองกำลังภาคพื้นดินของญี่ปุ่นในการทัพนี้ (กองกำลังป้องกันหลัก) ประกอบด้วย ทหารที่ยังแข็งแรง 67,000 นาย (ข้อมูบางแหล่งเป็น 77,000 นาย) จากกองทัพภาคที่ 32 และกองทหารของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) 9,000 นายจากฐานทัพเรือโอโรกุ (Oroku) (มีเพียงสองสามร้อยนายเท่านั้นที่ได้รับการฝึกและมีอุปกรณ์สำหรับการต่อสู้บนพื้นดิน) มีกองหนุนเป็นชาวรีวกีวที่เกณฑ์มาจำนวน 39,000 คน (ประกอบด้วย กองหนุนส่วนหลังที่เกณฑ์มาอย่างเร่งด่วนจำนวน 24,000 คน ซึ่งเรียกว่า Boeitai (โบเอไต) และกรรมกรอีก 15,000 คน) นอกจากนี้ยังมีองค์กรเด็กชายมัธยมต้นชั้นปีสุดท้าย "หน่วยอาสาสมัครเหล็กและเลือด (Iron and Blood Volunteer Units)" จำนวน 1,500 คน ปฏิบัติการอยู่ที่แนวหน้า ในขณะเดียวกัน มีการจัดตั้งนักเรียนฮิเมยูริ (Himeyuri Students) 600 คนเป็นหน่วยพยาบาล[6]

กองทัพที่ 32 ประกอบไปด้วยกองพลที่ 9 กองพลที่ 24 และกองพลที่ 62 และกองพลน้อยผสมอิสระที่ 44 กองพลที่ 9 ได้เคลื่อนพลไปยังเกาะไต้หวันก่อนการโจมตี ซึ่งเป็นผลของการเปลี่ยนแผนการป้องกันของญี่ปุ่น กองกำลังการป้องกันส่วนแรกทำหน้าที่ป้องการด้านใต้ นำโดยพลโทมิตสึรุ อูชิจิมะ (Mitsuru Ushijima) ผู้บัญชาการ พลโทอิซามุ โช (Isamu Chō) เสนาธิการ และพันเอกฮิโรมิจิ ยาฮาระ (Hiromichi Yahara) เสนาธิการปฏิบัติการ ยาฮาระเป็นที่ปรึกษายุทธวิธีรับ ขณะที่โชเป็นที่ปรึกษายุทธวิธีรุก กองกำลังตอนเหนือมีพันเอกทาเกฮิโดะ อูโดะ (Takehido Udo) เป็นผู้บังคับบัญชา กองทหารกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นนำโดยพลเรือตรีมิโนรุ โอตะ (Minoru Ota) ญี่ปุ่นคาดว่าสหรัฐจะยกพลขึ้นบก 6–10 กองพลและปะทะกับกองทหารรักษาการณ์ของญี่ปุ่นจำนวนสองกองพลครึ่ง เสนาธิการคำนวณว่าด้วยจำนวนและอาวุธที่ดีกว่าของสหรัฐในแต่ละกองพลจะทำให้สหรัฐมีอำนาจการยิงเหนือญี่ปุ่นห้าหรือหกเท่า และเพิ่มเติมด้วยอำนาจการยิงจากเรือจำนวนมากและอากาศยาน

กองกำลังภาคพื้นทะเล

แก้

กองทัพเรือสหรัฐ

แก้

กองกำลังส่วนมากเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบอากาศสู่อากาศ และส่วนที่เหลือเป็นเครื่องบินดำทิ้งระเบิดและอากาศยานโจมตีภาคพื้นดินจากเรือบรรทุกอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐ ญี่ปุ่นได้ใช้กลยุทธ์ คามิกาเซะ ตั้งแต่ยุทธนาวีอ่าวเลย์เต แต่ในยุทธการโอกินาวะ เป็นครั้งแรกที่ยุทธวิธีนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการป้องกัน ระหว่างที่สหรัฐยกพลขึ้นบกเมื่อวัน 1 เมษายน ถึง 25 พฤษภาคม มีการพยายามโจมตีแบบ คามิกาเซะ ครั้งใหญ่ๆ ถึง 7 ครั้ง ซึ่งใช้เครื่องบินมากกว่า 1,500 เครื่อง กองทัพเรือสหรัฐประสบกับความสูญเสียด้วยวิธีนี้มากกว่าการสู้รบอื่นในสงคราม

เครือจักรภพอังกฤษ

แก้

แม้ว่ากองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรทางภาคพื้นจะประกอบด้วยหน่วยของสหรัฐอเมริกาทั้งหมด แต่กองกำลังทางทะเลยังประกอบด้วยกองทัพเรือแปซิฟิกของอังกฤษ (BPF; รู้จักกันในกองทัพเรือสหรัฐฯ ในฐานะหน่วยเฉพาะกิจ 57) ซึ่งมีกองกำลังราว ¼ ของกำลังทางอากาศในทะเลของกองทัพพันธมิตร (เครื่องบิน 450 เครื่อง) กองเรือประกอบไปด้วยเรือหลายลำ รวมถึง เรือรบ 50 ลำซึ่ง 17 ลำเป็นเรือบรรทุกอากาศยาน ซึ่งแต่ละลำได้หุ้มเกราะที่ดาดฟ้าเรือทำให้บรรทุกเครื่องบินได้น้อยลง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจมตีคามิกาเซะ แม้ว่าเรือบรรทุกอากาศยานทั้งหมดจะถูกจัดหาโดยสหราชอาณาจักร แต่กลุ่มเรือนั้นเป็นกองเรือผสมของกองเรือเครือจักรภพอังกฤษ แคนาดา นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ภารกิจของกองเรือคือต่อต้านสนามบินญี่ปุ่นในหมู่เกาะซากิชิมะ (Sakishima Islands) และยึดครองท้องฟ้าเพื่อป้องกันการโจมตี"คามิกาเซะ"ของญี่ปุ่น

ยุทธนาวี

แก้

ปฏิบัติการเท็งโง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1.   บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Appleman, Roy; Burns, James; Gugeler, Russel; Stevens, John (1948). Okinawa: The Last Battle. United States Army Center of Military History. ISBN 1-4102-2206-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  2. [1]
  3. "Planning Iceberg, Chp 2 of Okinawa: Victory in the Pacific by Major Chas. S. Nichols, Jr., USMC and Henry I. Shaw, Jr". Historical Section, Division of Public Information, U.S. Marine Corps. สืบค้นเมื่อ 2010-05-07.
  4. "The United States Navy assembled an unprecedented armada in April 1945". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-16. สืบค้นเมื่อ 2010-11-02.
  5. "The American invasion of Okinawa was the largest amphibious assault of World War II". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-28. สืบค้นเมื่อ 2010-11-02.
  6. Huber, Thomas M. Japan's Battle of Okinawa, April–June 1945 เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Command and General Staff College

แหล่งที่มา

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้