เรือประจัญบาน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
เรือประจัญบาน คือเรือรบหุ้มเกราะขนาดใหญ่ที่มีอาวุธประจำเรือเป็นปืนใหญ่มีระยะยิงไกล ในช่วงปลายสตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เรือประจัญบานถือเป็นเรือรบที่มีพลานุภาพที่สุดในบรรดาเรือรบทั้งหลาย และการมีฝูงเรือประจัญบานถือว่ามีความสำคัญมาก สำหรับประเทศใดๆก็ตามที่ต้องการคงไว้ซึ่งความเป็นใหญ่ทางทะเล
คำว่า เรือประจัญบาน ถูกกำหนดขึ้นเมื่อราว ปี 1794 และเป็นคำลดรูปมาจาก เรือรบเข้ากระบวน (ship of the line) อันเป็นเรือรบต่อด้วยไม้ ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดใน ยุคสมัยของเรือใบ (Age of Sail)[1] คำดังกล่าวเข้ามาสู่การใช้อย่างเป็นทางการในปลายทศวรรษที่ 1880 เพื่อใช้บรรยาย เรือรบหุ้มเกราะ (ironclad warship) ประเภทหนึ่ง[2] ซึ่งปัจจุบันได้รับการอ้างถึงโดยนักประวัติศาสตร์ว่า "เรือประจัญบาญยุคก่อนเดร็ดนอท" ในปี 1906 คำสั่งให้ต่อ เรือหลวงเดร็ดนอท (1906) (HMS Drednought) นับว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการออกแบบเรือประจัญบาน
ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการสร้างเรือประจัญบานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังกลจักรไอน้ำ และติดอาวุธที่ทรงอานุภาพ เช่น ปืนใหญ่โฮชวิตเซอร์ และปืนครก ที่มีระยะยิงไกล และมีอำนาจการยิงรุนแรง
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการติดตั้งเกราะเหล็กให้กับเรือประจัญบาน และมีการติดตั้งป้อมปืนใหญ่ที่หมุนยิงได้รอบ กระสุนปืนใหญ่มีการพัฒนากระสุนแบบต่างๆ และก็เข้าสู่ยุคการสร้างเรือประจัญบานด้วยเหล็กทั้งลำ และในยุคเดียวกัน กองทัพเรืออังกฤษได้สร้างเรือประจัญบาน เรือหลวงเดรดนอต (HMS Dreadnought) ที่ติดปืนใหญ่ขนาด 12 นิ้ว (305 มม.) ที่ยิงได้ทั่วทุกทิศ ทุกชาติต่างพากันสร้างเรือประจัญบาน
ในยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914-1918) ชาติต่าง ๆ ที่เข้าร่วมสงคราม ได้สร้างเรือประจัญบาน (เดรดนอต) ขึ้นมา เช่น เบราน์ชไวค์ ของเยอรมนี, เดรดนอต ของสหราชอาณาจักร, นิวยอร์ก ของสหรัฐ, คาวาชิ ของญี่ปุ่น, เซนต์อิสตแวน ของออสเตรีย-ฮังการี, พรอว็องส์ ของฝรั่งเศส, ปอลตาวา ของรัสเซีย, และเคานต์แห่งกาวูร์ ของอิตาลี
| ||
สุดยอดเรือประจัญบานสุดแกร่งทั้ง 7 (Big 7) ตามสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ประกอบด้วย: นางาโตะ, มุตสึ, เนลสัน, ร็อดนีย์, โคโลราโด, แมริแลนด์ และเวสต์เวอร์จิเนีย |
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้มีสนธิสัญญาจำกัดการสร้างเรือประจัญบานขึ้นมาหลายข้อ เช่น สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ที่ห้ามสร้างเรือรบที่มีขนาดเรือเกิน 35,000 ตัน และห้ามติดปืนใหญ่ขนาดเกิน 16 นิ้ว (406 มม.) สนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งจำกัดการสร้างเรือของเยอรมนีที่แพ้สงคราม โดยห้ามสร้างเรือที่มีขนาดเกิน 10,000 ตัน และห้ามติดปืนใหญ่ขนาดเกิน 11 นิ้ว (280 มม.)
สุดยอดเรือประจัญบานสุดแกร่งทั้ง 7 (Big 7) ตามสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ประกอบด้วย:
- นางาโตะ และมุตสึ ในชั้นนางาโตะ ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
- เนลสัน และร็อดนีย์ ในชั้นเนลสัน ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร
- โคโลราโด, แมริแลนด์ และเวสต์เวอร์จิเนีย ในชั้นโคโลราโด ของกองทัพเรือสหรัฐ
ทางเยอรมนีก็ได้สร้างเรือประจัญบานขนาดกระเป๋าชั้น "ดอยช์ลันช์" ขึ้นมา โดยขนาดเรือกว่า 14,000 ตัน ติดปืนใหญ่ 11 นิ้ว 6 กระบอก ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้สามารถทำความเร็วได้สูง
ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) ชาติต่าง ๆ ที่ร่วมสงคราม ต่างสร้างเรือประจัญบานขึ้นมา เช่น บิสมาร์ค ของเยอรมนี, พระเจ้าจอร์จที่ 5 ของสหราชอาณาจักร, ไอโอวา ของสหรัฐ, ยามาโตะ ของญี่ปุ่น, ริเชอริเยอ ของฝรั่งเศส, และวิตโตรีโอเวเนโต ของอิตาลี
อดีตประเทศประจำการ
แก้- กองทัพเรือจักรวรรดิจีน: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1895 โดยมีเรือประจัญบานสองลำสุดท้ายในชั้นเต๊งหงวน
- กองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการี: สูญเสียกองทัพเรือทั้งหมดหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- กองทัพเรือราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1918 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคือเคบี จูโกสลาวีจา
- กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนยูเครน: สูญเสียกองทัพเรือทั้งหมดจากการพิชิตโดยพวกบอลเชวิคในปี ค.ศ. 1921
- กองทัพเรือตุรกี: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1933 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคือทีซีจี ทูร์กุท ไรส์
- กองทัพเรือสเปน: สูญเสียเรือประจัญบานชั้นเอสปานาสองลำสุดท้ายในปี ค.ศ. 1937
- Royal Hellenic Navy: สูญเสียเรือประจัญบานชั้นมิสซิสซิปปีสองลำสุดท้ายในปี ค.ศ. 1941
- ครีคส์มารีเนอ: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1945 โดยมีเรือประจัญบานสองลำสุดท้ายในชั้นด็อยท์ชลันท์
- กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1945 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคือนางาโตะ
- กองทัพเรือบราซิล: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1952 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคือมีนัชเจไรช์
- กองทัพเรืออิตาลี: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1953 โดยมีเรือประจัญบานสองลำสุดท้ายในชั้นอันเดรอาโดเรีย
- กองทัพเรือโซเวียต: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1956 โดยมีเรือประจัญบานสองลำสุดท้ายในชั้นกังกุต
- กองทัพเรืออาร์เจนตินา: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1957 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคือเออาร์เอ ริวาดาเวีย
- กองทัพเรือชิลี: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1958 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคืออัลมิแรนเตลาตอร์เร
- ราชนาวี: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1960 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคือเรือหลวงแวนการ์ด
- กองทัพเรือฝรั่งเศส: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1970 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคือจีนบาร์ท
- กองทัพเรือสหรัฐ: ยกเลิกในปี ค.ศ. 1992 โดยมีเรือประจัญบานลำสุดท้ายคือยูเอสเอส มิสซูรี
รูปภาพกองเรือประจัญบานในประวัติศาสตร์
แก้-
กองเรือประจัญบานสหราชอาณาจักร (กองเรือใหญ่)
-
กองเรือประจัญบานเยอรมนี (กองเรือทะเลหลวง)
-
กองเรือประจัญบานออสเตรีย-ฮังการี
-
กองเรือประจัญบานรัสเซีย (ทัพเรือทะเลดำ)
-
กองเรือประจัญบานญี่ปุ่น
-
กองเรือประจัญบานสหรัฐ