เรือรบ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เรือรบ (อังกฤษ: Warship) คือเรือที่ถูกสร้างมาสำหรับใช้ในการสงคราม เรือรบนั้นจะถูกสร้างให้แตกต่างจากเรือสินค้าอย่างสิ้นเชิง โดยออกแบบมาให้บรรทุกอาวุธ และสามารถทนต่อการยิงของลูกกระสุนของฝ่ายตรงข้ามได้ดี เรือรบถูกใช้มากในสงครามโลกครั้งที่สอง และพัฒนาขึ้นมากจากแต่ก่อน
เรือรบอาจจะแบ่งได้หลายลักษณะตามการใช้งาน โดยมีวิวัฒนาการตามรูปแบบของสงครามทางเรือที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย กล่าวคือในยุคสมัยแรกเรือรบ มีหน้าที่เพียงบรรทุกทหาร เสบียง อาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อนำไปส่งอีกที่หนึ่ง แล้วจึงทำการรบกันบนบกเท่านั้น เช่นเรือแกลเลย์ของกรีกในยุคโบราณ ต่อมาได้มีการติดอาวุธไปกับเรือ คือ ปืนใหญ่ชนิดบรรจุท้าย ทำให้เกิดยุทธนาวีหรือการรบกันกลางทะเลขึ้นมา โดยมีอาวุธปืนเป็นปัจจัยสำคัญในการรบ ในสมัยศตวรรษที่ 16 การเดินเรือด้วยเรือใบมีความสำคัญมาก เทคโนโลยีการต่อเรือสมัยนั้นสามารถต่อเรือที่มีขนาดใหญ่พอที่จะใช้เดินทางข้ามมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลได้
สำหรับเรือรบของประเทศไทยนั้นจะมีการเรียกว่า เรือหลวง (รล.) มาจาก เรือของในหลวง [ต้องการอ้างอิง] โดยจะมีหลักการตั้งชื่อตามการใช้งาน และประเภทของเรือ เช่น เรือดำน้ำ ผู้มีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ เรือพิฆาต พระมหากษัตริย์ เรือทุ่นระเบิด สมรภูมิที่สำคัญ เรือเร็วโจมตี ชื่อเรือโบราณ เรือฟริเกตต์ แม่น้ำสำคัญ เรือช่วยรบ ชื่อเกาะ
รูปภาพ
แก้-
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ของ กองทัพเรือไทย ในปี ค.ศ. 2022
-
เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ของ กองทัพเรือไทย ในปี ค.ศ. 2023
-
ยูเอ็มเอส พระเจ้ามังระ ของ กองทัพเรือพม่า ในปี ค.ศ. 2018
-
ยูเอ็มเอส พระเจ้าตาลูน ของ กองทัพเรือพม่า โดยเป็นเรือฟริเกตที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน
-
อาร์เอสเอส สตรีดฟาสท์ ของ กองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในปี ค.ศ. 2008
-
กาเอร์อี ราเดน เอ็ดดี มาร์ทาดินาต้า ของ กองทัพเรืออินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 2024
-
บีอาร์พี โฮเซ รีซัล ของ กองทัพเรือฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 2020
-
เรือพิฆาต เอชเอ็มเอส แดริ่ง ของ สหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 2016
-
เรือลาดตระเวน ยูเอสเอส พอร์ต รอยัล ของสหรัฐ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2003
-
เรือลาดตระเวนประจัญบานชั้นคิรอฟ ของรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1983