เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล
เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล (อังกฤษ: Marco Polo Bridge Incident) มีอีกชื่อว่า เหตุการณ์สะพานหลูโกว (จีนตัวเต็ม: 盧溝橋事變; จีนตัวย่อ: 卢沟桥事变; พินอิน: Lúgōuqiáo Shìbiàn) หรือ เหตุการณ์ 7 กรกฎาคม (七七事變; 七七事变; Qīqī Shìbiàn) คือการรบระหว่างกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง | |||||||
ภาพถ่ายทางอากาศของสะพานมาร์โก โปโล ป้อมปราการหว่านผิงอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
จีน | ญี่ปุ่น | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
คันอิจิโร ทาชิโระ | |||||||
กำลัง | |||||||
ทหารประจำการที่สะพาน 100 นาย[1] กำลังเสริม 900 นาย | 5,600 นาย[3] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 96 นาย[1] | เสียชีวิต 660 นาย | ||||||
เรื่องเดิม
แก้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรียเมื่อ พ.ศ. 2474 แล้วสถาปนาประเทศ “แมนจูกัว” ยกให้ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นรัฐบาลหุ่นที่เชิดโดยกองกำลังญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ที่นั่น แม้พรรคก๊กมินตั๋งและนานาประเทศไม่ยอมรับรองแต่กลับมีการเจรจาสงบศึกในปีเดียวกัน
ในปีต่อมา กองทัพจักรววรรดิญี่ปู่นเริ่มรุกรานดินแดนจีนที่จังหวัดชาฮา ถูกต่อต้านโดยกองทัพก๊กมินตั๋ง กองพลที่ 29 ที่ยังคงใช้หอกดาบและอาวุธล้าสมัยอยู่จึงพ่ายแพ้ ทำให้ภาคตะวันตกของปักกิ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น จากนั้นญี่ปุ่นก็ค่อย ๆ บุกรุกและผนวกแผ่นดินจีนไปเรื่อย ๆ ถึงปี พ.ศ. 2480 ก็สามารถยึดครองแผ่นดินโดยรอบกรุงปักกิ่งไว้ได้เกือบหมดเหลือเฉพาะด้านใต้ ญี่ปุ่นได้ตั้งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นปกครองเขตพื้นที่ที่ยึดได้อีกหลายแห่งรวมทั้งที่เมืองนานกิง
สะพานมาร์โคโปโล อยู่ด้านทิศใต้ของปักกิ่ง ทอดข้ามแม่น้ำหย่งติ้ง มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์สูง เชื่อกันว่าเป็นสะพานที่มาร์โก โปโลพรรณาไว้ในหนังสือที่เขาเขียน
จุดเริ่มต้นเหตุการณ์
แก้ประมาณปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นส่งทหารจำนวนหลายร้อยนายมาตั้งหน่วยประจำที่สะพานมาร์โคโปโลและทำการฝึกอยู่ที่นั่น ในขณะเดียวกันก็มีกองกำลังทหารจีนก๊กมินตั๋งที่ประจำอยู่ที่เมืองหว่านผิงใกล้ ๆ กัน คอยเฝ้าระวังดูอยู่อย่างใกล้ชิด ในเช้าตรู่วันที่ 7 กรกฎาคม กองกำลังญี่ปุ่นได้โทรเลขไปถึงกองกำลังก๊กมินตั๋งว่ามีทหารของตนหายไปและเชื่อว่าไปซ่อนอยู่ในเมืองหว่านผิงจึงขอเข้าไปค้นหา (ภายหลังได้พบตัวโดยไม่ได้รับอันตราย) มีข้อถกเถียงกันว่าเป็นเหตุบังเอิญหรือเป็นการสร้างเรื่องของฝ่ายญี่ปุ่นใช้อ้างเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นบุกเข้ายึดภาคกลางของประเทศจีน
ฝ่ายจีนปฏิเสธไม่ยอมให้กองกำลังญี่ปุ่นเข้าเมือง ในตอนเย็นวันนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงยื่นคำขาดให้ฝ่ายจีนยอมให้ฝ่ายตนบุกเข้าไปค้นคนในเมืองได้ภายใน 1 ชั่วโมง มิฉะนั้นจะยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ ครั้นเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน ญี่ปุ่นเริ่มยิงปืนใหญ่และเคลื่อนกองกำลังข้ามสะพานมาร์โคโปโลตรงไปจะเข้าเมือง ฝ่ายก๊กมินตั๋งจึงส่งทหารจำนวน 1,000 นาย เข้าป้องกันสะพานอย่างสุดความสามารถ แต่ญี่ปุ่นก็บุกข้ามไปได้ แต่หลังจากได้รับกำลังเสริมที่มีจำนวนมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายจีนจึงสามารถยึดสะพานคืนได้สำเร็จในวันต่อมา ญี่ปุ่นด้วยจำนวนกองกำลังที่น้อยกว่าจึงขอเจรจา ทำให้เหตุการณ์ขั้นที่ 1 สงบลงได้ชั่วคราว แต่กองกำลังญี่ปุ่นยังคงตั้งประจำอยู่ที่เดิมไม่ยอมถอย
การปะทะกันตอนที่ 2
แก้ฝ่ายก๊กมินตั๋งได้ประชุมกันและตกลงว่าจะยึดสะพานต่อไปและพยายามที่จะไม่เจรจากับญี่ปุ่น เพราะเชื่อถือไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายจีนได้ส่งคนไปเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ฝ่ายญี่ปุ่นยอมเจรจาแต่จะถือว่าหากจีนเพิ่มกองกำลังก็จะถือว่าเป็นการยั่วยุ ซึ่งโดยแท้จริงขณะนั้นฝ่ายญี่ปุ่นกำลังซื้อเวลาด้วยการยอมเจรจาเพื่อรอการเคลื่อนย้ายกองกำลังจากส่วนอื่นมาสมทบ
การเจรจาครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นสัญญาว่าจะไม่รุกรานปักกิ่งและเทียนจิน แต่ฝ่ายจีนต้องทำการปราบปราบองค์กรต่อต้านญี่ปุ่นในเมืองทั้งสอง จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ประทะกันเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่สะพานมาร์โคโปโล และจะต้องให้นายพลซังผู้บัญชาการกองพล 29 เท่านั้นเป็นผู้มาขอขมาต่อกองกำลังญี่ปุ่น เมื่อฝ่ายจีนไม่สามารถรับเงื่อนไขได้ทั้งหมด ฝ่ายญี่ปุ่นจึงบุกเข้ากรุงปักกิ่งโดยใช้กองกำลังเต็มอัตราที่มีอยู่ กองกำลังฝ่ายจีนกองพันที่ 37 และ 132 พยายามฝ่าแนวญี่ปุ่นเข้านครปักกิ่งและถูกปิดกั้นอย่างหนักและก็สามารถฝ่าเข้าไปได้อย่างบอบช้ำ หลายวันต่อมาเมื่อถูกล้อมหนักมากขึ้น กองพล 29 จึงได้ตีฝ่าวงล้อมของข้าศึกออกไปจากกรุงปักกิ่งแต่ก็ถูกล้อมอีก กองทัพญี่ปุ่นสามารถเข้ากรุงปักกิ่งได้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม โดยปราศจากการต่อต้านและตั้งนายพลซังเป็นนายกเทศมนตรี แต่เขาก็หนีออกจากเมืองไปอย่างลับ ๆ ในสัปดาห์ต่อมา
เหตุการณ์หลังจากนั้น
แก้หลังจากกรุงปักกิ่งและเทียนจินถูกยึดครอง ที่ราบจีนตอนเหนือก็ตกเป็นเป้าการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นที่มีอาวุธทันสมัยต่อจนถูกยึดครองทั้งหมดในปลายปีนั้น กองทัพจีนก๊กมินตั๋งและกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้รบไปแต่ล่าถอยไปโดยตลอดจนกระทั่งได้รับชัยชนะต่อกองทัพญี่ปุ่นอย่างยากเย็นที่ไทเออซวง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2480
วัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้- ภาพยนตร์เรื่อง สงครามสะพานนรก (สงครามสะพานมาร์โก โปโล) (จีน: 七七事变 1995), เป็นภาพยนตร์จีนปี ค.ศ. 1995 บอกเล่าเหตุการณ์การปะทะระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพจีน (ที่ประกอบไปด้วยพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ในช่วงกรณีพิพาทที่สะพานมาร์โก โปโล วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Wang Yi (2004). Common Knowledge about Chinese History. Hong Kong China Travel Press. p. 185. ISBN 962-8746-47-2.
- ↑ "Qin Dechun". Generals.dk. สืบค้นเมื่อ 14 May 2015.
- ↑ Japanese War History library (Senshi-sousyo) No.86 [Sino-incident army operations 1 until 1938 Jan.] Page138