ประเสริฐ รุจิรวงศ์
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ (4 ธันวาคม 2454 – 19 มกราคม 2527) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมรสกับคุณหญิง น้อย รุจิรวงศ์
ประเสริฐ รุจิรวงศ์ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2506 – 1 ตุลาคม 2515 | |
ก่อนหน้า | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (รักษาราชการแทน) |
ถัดไป | ประภาส จารุเสถียร (รักษาราชการแทน) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม 2512 – 14 ตุลาคม 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) |
ถัดไป | อุดม โปษะกฤษณะ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ธันวาคม 2506 – 7 มีนาคม 2512 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ทวี แรงขำ | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน 2511 – 8 มีนาคม 2512 | |
ก่อนหน้า | สุนทร หงส์ลดารมภ์ |
ถัดไป | บัวเรศ คำทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2454 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 19 มกราคม พ.ศ. 2527 (72 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิง น้อย รุจิรวงศ์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก[1] พลตำรวจเอก[2] |
ประวัติ
แก้พล.ต.อ. ประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2454 เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2470 และได้รับปริญญาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2504 เริ่มต้นรับราชการในปี พ.ศ. 2491 ในตำแหน่ง ราชองครักษ์เวร และได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[3]
ในปี พ.ศ. 2495 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ผู้บังคับกองพลน้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2500 [4] และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2500 [5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้รักษาการอธิบดีกรมตำรวจ ในปี พ.ศ. 2502 โดยได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2503 และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2506
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอธิการบดีลำดับที่ 3
เหตุการณ์ 14 ตุลา
แก้ในการรัฐประหารรัฐบาลตนเองของจอมพล ถนอม กิตติขจร ได้มีการแต่งตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติเพื่อปกครองประเทศซึ่งมีจอมพลถนอม เป็นประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายศึกษาและสาธารณสุขด้วย[6] ซึ่งการแต่งตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งชนวนเหตุของเหตุการณ์ 14 ตุลา
หน้าที่ราชการ
แก้พลตำรวจเอก ประเสริฐ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในหน้าที่ราชการ การเมือง อาทิ
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2512)[7]
- อธิบดีกรมตำรวจ (พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2515) [8]
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2512)[9]
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (11 มีนาคม พ.ศ. 2512 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) และ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[13]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[14]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[16]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[19]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[20]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2502 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2503 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 1[21]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[22]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 1[23]
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิม กานท์ ชั้นที่ 2[24]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1[25]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 1[26]
- มาเลเซีย :
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 1[29]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 1[29]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณทางการทูต ชั้นที่ 1[29]
- ลาว :
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 1[30]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2510 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 1 (เงิน)[24]
- สหราชอาณาจักร :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ชั้นประถมาภรณ์ (ฝ่ายพลเรือน)[24]
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ชั้นอธิประธานา[24]
อ้างอิง
แก้- ↑ ได้รับพระราชทานยศพลเอก
- ↑ ได้รับพระราชทานยศพลตำรวจเอก
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- ↑ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งข้าราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอน 79 ง หน้า 2 21 กันยายน พ.ศ. 2500
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอน 98 ง หน้า 2735 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500
- ↑ ชนวนเหตุ 14 ตุลา[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (พลเอก จิตติ นาวีเสถียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และพลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน เล่ม 80 ตอน 120 ง หน้า 2715 17 ธันวาคม พ.ศ. 2506
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอน 56ง วันที่ 20 มิถุนายน 2511
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๕๓, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๑๗๐๒, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๒, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๑๐๐, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๔๒๘, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๒๒, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๖, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๖
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 (2527). ที่ระลึกในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2527 ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส. บริษัทกราฟิคอาร์ต (1977) จำกัด.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๐ ง หน้า ๔๘๙, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๙๖๕, ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๔๐๐, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๗
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1972.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๐
ก่อนหน้า | ประเสริฐ รุจิรวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | อธิบดีกรมตำรวจ (พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2515) |
จอมพล ประภาส จารุเสถียร | ||
พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (9 มีนาคม พ.ศ. 2512 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อุดม โปษะกฤษณะ | ||
พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2511 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2512) |
ศาสตารจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง |