ประภาส จารุเสถียร
จอมพล ประภาส จารุเสถียร (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540) นามเดิม ตุ๊ จารุเสถียร เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เขาเป็นจอมพลแห่งกองทัพบกไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร
ประภาส จารุเสถียร | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และสุกิจ นิมมานเหมินทร์ | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ดำรงตำแหน่งร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และพจน์ สารสิน | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | สุกิจ นิมมานเหมินทร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | |
ก่อนหน้า | เผ่า ศรียานนท์ |
ถัดไป | กมล วรรณประภา |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
ก่อนหน้า | ถนอม กิตติขจร |
ถัดไป | กฤษณ์ สีวะรา |
รักษาราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
ก่อนหน้า | ประเสริฐ รุจิรวงศ์ |
ถัดไป | ประจวบ สุนทรางกูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 จังหวัดอุดรธานี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (84 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีมนังคศิลา (2498–2500) พรรคชาติสังคม (2500–2501) พรรคสหประชาไทย (2511–2514) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร |
บุตร | 6 คน |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2476–2516 |
ยศ | ![]() ![]() ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพบก และกรมตำรวจ |
ประวัติ แก้ไข
ประภาสเกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ปีชวด ณ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของอำมาตย์เอก พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร)[1] และเจ้าบัวตอง (ณ ลำปาง) ประภาสสมรสกับ ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร (บุตรของร้อยตรี วอน และนางฮวย ปานประสิทธิ์) มีพี่ชายต่างมารดาที่สำคัญคนหนึ่งคือ พลเอก จำเป็น จารุเสถียร อดีตสมุหราชองครักษ์ อดีตนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประภาสจบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดราชาธิวาส
บุตรธิดา แก้ไข
ประภาสมีบุตร 6 คน ได้แก่
- ร้อยโท ตวงสิทธิ์ จารุเสถียร
- ร้อยเอกหญิง สุมิตรา จารุเสถียร
- สุภาพร กิตติขจร (สมรสกับ พันเอก ณรงค์ กิตติขจร)
- พลโท ประยุทธ จารุเสถียร
- คุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา (สมรสกับพลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
- คุณหญิงศุภนภา อัตตะนันท์ (สมรสกับพลเอก สมทัต อัตตะนันทน์)
ประภาสถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540 รวมอายุ 84 ปี 267 วัน ต่อมาในวันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2541 เวลา 17.43 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[2]
การรับราชการ แก้ไข
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ได้รับพระราชทานยศเป็น "ร้อยตรี"[3]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2478 เลื่อนยศเป็น "ร้อยโท"[4]
- 27 ตุลาคม พ.ศ. 2479 โอนเป็นตำรวจปรับยศเป็น "ร้อยตำรวจเอก"[5]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2480 โอนกลับเป็นทหารปรับยศเป็น "ร้อยเอก"[6]
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 รับพระราชทานยศ "พันโท"[7]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2491 รับพระราชทานยศเป็น "พันเอก"[8]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2500[9] ได้รับพระราชทานยศเป็น"พลโท"
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1[10]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2502 ได้รับพระราชทานเป็น "พลเอก"[11]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก[12]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจอีกตำแหน่งหนึ่ง[13] และพระราชทานยศให้เป็นพลตำรวจเอก[14]
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ[15]
ตำแหน่งและหน้าที่ราชการพิเศษ แก้ไข
- โปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์เวร และเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- เป็นสมาชิกสภาผู้แทนประเภท 2
- พ.ศ. 2499 เข้ารับการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร กรมเสนาธิการกลาโหม ชุดที่ 1
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[16]
- 23 กันยายน พ.ศ. 2500 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐบาลที่พจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี
- 1 มกราคม พ.ศ. 2501 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในคณะรัฐบาลที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
- 7 กันยายน พ.ศ. 2504 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[17]
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐบาลที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี[18]
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลทหารสูงสุด[19]
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ้นตำแหน่งและสิ้นสุดสภาพรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 27 ธันวาคม พ.ศ. 2515 โปรดเกล้าฯให้เป็น นายตำรวจราชสำนักพิเศษ[20]
- 10 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ผู้อำนวยการศูนย์ปราบจลาจลที่กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์สวนรื่นฤดี[21]
บทบาททางการเมือง แก้ไข
ประภาสมีบทบาทอย่างมากในการเมืองในแต่ละยุค แต่ละสมัย ในฐานะของนายทหาร ตั้งแต่ยังเป็นนายทหารยศ "ร้อยโท" ในเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 เป็นผู้ใช้ปืนยิงพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) เสนาธิการของฝ่ายกบฏ ถึงแก่ชีวิต พระยาศรีสิทธิสงครามนั้นตั้งใจเดินมาเพื่อขอเจรจาด้วย ณ สถานีรถไฟหินลับ จังหวัดสระบุรี ประภาสยังเข้าร่วมในรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และปราบกบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 เคียงข้างจอมพล ถนอม กิตติขจร มาตลอด[22][23]
ตั้งแต่ยังมีสถานะเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปีที่ 4 ในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ประภาสก็เป็นหนึ่งในคณะนักเรียนนายร้อยทหารบกจำนวน 111 นายที่บุกวังบางขุนพรหมร่วมกับคณะนายทหารและพลเรือนบางส่วนของคณะราษฎร เพื่อควบคุมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเข้าควบคุมกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอีกด้วย[24]
ภายหลังการอสัญกรรมของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2506 แล้ว จอมพล ถนอม กิตติขจร จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ บทบาทของประภาสเปรียบเสมือนมือขวาคนสำคัญของถนอม โดยเป็นรองนายกรัฐมนตรี แม้ถนอมพูดน้อย มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในระยะแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายาว่า "นายกฯ คนซื่อ" แต่ประภาสกลับไม่ได้รับความไว้วางใจเฉกเช่นถนอม เนื่องจากปัญหาการทุจริตและการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบหลายประการ ประภาสเป็นเสมือนปากกระบอกเสียงให้แก่ ถนอม เพราะ "พูดเก่ง มีลีลาแพรวพราว และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งคู่ก็แน่บแน่น" เพราะพันเอก ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายของถนอม สมรสกับบุตรสาวของประภาส
ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา มีข้อมูลระบุว่า หลังจากเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว ถนอมต้องการลาออก แต่ทั้งประภาสและณรงค์ไม่ยินยอม และพยายามเกลี้ยกล่อมให้ถนอมเปลี่ยนความคิด แต่ท้ายที่สุดถนอมก็ลาออก และทั้ง 3 ก็เดินทางออกนอกประเทศทันที ประภาสไปอยู่ที่ไทเป ประเทศไต้หวัน พร้อมกับณรงค์ บุตรเขย จากนั้น ถนอมหวนกลับคืนมาสู่ประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2519 แต่ถูกต่อต้านอย่างหนัก จึงเดินทางกลับ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่นาน[25]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้ไข
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[26]
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[27]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[28]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[29]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[30]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ (ร.ด.ม.(ห))[31]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[32]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[33]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[34]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[35]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[36]
- พ.ศ. 2488 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[37]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[38]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[39]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข
- เกาหลีใต้ :
- พม่า :
- พ.ศ. 2499 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นมหาสเรสิธุ (ฝ่ายทหาร)[42]
- สเปน :
- พ.ศ. 2500 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณทหารแห่งสเปน ชั้นอัศวินมหากางเขน[43]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2504 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1[44]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2505 - เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นพิเศษ[45]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2505 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2505 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2506 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นประถมาภรณ์[46]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2506 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 1[47]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2507 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปัง กวน เนการา ชั้นที่ 1[48]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2507 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 1[49]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2509 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[41]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นประถมาภรณ์[50]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นที่ 1[50]
- ลาว :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นประถมาภรณ์[51]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง[50]
ลำดับสาแหรก แก้ไข
พงศาวลีของประภาส จารุเสถียร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ชีวประวัติ ประภาส จารุเสถียร
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พุทธศักราช 2541
- ↑ แจ้งความ พระราชทานยศนักเรียนนายร้อยและนายดาบ (หน้า 2186)
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหารบก
- ↑ ประกาศพระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 302)
- ↑ เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ เรื่องพระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม 81 ตอน 87 ง พิเศษ หน้า 2 11 กันยายน พ.ศ. 2507
- ↑ รักษาราชการแทนพลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ตามคำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติ ที่ 345/2515 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2515
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอน 4 ง พิเศษ หน้า 1 12 มกราคม พ.ศ. 2516
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เล่ม 90 ตอน 64 ง พิเศษ หน้า 1 6 มิถุนายน พ.ศ. 2516
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 30 ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอน 72 ง พิเศษ หน้า 6 8 กันยายน พ.ศ. 2504
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 19 ราย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งและถอดถอนตุลาการศาลทหารสูงสุด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 84 ตอน 18 ง หน้า 660 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอน 43 ง หน้า 1270 24 เมษายน พ.ศ. 2516
- ↑ ชนวนเหตุ 14 ตุลา
- ↑ วาสนา นาน่วม. เส้นทางเหล็ก...พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ตุลาคม, 2546. 288 หน้า. ISBN 978-974-323-792-8
- ↑ รุ่งมณี เมฆโสภณ. อำนาจ 2. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2555. 183 หน้า. ISBN 978-616-536-079-1
- ↑ นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 260.
- ↑ ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 81 ตอนที่ 42 ง ฉบับพิเศษ หน้า 5, 7 พฤษภาคม 2507
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม 90 ตอนที่ 57 ง ฉบับพิเศษ หน้า 23, 24 พฤษภาคม 2516
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 76 ตอนที่ 115 ง ฉบับพิเศษ หน้า 37, 16 ธันวาคม 2502
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 74 ตอนที่ 107 ง หน้า 2993, 17 ธันวาคม 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 105 ตอนที่ 95 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2, 15 มิถุนายน 2531
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ส่งเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 51 ตอนที่ 0 ง หน้า 440, 6 พฤษภาคม 2477
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 58 ตอนที่ 0 ง หน้า 4829, 9 ธันวาคม 2484
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 79 ตอนที่ 83 ง ฉบับพิเศษ หน้า 1, 8 กันยายน 2505
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม 86 ตอนที่ 87 ง หน้า 3029, 7 ตุลาคม 2512
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม 51 ตอนที่ 0 ง หน้า 2244, 7 ตุลาคม 2477
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 75 ตอนที่ 50 ง หน้า 1873, 1 กรกฎาคม 2501
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 62 ตอนที่ 55 ง หน้า 1474, 2 ตุลาคม 2488
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 8 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 67 ตอนที่ 39 ง หน้า 3040, 18 กรกฎาคม 2493
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 76 ตอนที่ 53 ง หน้า 1399, 19 พฤษภาคม 2502
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอน 72 เล่มที่ 85 หน้า 2651, 1 พฤศจิกายน 2498
- ↑ 41.0 41.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 83 ตอนที่ 87 ฉบับพิเศษ หน้า 24, 1 ตุลาคม 2509
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 36, 31 มกราคม 2499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 51 หน้า 1303, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชนุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 78 ตอนที่ 58 หน้า 1688, 18 กรกฏาคม 2504
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 79 ตอนที่ 95 หน้า 2254, 23 ตุลาคม 2505
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1319, 30 เมษายน 2506
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 101 หน้า 2356, 15 ตุลาคม 2506
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 81 ตอนที่ 90 ฉบับพิเศษ หน้า 2450, 16 พฤษภาคม 2507
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 81 ตอนที่ 29 ฉบับพิเศษ หน้า 965, 31 มีนาคม 2507
- ↑ 50.0 50.1 50.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 65 ฉบับพิเศษ หน้า 14, 16 กรกฎาคม 2510
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 22, 14 กรกฏาคม 2510
ก่อนหน้า | ประภาส จารุเสถียร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 28) (1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501) |
ถนอม กิตติขจร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ | ||
ถนอม กิตติขจร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 30–31) (9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) |
สุกิจ นิมมานเหมินท์ | ||
พจน์ สารสิน | รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 32) (18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
สุกิจ นิมมานเหมินท์ | ||
เผ่า ศรียานนท์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 27, 28, 29, 30, 31, 32) (23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) (19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
กมล วรรณประภา | ||
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ | อธิบดีกรมตำรวจ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
พลตำรวจเอก ประจวบ สุนทรางกูร | ||
จอมพล ถนอม กิตติขจร | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
พลเอก กฤษณ์ สีวะรา | ||
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์ | อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (7 กันยายน พ.ศ. 2504 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2512) |
ศาสตราจารย์อุปการคุณ ดร.แถบ นีละนิธิ |