ราชอาณาจักรกรีซ

รัฐกรีซอันดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1832 ถึง 1923 และอีกครั้งจาก ค.ศ. 1935 ถึง 1973

ราชอาณาจักรกรีซ (กรีก: Βασίλειον τῆς Ἑλλάδος, Vasíleion tīs Elládos; อังกฤษ: Kingdom of Greece) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรเฮลเลนิก (อังกฤษ: Kingdom of Hellenic) สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1832 ในการประชุมกรุงลอนดอน โดยกลุ่มประเทศมหาอำนาจซึ่งได้แก่ สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส และจักรวรรดิรัสเซีย จนได้รับการรับรองจากนานาประเทศในโลกอันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล ทำให้ราชอาณาจักรกรีซมีเอกราชเป็นของตนเองอย่างสมบูรณ์และมั่นคง ซึ่งไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมันอีกต่อไป โดยเอกราชของกรีซนี้เป็นผลสำเร็จมาจากการเรียกร้องเอกราชโดยรัฐบาลพลัดถิ่นแห่งกรีซ และมาจากสงครามเรียกร้องเอกราชของกรีซ (โดยมีสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และจักรวรรดิรัสเซียคอยให้การช่วยเหลือและสนับสนุน) ซึ่งในการปกครองของราชอาณาจักรนั่นมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขของประเทศมาตั้งแต่สถาปนาเอกราช จนในปี ค.ศ. 1924 พระราชวงศ์และสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ถูกล้มล้าง จนได้สถาปนา สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2 ขึ้นมา แต่ในภายหลังก็ได้มีการฟื้นฟูพระราชวงศ์ขึ้นมาและได้สถาปนาสถาบันพระมหากษัตริย์กลับมาเป็นพระประมุขของประเทศดังเดิมอีกครั้ง จนในท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1974 พระราชวงศ์ก็ถูกล้มล้างอีกครั้งอันเป็นผลมาจากการปกครองแบบเผด็จการทหาร ภายใต้การนำโดยพรรคการเมืองทหารของกรีซ และได้ก่อตั้งสาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3 มาจนถึงปัจจุบัน

ราชอาณาจักรเฮลเลนิก

Βασίλειον τῆς Ἑλλάδος
Vasíleion tīs Elládos
ราชอาณาจักรกรีซ
1832–1924
1924–1935: สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
1935–1941
1941–1944: รัฐบาลพลัดถิ่น
1944–1973a
เพลงชาติอีมนอสเอสตีนเอเลฟเทริอัน
Ύμνος εις την Ελευθερίαν
"เพลงสรรเสริญแด่เสรีภาพ"
สถานะสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(ค.ศ. 1832–1843)
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(ค.ศ. 1843–1924, 1944–1974)
เมืองหลวงNafplio (1832–1834)
เอเธนส์ (1834–1973)
ภาษาทั่วไปภาษากรีก
ศาสนา
ศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธด็อกซ์
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ค.ศ. 1832–1843)
ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ค.ศ. 1843–1924, ค.ศ. 1944–1974)
รัฐรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ
(ค.ศ. 1936–1941, ค.ศ. 1967–1973)
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1832–1862
สมเด็จพระราชาธิบดีออตโต (พระองค์แรก)
• ค.ศ. 1964–1974
สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 (พระองค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนาราชอาณาจักร
30 สิงหาคม ค.ศ. 1832
• เปลี่ยนแปลงการปกครอง
ค.ศ. 1843
• การเข้ายึดครองของฝ่ายอักษะ
ค.ศ. 1941
• การปกครองของพรรคการเมืองทหาร
21 เมษายน ค.ศ. 1967
8 ธันวาคม ค.ศ. 1974
สกุลเงินดราชมา
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 1
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
การยึดครองของฝ่ายอักษะ
พรรคทหารแห่งกรีซ (ค.ศ. 1967-1974)

ราชวงศ์วิทเทิลแบช

แก้

การปฏิวัติวันที่ 3 กันยายน

แก้

การปฏิวัติ 3 กันยายน พ.ศ. 2386 ( ภาษากรีก : Επανάσταση της 3ης Σεπτεμβρίου ) เป็นการก่อจลาจลโดยกองทัพกรีกในกรุงเอเธนส์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อต่อต้านการ ปกครองแบบ เผด็จการของกษัตริย์ออตโต กลุ่มกบฏซึ่งนำโดยทหารผ่านศึกจากสงครามประกาศอิสรภาพของกรีกเรียกร้องให้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญและการจากไปของ เจ้าหน้าที่ บาวาเรียที่ครอบงำรัฐบาล การปฏิวัติประสบความสำเร็จ ทำให้เข้าสู่ยุคของระบอบรัฐธรรมนูญ (ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2387 ) ด้วยคะแนนเสียงสากลในกรีซ

ราชวงศ์กลุคเบิร์ก

แก้

การรัฐประหารในกรีซ ค.ศ. 1967

แก้

หลังกรีกได้รับการปลดปล่อยจากการถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์กับเสรีนิยมในนามสงครามเย็นค่อย ๆ ก่อตัวกลายเป็นความขัดแย้งภายในของกรีกจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองกรีซซึ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 สงครามดังกล่าวเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายอนุรักษ์ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและยูโกสลาเวีย ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์ได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา โดยอเมริกาที่ยึดหลักการทรูแมน มองว่า กรีซเป็นรัฐที่มีความเสี่ยงในการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ในที่สุดในปี ค.ศ. 1952 กรีซได้รับการยอมรับเข้าร่วมสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ซึ่งในขณะนั้นกรีซเป็นเพียงไม่กี่ประเทศบนคาบสมุทรบอลข่านที่ยังไม่เป็นคอมมิวนิสต์

หลังสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลขวาจัดได้ครองอำนาจอย่างยาวนานในกรีซ โดยมีสมเด็จพระเจ้าพอลที่ 1 ที่ได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 1949-1964 มีการแต่งตั้งประธานาธิบดีหลายคน หนึ่งในนั้นคือ Konstatinos Karamanlis ซึ่งภายหลังความขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าพอลที่ 1 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1963 และทำให้กรีซต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งพรรคอนุรักษ์ของ Karamanis นาม ERE พ่ายแพ้ต่อพรรคซ้ายภายใต้การนำของ Goorgios Papandreous การกลับมาของฝ่ายซ้ายและการสวรรคตของกษัตริย์สมเด็จพระเจ้าพอลที่ 1 ในปี 1964 นำไปสู่การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 และเหตุการณ์ค่อยๆ ก่อกลายเป็นชนวนของรัฐประหารในปี ค.ศ. 1967

นับจากปี ค.ศ. 1965 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลฝ่ายซ้ายของ Papadreous กับราชสำนักไม่ค่อยดีนัก ฝ่ายราชสำนักเองทราบดีว่าพรรคฝ่ายซ้ายต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ Papadreous ก็ไม่ได้คิดที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์ และพยายามทำให้กองทัพกรีซอยู่ภายใต้อำนาจของเขาโดยการเรียกร้องให้รัฐมนตรีกลาโหมที่ขณะนั้นลาออก แต่ได้รับการปฏิเสธ ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 ทรงพยายามแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากสภาเช่นกัน ความขัดแย้งทั้งหมดได้นำไปสู่การจัดตั้งองค์กร Aspida ซึ่งมีนายทหารระดับสูงกว่า 28 นายเข้าร่วมเพื่อยึดอำนาจ การผนึกกำลังภายในของกองทัพกับสถาบันและกำลังภายนอกจากเสรีนิยมอย่างอเมริกา เพื่อป้องกันภัยจากลัทธิฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์ได้นำไปสู่การรัฐประหารในเย็นวันที่ 21 เมษายน ค.ศ 1967[1]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศาสตรา โตอ่อน. "เหตุแห่งการรัฐประหารในกรีก ปี 1967 เมื่อฝ่ายประชาธิปไตยสองขั้ว เอาและไม่เอารัฐประหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (HTML)เมื่อ 2011-10-03. สืบค้นเมื่อ 2011-10-02.
  • Woodhouse, C.M. (1998). Modern Greece a Short History. London: Faber & Faber. ISBN 0-571-19794-9.