สุนทร หงส์ลดารมภ์
สุนทร หงส์ลดารมภ์ (23 สิงหาคม พ.ศ. 2455 – 16 กันยายน พ.ศ. 2548) อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุนทร หงส์ลดารมภ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 | |
ก่อนหน้า | โชติ คุณะเกษม |
ถัดไป | เสริม วินิจฉัยกุล |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มิถุนายน พ.ศ. 2509 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 | |
ก่อนหน้า | พ.อ.พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) |
ถัดไป | พ.อ.พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2455 อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ |
เสียชีวิต | 16 กันยายน พ.ศ. 2548 (93 ปี) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิง ลำเจียก หงส์ลดารมภ์ |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
สุนทร หงส์ลดารมภ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2455 ที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์[1] เป็นบุตรของนายลองตอง และนางพลอย หงส์ลดารมภ์
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์[2] และได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยเวย์มัธ ประเทศอังกฤษ ในระดับปริญญาตรี และจบปริญญาโทอักษรศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
การทำงานแก้ไข
สุนทร หงส์ลดารมภ์ ทำงานเป็นอาจารย์สอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอาจารย์พิเศษในโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข และโรงเรียนเทพศิรินทร์ พ.ศ. 2482 ย้ายไปอยู่กรมโฆษณาเป็นหัวหน้าแผนกต่างประเทศและเป็นหัวหน้ากองต่างประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2489 ได้ย้ายไปรับราชการเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
การเมืองแก้ไข
รัฐบาลสฤษดิ์แก้ไข
พ.ศ. 2502 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์[3] ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[4] ต่อมา พ.ศ. 2506 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง[5] จนกระทั่งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
รัฐบาลถนอมแก้ไข
หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรม พลเอก ถนอม กิตติขจรได้จัดตั้งรัฐบาล โดยนายสุนทร หงส์ลดารมภ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่ออีกสมัย[6] ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ[7] ก่อนจะลาออกเมื่อ พ.ศ. 2511[8]
รัฐบาลเกรียงศักดิ์แก้ไข
ต่อมาใน พ.ศ. 2520 นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[9] ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521[10]
ครอบครัวแก้ไข
สุนทร หงส์ลดารมภ์ สมรสกับท่านผู้หญิง ลำเจียก หงส์ลดารมภ์ (สกุลเดิม:โคบุตร) มีบุตรธิดารวม 6 คน คือ
- นายสมคะเน หงส์ลดารมภ์
- นายลิขิต หงส์ลดารมภ์
- นางกรรณิการ์ อุเทนสุต
- นายจีระ หงส์ลดารมภ์
- นายสาโรช หงส์ลดารมภ์
- นายสัณห์ หงส์ลดารมภ์
สุนทร หงส์ลดารมภ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2548 สิริอายุ 92 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2503 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2500 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[13]
- พ.ศ. - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
- พ.ศ. - เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2487- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 4 (อ.ป.ร.4)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ บุคคลสำคัญ :: ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์
- ↑ นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ - หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
- ↑ นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ - กระทรวงการคลัง
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ปรับปรุงและแต่งตั้งรัฐมนตรี (ให้นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และตั้งนายเสริม วินิจฉัยกุล ดำรงตำแหน่งแทน)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 30 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายสุนทร หงส์ลดารมภ์ (ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว.) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 เวลา 17.00 น.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า | สุนทร หงส์ลดารมภ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) |
40x40px อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2509 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511) |
พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) |