พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)
พันเอก (พิเศษ) พระยาศรีวิสารวาจา (นามเดิม เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล: 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2511) อดีตองคมนตรี อดีตอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อดีตปลัดทูลฉลอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหนึ่งในผู้ร่างกฎหมายที่จะนำมาใช้เป็นรัฐธรรมนูญถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) และนายเรมอนต์ บี สตีเวนส์ ซึ่งทรงมีกำหนดที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475[1]
พันเอกพิเศษ พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) | |
---|---|
![]() | |
กรรมการองคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน พ.ศ. 2472 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2476 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 เมษายน พ.ศ. 2495 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ดำรงตำแหน่ง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2505 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |
นายกรัฐมนตรี | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะเสนาบดี) |
ถัดไป | พระยาอภิบาลราชไมตรี |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | หลวงอรรถกิติกำจร |
ถัดไป | หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล |
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มิถุนายน – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กุมภาพันธ์ – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | ดิเรก ชัยนาม |
ถัดไป | ปรีดี พนมยงค์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 23 มีนาคม พ.ศ. 2511 (72 ปี) ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา |
ประวัติ แก้ไข
พระยาศรีวิสารวาจา มีเชื้อสายจีนไหหลำ มีชื่อจีนว่า ฮุ่นเซ็กเตี่ยน[2] เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายอุ่นตุ้ยกับนางทองคำ ฮุนตระกูล
พระยาศรีวิสารวาจา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และระดับอุดมศึกษา คณะนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด บาร์ริสเตอร์มิดเดิลเทมเปิล[3] ด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งในสภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7 และองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9[4]
สมรสกับคุณหญิงมากาเร็ต ลิน เซเวียร์ บุตรสาวของพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน ซาเวียร์)[ลิงก์เสีย] ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งสองมีบุตรธิดารวม 3 คน[5] ได้แก่ นายกิตติรัต ศรีวิสารวาจา, ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล และท่านผู้หญิงสาวิตรี ศรีวิสารวาจา[6]
การทำงาน แก้ไข
พระยาศรีวิสารวาจา มีบทบาทในทางการเมืองเป็นสมาชิกและเป็น ส.ส. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[7] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
บทบาทในทางวิชาการดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2507
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้ไข
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2473 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[12]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[13]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2511 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 1[15]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ทันพงษ์ รัศนานันท์. ลุงคำตัน ชีวิต / อุดมการณ์ / ความหวัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เพอร์เฟคท์ พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2550. หน้า หน้าที่. ISBN 974-94983-3-x ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: invalid character
- ↑ ลูกหลานชาวจีนฮุ่นเซ็กเตี่ยน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระยาศรีวิสารวาจา จบการศึกษา". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-09-24.
- ↑ จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
- ↑ ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5
- ↑ สมโชติ อ๋องสกุล. "พันเอกพระยาศรีวิสารวาจา". ร่มพยอม. p. 8. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗ ง หน้า ๑๒๐๙, ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๒, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๘๗, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๓๔, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๕๓๐, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
- ↑ เครื่องอิสริยาภรณ์จิงยุน ชั้นที่ 1
- สำนักนายกรัฐมนตรี, ศรีวิสารวาจา, พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2511. [นายกรัฐมนตรี พิมพ์เป็นบรรณาการ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา]
ก่อนหน้า | พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ก่อนสมัยที่ 2 สุนทร หงส์ลดารมภ์ |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สมัยที่ 1 21 เม.ย. พ.ศ. 2507 — 1 มิ.ย. พ.ศ. 2509 สมัยที่ 2 10 ก.พ. พ.ศ. 2511 — 23 มี.ค. พ.ศ. 2511) |
หลังสมัยที่ 1 สุนทร หงส์ลดารมภ์ หลังสมัยที่ 2 ประเสริฐ รุจิรวงศ์ |