ถนอม กิตติขจร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จอมพล ถนอม กิตติขจร ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๓ ภ.ป.ร. ๑ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 12 ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2516 ซึ่งในระหว่างนั้นเขาได้ก่อรัฐประหารตนเองใน พ.ศ. 2514 จนกระทั่งเกิดการประท้วงในที่สาธารณะซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงทำให้เขาต้องลาออกจากตำแหน่งและลี้ภัยออกนอกประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร บุตรชายภายหลังเหตุการณ์จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระเป็นชนวนไปสู่การขับไล่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก[1]
ถนอม กิตติขจร | |
---|---|
จอมพล ถ. กิตติขจร ในปี พ.ศ. 2511 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 10 | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | จอมพล ประภาส จารุเสถียร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พจน์ สารสิน |
ก่อนหน้า | จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ถัดไป | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | จอมพลประภาส จารุเสถียร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สุกิจ นิมมานเหมินทร์ |
ก่อนหน้า | พจน์ สารสิน |
ถัดไป | จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ก่อนหน้า | สุกิจ นิมมานเหมินทร์ |
ถัดไป | จอมพลประภาส จารุเสถียร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตนเอง |
ก่อนหน้า | จอมพลป. พิบูลสงคราม |
ถัดไป | พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ถัดไป | จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 30 กันยายน พ.ศ. 2516 | |
ก่อนหน้า | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ถัดไป | พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 | |
ก่อนหน้า | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ถัดไป | จอมพล ประภาส จารุเสถียร |
นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งมหาวิทยาลัย |
ถัดไป | สุกิจ นิมมานเหมินท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ถนอม 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 เมืองตาก ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (92 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติสังคม (2500) สหประชาไทย (2511) |
คู่สมรส | จงกล ถนัดรบ (สมรส 2473) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ | พล.ต.ต. สง่า กิตติขจร (น้องชาย) |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2472 – พ.ศ. 2516 |
ยศ | จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
ผ่านศึก | |
จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ ได้ชื่อว่าเป็น "จอมพลคนสุดท้าย"[2] ที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในประวัติศาสตร์ไทย ภายหลังเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี 309 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
แก้จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ณ บ้านหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางลิ้นจี่ โสภิตบรรณลักษณ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน ได้แก่
- นางรำพึง พันธุมเสน (ถึงแก่กรรม)
- เด็กหญิง ลำพูน กิตติขจร (ถึงแก่กรรม)
- จอมพล ถนอม กิตติขจร (ถึงแก่กรรม)
- นางสุรภี ชูพินิจ (ถึงแก่กรรม)
- นายสนิท กิตติขจร (ถึงแก่กรรม)
- นางสายสนม กิตติขจร อดีตนายกสมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย (ถึงแก่กรรม)
- พล.ต.ต. สง่า กิตติขจร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ถึงแก่อนิจกรรม)
- นางปราณีต สุคันธวณิช อดีตนายกสมาคมส่งเสริมการศึกษาในถิ่นกันดาร ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ถึงแก่กรรม)
จอมพล ถนอม กิตติขจร มีแซ่ในภาษาจีนว่า ฝู (จีน: 符; พินอิน: fú) เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตาก หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก, โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ
จอมพล ถนอม ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2504[3] จอมพล ถนอม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2503[4] - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506[5]
ครอบครัว
แก้จอมพล ถนอม กิตติขจร สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม ถนัดรบ) บุตรีของ พ.ต. หลวง จบกระบวนยุทธ์ (แช่ม ถนัดรบ) และคุณหญิงเครือวัลย์ จบกระบวนยุทธ์ ท่านผู้หญิงจงกลเป็นอดีตประธานกรรมการมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอดีตประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทั้งสองคนมีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่
- นางนงนาถ เพ็ญชาติ (พ.ศ. 2474 – ปัจจุบัน) สมรสกับ นายชำนาญ เพ็ญชาติ มีบุตรธิดา 3 คนหนึ่งในนั้นคือ เศรณี เพ็ญชาติ บิดาของปวริศา เพ็ญชาติ
- พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร (พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2567) สมรสกับ นางสุภาพร (จารุเสถียร) กิตติขจร บุตรสาวของจอมพลประภาส จารุเสถียร มีบุตรธิดา 4 คน
- คุณหญิงนงนุช จิรพงศ์ (พ.ศ. 2480 – ปัจจุบัน) สมรสกับ พล.อ. เอื้อม จิรพงศ์ มีบุตรธิดา 4 คน
- พล.อ.อ. ยุทธพงศ์ กิตติขจร (พ.ศ. 2482 – ปัจจุบัน) อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ สมรสกับ นางทิพยา (ภมรมนตรี) กิตติขจร มีบุตรธิดา 3 คน
- คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี (พ.ศ. 2486 – ปัจจุบัน) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 สมรสกับ ร.ท. ดร. สุวิทย์ ยอดมณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีบุตร 3 คน นายสุวงศ์ ยอดมณี ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย[6] สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน
- คุณหญิงทรงสมร คชเสนี (พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน) สมรสกับ พล.ร.อ. สุภา คชเสนี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีบุตรธิดา 5 คน
นอกจากนี้ยังรับหลานอีก 2 คน ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาวของท่านผู้หญิงจงกลมาเลี้ยงดู ได้แก่
- พล.ต.ต. นเรศ คุณวัฒน์ สมรสกับ นางอรสา (วิจิตรานุช) คุณวัฒน์ มีบุตร 2 คน
- น.ส.นรา คุณวัฒน์
การรับราชการ
แก้ถนอมรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผบ.หมวด ในกรมทหารราบที่ 8 กองพันทหารราบที่ 1 (ร.8 พัน.1) จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อรัฐประหารซึ่งผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยไม่โดนลงโทษแต่อย่างใด
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ในขณะที่มียศเป็น "พันโท" และดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็น รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 (พล.ร.1) รองแม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพภาคที่ 1 (ทภ.1) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และเป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด มาโดยลำดับจนกระทั่งวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 พล.อ. ถนอม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด [7] สืบต่อจาก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ตาย
ต่อมาในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2507 พล.อ. ถนอม ได้รับพระราชทานยศ จอมพล, จอมพลเรือและจอมพลอากาศ [8]
และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 จอมพล ถนอมได้สละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้กับพล.อ. ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรักษาราชการรองผู้บัญชาการทหารบก โดยเหลือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว[9]
จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของพจน์ สารสิน สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้จอมพล ถนอมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่หลังบริหารประเทศแค่ 9 เดือนเศษ เขาก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อจอมพล สฤษดิ์เสียชีวิต จอมพล ถนอมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพลเผด็จการทหารคนนี้เป็นนายกรัฐมนตรี มีการสร้างทางหลวงสายต่างๆ ทั่วประเทศหลายสาย โดยได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสหรัฐในช่วงสงครามเย็นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ และสร้างเขื่อน เช่น เขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนอุบลรัตน์
ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วยในฐานะพันธมิตรของสหรัฐหรือฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย โดยหลัก ๆ มี สหรัฐ, เกาหลีใต้, ไทย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และฟิลิปปินส์ เพื่อไปสนับสนุนเวียดนามใต้ให้เป็นประชาธิปไตย และเป็นการต่อต้านคอมมิวนิสต์
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย จอมพล ถนอม ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 รอ.) สร้างความไม่พอใจและกระแสต่อต้านในสังคมระยะหนึ่ง ถึงกับมีการอภิปรายในสภาและกังวลกันว่าอาจเป็นชนวนเหตุให้เกิดเหตุร้ายซ้ำอีก[10] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม จอมพลถนอมจึงลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว[11]
บทบาททางการเมือง
แก้หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในปี พ.ศ. 2511 มีการเลือกตั้งทั่วไปและมีรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2514 ถนอม กิตติขจรได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองผลประโยชน์และความทะเยอทะยานของตนเอง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดวิจารณ์อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจเถื่อน ได้แก่ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เขียนจดหมายในนามนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึง ผู้ใหญ่ ทำนุ เกียรติก้อง (หมายถึงจอมพล ถนอม นั่นเอง)
จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายต่อความทะเยอทะยานที่ปราศจากความชอบธรรมในหลักการประชาธิปไตย
จอมพล ถนอม พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพล ถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพล ถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตต้องเป็นจำนวนมาก
จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกรัฐมนตรีในระยะเวลาสั้นๆ หลังการรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ใน พ.ศ. 2501 สมัยที่ 2 - 4 หลังจากจอมพล สฤษดิ์ถึง แก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพล ถนอมจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร
บทบาทหลังออกนอกประเทศ
แก้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม เดินทางกลับประเทศในฐานะสามเณร เนื่องจากสมัคร สุนทรเวชแจ้งว่าราชสำนักอนุญาต[12]: 234 และได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจ้าอาวาสวัดซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงของรัชกาลที่ 9 เป็นผู้อุปสมบทให้: 248 รัชกาลที่ 9 และพระราชินีนาถเสด็จฯ เยี่ยมพระถนอมที่วัดด้วย[13]: 151
ยศทหาร
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[26]
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[27]
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[28]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[29]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.) (ประดับช่อชัยพฤกษ์)[30]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[31]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[32]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[33]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[34]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[35]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[36]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[37]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[38]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[39]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[40]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2504 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2497 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[41]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2501 – เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นพิเศษ[42]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆและธวัช ชั้นพิเศษ
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 1 (ชั้นสายสะพายชั้นพิเศษ)[43]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องอิสริยาภรณ์หม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชั้นพิเศษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆมงคล ชั้นที่ 1
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2501 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[44]
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2503 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์แห่งพระคริสต์ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[45]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2503 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[46]
- สเปน :
- ลักเซมเบิร์ก :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก ชั้นที่ 1 มหากางเขน[47]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นที่ 1 กางเขน[47]
- นครรัฐวาติกัน:
- พ.ศ. 2504 – เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญเกรกอรีมหาราช ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2504 – เครื่องอิสริยาภรณ์เซนต์ซิลเวสเตอร์ ชั้นที่ 1 (ฝ่ายทหาร)[48]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[48]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1 อัศวินมหากางเขน (ฝ่ายทหาร)[48]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[47]
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดารามหาปุตรา ชั้นที่ 2 บินตัง มหาปุตรา อธิประธานา[49]
- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2504 – เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[50]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวนเนการา ชั้นที่ 1[51]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2510 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ ชั้นที่ 1[52]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณด้านการบริการ ชั้นที่ 1[52]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[53]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 1[54]
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องอิสริยาภรณ์คิม คานห์ ชั้นที่ 1[55]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นสูงสุด
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 1[52]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2508 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 1 (ทอง)[52]
- ลาว :
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2509 – ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นปุนองโกมันดัน
- อิหร่าน :
- เอธิโอเปีย :
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2512 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นหัวหน้าผู้บัญชาการ[56]
- บริเตนใหญ่:
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ ชั้นประถมาภรณ์ (ฝ่ายหน้า)
- ตูนิเซีย :
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของถนอม กิตติขจร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ เงื่อนงำการกลับมาของจอมพลก่อนการสังหารหมู่ โพสต์ทูเดย์ สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2563
- ↑ จอมพลคนสุดท้ายในแผ่นดินไทย เก็บถาวร 2022-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Oknation ฉบับตุลาคม 2553
- ↑ ถนอมได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ↑ กรมโรงงานฯ จับมือ สกพอ. ประชุมเตรียมความพร้อม MOU ส่งมอบภารกิจการขออนุญาตตั้งโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอน 119 ง พิเศษ หน้า 1 12 ธันวาคม พ.ศ. 2506
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2023-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 3 ง หน้า 1 11 มกราคม พ.ศ. 2507
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 87 ง พิเศษ หน้า 2 11 กันยายน พ.ศ. 2507
- ↑ การเสนอแต่งตั้ง จอมพล ถนอม กิตติขจร และ พลตรี มนูกฤต รูปขจร เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ชิงชัย มงคลธรรม; จาตุรนต์ ฉายแสง; อดิศร เพียงเกษ; เปรมศักดิ์ เพียยุระ; ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง; สุรพร ดนัยตั้งตระกูล; นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ; ถาวร เสนเนียม; ไพจิต ศรีวรขาน; สนั่น ขจรประศาสน์; ชวน หลีกภัย; กุศล หมีเทศ; ขจิตร ชัยนิคม
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้พ้นจากตำแหน่งนายทหารพิเศษ
- ↑ Handley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej. Yale University Press. ISBN 0-300-10682-3.
- ↑ อึ๊งภากรณ์, ใจ; ยิ้มประเสริฐ, สุธาชัย; และคณะ (2544). อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง (PDF). คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519. ISBN 9748858626. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-10-14.
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหารบก
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหารบก
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหมเรื่องพระราชทานยศทหาร
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2020-01-18.
- ↑ "เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-03. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
- ↑ เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2016-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 3 ง พิเศษ หน้า 1 11 มกราคม พ.ศ. 2507
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๗๙, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รามาธิบดี, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๔๔๕, ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๕๙ ง หน้า ๒๑๒๙, ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๐, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๑๘๕, ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๘๗ ง หน้า ๓๐๒๙, ๗ ตุลาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๙, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๗๐๓, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๕๓, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๔๐, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๒๒ ง หน้า ๓๑๔๗, ๒๙ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๑๐๓๘, ๑๓ เมษายน ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๑๓๗, ๒๑ มกราคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๐๗๗, ๓ กันยายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๖๒ ง หน้า ๒๒๔๙, ๑๒ สิงหาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๘๓ ง หน้า ๒๑๙๘, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๒๔๖๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓
- ↑ 47.0 47.1 47.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๗๖๐, ๒๑ มีนาคม ๒๕๐๔
- ↑ 48.0 48.1 48.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๖๘๘, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชาอนุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๗๑ ง หน้า ๑๙๖๐, ๕ กันยายน ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๒๖๒๙, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๐๕
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1962.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 52.3 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 76 หน้า 1876, 30 กรกฎาคม 2506
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๔, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๗๙๐, ๑๗ มีนาคม ๒๕๐๗
- ↑ AGO 1969-13 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS
- กองทัพไทย. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล ถนอม กิตติขจร. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547. 435 หน้า. หน้า 39.
- ประกาศแต่งตั้งนายทหารรับราชการกลางปี 2562 พลเอก เกริกเกียรติ กิตติขจร หลานจอมพลถนอม เก็บถาวร 2019-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | ถนอม กิตติขจร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พจน์ สารสิน | นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย สมัยที่ 1 (1 มกราคม พ.ศ. 2501 — 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501) |
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ||
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย สมัยที่ 2 (9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 — 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
สัญญา ธรรมศักดิ์ | ||
ศาสตราจารย์ หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) | อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (8 มกราคม พ.ศ. 2503 — 18 ธันวาคม พ.ศ. 2506) |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ | ||
จอมพล ป. พิบูลสงคราม | นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 1 (พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2503) |
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ||
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ | นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 2 (พ.ศ. 2507 – พ.ศ. 2512) |
สมัยที่ 3 | ||
สมัยที่ 2 | นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 สมัยที่ 3 (พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514) |
พลเอกบุญเรือน บัวจรูญ (สมัยที่ 1) |