สเปนภายใต้การนำของฟรังโก

สเปนภายใต้การนำของฟรังโก (สเปน: España franquista) หรือระบอบฟรังโก (สเปน: Régimen de Franco) ยังเรียกอีกอย่างที่เป็นทางการว่า รัฐสเปน (สเปน: Estado Español), เป็นช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ชาติสเปนในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1939 เมื่อฟรันซิสโก ฟรังโกได้เข้ามาควบคุมประเทศสเปนภายหลังฝ่ายสเปนชาตินิยมได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมืองสเปนซึ่งได้ก่อตั้งระบอบเผด็จการ และในปี ค.ศ. 1975 เมื่อฟรังโกได้เสียชีวิตลงและเจ้าชายควน การ์โลสได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สเปน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การเข้าร่วมสงครามต่อฝ่ายอักษะได้รับการขัดขวางขนาดใหญ่โดยความพยายามของหน่วยราชการข่าวกรองลับของอังกฤษ (เอ็มไอ-6) ซึ่งได้รวมถึงมีการติดสินบนแก่เจ้าหน้าที่สเปนด้วยจำนวน 200 ล้านดอลลาร์[2] สเปนยังคงให้ความช่วยเหลือแก่เยอรมนีและอิตาลีในวิธีต่างๆ ภายหลังสงคราม ระบอบฟรังโกได้มีการวิวัฒนาการไปสู่ระบอบเผด็จการคลาสสิคมากขึ้นแม่แบบ:Unreliable source[3]

รัฐสเปน

Estado Español
1936–1975
ธงชาติสเปน
ธงชาติ (1945–1975)
คำขวัญUna, Grande y Libre
"หนึ่ง, ยิ่งใหญ่ และเสรี"
เพลงชาติลามาร์ชากรานาเดรา
"เพลงมาร์ชทหารแกรนาเดียร์"
Territories and colonies of the Spanish State:
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไปภาษาสเปน
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
การปกครองลัทธิบุคคลนิยมเผด็จการ
ประมุขแห่งรัฐหรือเกาดีโญ 
• 1936–1975
ฟรันซิสโก ฟรังโก
นายกรัฐมนตรี 
• 1938–1973
ฟรันซิสโก ฟรังโก
• 1973
ลุยส์ การ์เรโร บลังโก
• 1973–1975
การ์โลส อาเรียส นาบาร์โร
สภานิติบัญญัติCortes Españolas
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม
สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเย็น
1936–1939
• สถาปนา
1 ตุลาคม 1936
1 เมษายน ค.ศ. 1939
• กฎหมายการสืบทอด
6 กรกฎาคม 1947
• เข้าร่วมองค์กรสหประชาชาติ
14 ธันวาคม 1955
• การเสียชีวิตของฟรังโก
20 พฤศจิกายน 1975
พื้นที่
1940[1]796,030 ตารางกิโลเมตร (307,350 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1940[1]
25877971
• 1975
35563535
สกุลเงินSpanish peseta
รหัสโทรศัพท์+34
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐสเปนที่ 2
Spanish transition
Morocco
Sahrawi Arab Democratic Republic
Equatorial Guinea

สงครามกลางเมืองสเปนได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการก่อรัฐประหารโดยทหารสเปนบน peninsula (peninsulares) และในโมร็อกโกสเปน (africanistas) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1936 การก่อรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มที่เห็นชอบเป็นส่วนใหญ่ไปยังฝ่ายขวา ชนวนเหตุในสเปน รวมทั้งส่วนใหญ่ของเหล่าคณะนักบวชคาทอลิกของสเปน, กลุ่ม Falange และฝ่ายอัลฟอนซิสท์และฝ่ายคาลิสท์ที่นิยมกษัตริย์ การก่อรัฐประหารครั้งนี้ได้ขยายไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อเป็นเวลาสามปี เมื่อครั้งที่ฟาสซิสต์อิตาลีและนาซีเยอรมนีได้ตกลงกันที่จะให้การสนับสนุนฟรังโก ได้เริ่มต้นด้วยการขนส่งทางอากาศของ africanistas เข้าสู่แผ่นดินแม่[4] ฝ่ายสนับสนุนอื่นรวมทั้งระบอบเอสตาโด โนโวของโปรตุเกสภายใต้การนำโดย António de Oliveira Salazar ในขณะที่มีการเสนอตั้งชื่อของสงครามกลางเมืองครั้งนี้ว่าเป็น"สงครามครูเสด"[5]หรือเรกองกิสตาใหม่[6][7][8] เพื่อดึงดูดความเห็นชอบของชาวคาทอลิกระดับสากลและการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครชาวไอริชคาทอลิก แม้ว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรมีความเห็นใจอย่างมาก[9][10][11]ต่อฝ่ายฟรังโก ในขณะที่แนวร่วมประชาชนของรัฐบาลฝรั่งเศสเกิดความร้อนใจที่จะให้การสนับสนุนสาธารณรัฐ ทั้งสองฝ่ายต่างเฝ้าสังเกตการณ์กับข้อตกลงที่จะไม่เข้าแทรกแซงของเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1936 สาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้รับการหนุนหลังโดยสหภาพโซเวียต (ในเวลาเดียวกันก็มีพันธมิตรร่วมอุดมการณ์เดียวกันของสาธารณรัฐประชาชนตูวาและสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย) และเม็กซิโก แต่ให้ความช่วยเหลือที่น้อยกว่าที่ให้กับฝ่ายชาตินิยมสเปน[12]

อ้างอิง แก้

  1. (สเปน) "Resumen general de la población de España en 31 de Diciembre de 1940". INE. Retrieved 11 October 2014.
  2. MI6 spent $200m bribing Spaniards in second world war, The Guardian
  3. Esparza, José Javier (2011). Juicio a Franco (1. ed.). Madrid: Libroslibres. ISBN 9788492654697.
  4. Graham (2005), p. 24
  5. Indalecio Prieto, Palabras al viento, 2nd edn (Mexico City: Ediciones Oasis, 1969) pp. 247–8
  6. Eduardo González Calleja, "La violencia y sus discursos: los límites de la 'fascistización' de la derecha española durante el régimen de la II República", in Ayer. Revista de Historia Contemporánea, No. 71, 2008, pp. 89–90
  7. Eduardo González Calleja, 'Aproximación a las subculturas violentas de las derechas españolas antirrepublicanas españolas (1931– 1936)', Pasado y Memoria. Revista de Historia Contemporánea, No. 2, 2003, pp. 107–42
  8. Eduardo González Calleja, "The symbolism of violence during the Second Republic in Spain, 1931–1936", in Chris Ealham and Michael Richards, eds, The Splintering of Spain: Cultural History and the Spanish Civil War, 1936– 1939 (Cambridge: Cambridge University Press, 2005) pp. 23–44, 227–30
  9. Paul Preston, The Spanish Hall of costs: Inquisition and Extermination in 20th century Spain (2012), p. 295
  10. Pablo de Azcárate, Mi embajada en Londres durante la guerra civil española (Barcelona: Ariel, 1976) pp. 26–7
  11. Winston S. Churchill, Step by Step (London: Odhams Press, 1939) pp. 54–7.
  12. Dominic Tierney (11 June 2007). FDR and the Spanish Civil War: Neutrality and Commitment in the Struggle that Divided America. Duke University Press. p. 63. ISBN 978-0-8223-4055-3. สืบค้นเมื่อ 30 November 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้