สงครามกลางเมืองสเปน

สงครามในประเทศสเปนระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐนิยมและฝ่ายชาตินิยมระหว่าง ค.ศ. 1936 ถึง 1939

สงครามกลางเมืองสเปน (สเปน: guerra civil española) หรือ สงครามสเปน (guerra de España) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ กลุ่มนิยมสาธารณรัฐ ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวกาตาลาและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ กลุ่มแห่งชาติ ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสตา พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ กลุ่มนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนกลุ่มแห่งชาติดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี

สงครามกลางเมืองสเปน

ทหารกองพลน้อยนานาชาติที่ 11 ของฝ่ายสาธารณรัฐบนรถถังที-26 ในยุทธการที่เบลไชต์
วันที่17 กรกฎาคม ค.ศ. 19361 เมษายน ค.ศ. 1939
สถานที่
ผล กลุ่มแห่งชาติได้รับชัยชนะเหนือฝ่ายสาธารณรัฐ
การล้มล้างสาธารณรัฐสเปนที่สอง สเปนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบฟาสซิสต์
คู่สงคราม
ฝ่ายสาธารณรัฐสเปน
 สหภาพโซเวียต
กองพลน้อยนานาชาติ
เม็กซิโก
รัฐโมร็อกโก
รัฐประชาชนกานาเรียส
รัฐประชาชนแบลีแอริก
อาณานิคมประชาชนอิเควทอเรียลกินี
ฝ่ายสเปนชาตินิยม
อิตาลี อิตาลี
เยอรมนี นาซีเยอรมนี
โปรตุเกส โปรตุเกส
โมร็อกโกในอารักขาของสเปน
แคว้นหมู่เกาะแบลีแอริก
แคว้นกานาเรียส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มานูเอล อาซัญญา
คูเลียน เบสเตย์โร
ยูอิส กอมปานิส
ฟรันซิสโก ลาร์โก กาบาเยโร
ควน เนกริง
อินดาเลเซียว เปรียโต
ฟรันซิสโก ฟรังโก
กอนซาโล เกย์โป เด ยาโน
เอมีเลียว โมลา
โคเซ อันโตเนียว เด รีเบรา
โคเซ ซานคูร์โค
ควน ยากูเอ
กำลัง
เมื่อปี 1938
ทหาร 450,000 นาย
เครื่องบิน 300 ลำ
ปืนใหญ่ 200 กระบอก
เมื่อปี 1938
ทหาร 600,000 นาย
เครื่องบิน 600 ลำ
ปืนใหญ่ 290 กระบอก
ความสูญเสีย
ทหารเสียชีวิตรวม 500,000 นาย

สงครามดังกล่าวนับว่าเป็นการเร่งความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และถูกมองว่าเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสองลัทธิ คือ คอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและฟาสซิสต์ ฝ่ายอักษะ สงครามดังกล่าวได้มีการนำรถถังและการทิ้งระเบิดทางอากาศมาใช้ และถูกกล่าวขานถึงความโหดร้ายของสงครามและความแตกแยกทางการเมืองจากนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่หลายคน อย่างเช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, มาร์ธา เกลฮอร์น, จอร์จ ออร์เวลล์, และโรเบิร์ต คาปา

มูลเหตุแห่งสงคราม

แก้
 
ลางร้ายของสงคราม: ภาพโครงสร้างอันอ่อนแอของรัฐธรรมนูญกับถั่วต้ม (ลางสังหรณ์ใจของสงครามกลางเมือง) (อังกฤษ: Soft Construction with Boiled Beans (Premonition of Civil War)) ของซัลบาดอร์ ดาลี

สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์

แก้

พบว่ามีหลายเหตุผลที่ได้นำไปสู่สงครามครั้งนี้ และส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื้อรังที่เพิ่มพูนขึ้นในแต่ละปี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นศตวรรษแห่งความโกลาหลของสเปน และประสบกับสงครามกลางเมืองและการปฏิวัติหลายครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวคิดของพวกปฏิรูปและพวกอนุรักษนิยมที่ต้องการจะตัดอีกฝ่ายออกจากอำนาจ พวกเสรีนิยมซึ่งเฟื่องฟูขึ้นจากรัฐธรรมนูญแห่งปี 1812 ได้พยายามล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสเปน และสร้างขึ้นเป็นรัฐเสรีนิยมแทน ส่วนพวกอนุรักษนิยมต้องการที่จะป้องกันการล้มล้างระบอบกษัตริย์และค้ำจุนราชวงศ์ พวกการ์ลิสตา (สเปน: carlistas) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเคานต์การ์โลสและผู้สืบทอดตระกูลของเขา ได้ผนึกกำลังกันเพื่อฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิมของเปน (ระบอบสมบูรณาฐาสิทธิราชย์และคาทอลิก) และต่อต้านลัทธิเสรีนิยมและสาธารณรัฐนิยมของรัฐบาลสเปนในขณะนั้น บางครั้ง พวกการ์ลิสตาได้ร่วมมือกับพวกชาตินิยม ในความพยายามที่จะฟื้นฟูเสรีภาพทางประวัติศาสตร์และถือสิทธิ์ในการปกครองดินแดนของตนที่ได้รับมาจากกฎบัตร (สเปน: fuero) แห่งแคว้นประเทศบาสก์และแคว้นกาตาลุญญา หลังจากครึ่งศตรวรรษหลังเป็นต้นมา พวกเสรีนิยมได้ถูกกลืนกินโดยพวกสังคมนิยมฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิอนาธิปไตย ซึ่งมีอำนาจและจำนวนคนในสเปนมากกว่าประเทศอื่นใดในทวีปยุโรป ซึ่งคาดว่าจะมาจากภายในสหภาพโซเวียต

สเปนได้พบกับระบอบการปกครองหลายรูปแบบมาตั้งแต่สมัยระหว่างสงครามนโปเลียนในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการปะทุของสงครามกลางเมือง ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตรวรรษที่ 19 สเปนอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ถูกโจมตีจากหลายทิศทาง สาธารณรัฐสเปนที่หนึ่งจึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1873 แต่มีอายุสั้นมาก ลัทธิราชาธิปไตยได้กลับคืนมาอีกครั้ง ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1887 ถึงปี ค.ศ. 1931 แต่หลังจากปี ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา สเปนก็อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของมิกูเอล พรีโม ดี ริเวอร์รา ภายหลังจากที่เขาถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1930 ราชวงศ์สเปนก็ไม่อาจรักษาอำนาจของตนไว้ได้ และสาธารณรัฐสเปนที่สองก็ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1931 รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนมาจากพวกหัวซ้ายและพวกสายกลาง และกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับก็ถูกผ่านออกมา อย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยการแบ่งปันที่ดินแห่งปี 1932 ซึ่งเป็นการแจกจ่ายดินแดนให้กับชาวนาที่ยากจน ชาวสเปนกว่าล้านคนมีชีวิตอยู่ในสภาพถูกปกครองจากเจ้าของที่ดินในลักษณะของกึ่งศักดินา การปฏิรูปหลายอย่างและการห้ามศาสนาเข้ามามีส่วนทางการเมือง รวมทั้งการตัดกำลังทางทหารและการปฏิรูป ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก

รัฐธรรมนูญแห่งปี 1931

แก้

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1931 สเปนได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน แต่ว่ามีการกีดกันพวกคาทอลิกอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มที่คัดค้านต่อการก่อตั้งรัฐประชาธิปไตยเป็นส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญดังกล่าวยังจัดให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง และการแบ่งแยกศาสนาออกจากการเมืองอย่างสมบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับมอบอำนาจให้แก่รัฐบาลในการแทรกแซงกิจการของศาสนาได้ รวมไปถึงการห้ามมีการสอนศาสนาในโรงเรียนเอกชน การริบทรัพย์สินบางประการของคริสตจักร และการสั่งยุติลัทธิเยซูอิด โดยสรุปก็คือ รัฐบาลสเปนที่มาจากการปฏิวัติแห่งปี 1931 เป็นรัฐบาลที่ต่อต้านศาสนาอย่างจริงจัง

ไม่เพียงแต่จะมีการสนับสนุนการก่อตั้งลัทธิใหม่ขึ้นมาเท่านั้น แต่การทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างการเมืองกับศาสนาทำให้มีการต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1933 สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ได้ติเตียนการกีดกันเสรีภาพของรัฐบาลสเปน และการยึดทรัพย์สินของคริสตจักรและโรงเรียนสอนศาสนาต่าง ๆ ผ่านทางจดหมายที่ท่านส่งมา

ตั้งแต่พวกหัวซ้ายจัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าทิศทางของการต่อต้านศาสนาตามรัฐธรรมนูญนั้นกลายเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้อีกต่อไป จึงมีผู้ให้ความเห็นออกมาว่า "สาธารณรัฐในฐานะของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นถึงคราวล่มสลายมาตั้งแต่เริ่มแรก" พวกเขายังบอกอีกด้วยว่าการเผชิญหน้ากันในฐานะคู่ปฏิปักษ์กันจะนำไปสู่สาเหตุที่นำไปสู่การล้มสลายของระบอบประชาธิปไตยและการปะทุของสงครามกลางเมือง

การเลือกตั้งแห่งปี 1933 และผลที่ตามมา

แก้

ชัยชนะของแนวราษฎรในปี 1936 และผลที่ตามมา

แก้

เป้าหมายของแนวราษฎร

แก้

สมัยประธานาธิบดีอาซัญญา

แก้

ความตึงเครียดทางการเมือง

แก้

การเสียชีวิตของกาสติลโลและคัลโล โซเตโล

แก้

จุดแตกหักของสงคราม

แก้

การปฏิวัติของคณะนายทหารชาตินิยม

แก้

ในช่วงเช้าของวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.1936 กลุ่มทหารสเปนในโมร็อกโกตัดขาดการติดต่อสื่อสารกับแผ่นดินใหญ่ หลังจากนั้นก็เกิดการการรัฐประหารและประกาศใช้กฎอัยการศึกนำโดยคณะนายทหารชาตินิยมในหลายเมืองทั่วประเทศสเปน เพื่อตอบโต้การบริหารจัดการของรัฐบาลแนวหน้าประชาชนสเปนที่เอนเอียงไปทางคอมมิวนิสต์ โดยฝ่ายกบฏทหารประสบความสำเร็จในการควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของสเปน แต่กลับล้มเหลวในการควบคุมหลายเมืองใหญ่ โดยเฉพาะมาดริดซึ่งเป็นเมืองหลวงของสเปน ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารฝ่ายกบฏกับประชาชนฝ่ายนิยมสาธารณรัฐในหลายพื้นที่ จนลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด

ปฏิกิริยาของฝ่ายรัฐบาล

แก้

ในขณะที่ในหลายพื้นที่เกิดการปะทะกันระหว่างทหารฝ่ายกบฏกับประชาชนฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ รัฐบาลแนวหน้าประชาชนสเปนกลับนิ่งเฉยเพราะคิดว่าการรัฐประหารครั้งนี้จะล้มเหลวและจบลงในเวลาอันสั้นเหมือนกับครั้งที่ๆผ่านมา แต่เมื่อสถาณการณ์เริ่มเลวร้ายลงเรื่อยๆรัฐบาลได้ทำการปลดประจำการกองทัพเกือบทั้งหมดที่ยังคงภักดีต่อสาธารณรัฐเพราะกลัวว่าทหารจะแปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกบฏ แล้วนำอาวุธไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนกับกรรมกรที่นิยมสาธารณรัฐเพื่อต่อกรกับทหารฝ่ายกบฏแทน

ผู้เข้าร่วมรบ

แก้

ฝ่ายสาธารณรัฐ

แก้

มีเพียงสองประเทศที่สนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐอย่างเปิดเผยและเต็มที่: เม็กซิโกและสหภาพโซเวียต จากพวกเขาแล้ว, โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสหภาพโซเวียต ฝ่ายสาธารณรัฐได้รับการสนับสนุนทางการทูต ทหารอาสาสมัคร และความสามารถในการซื้อขายอาวุธยุทธภัฑฑ์ ประเทศอื่นๆยังคงวางตัวเป็นกลาง ด้วยความเป็นกลางนี้ต้องเผชิญกับฝ่ายค้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มปัญญาชนในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรและขอบเขตเล็กๆน้อยในประเทศยุโรปอื่นๆและลัทธิมาร์กซิสต์ทั่วโลก ครั้งนี้ได้นำไปสู่การรวมตัวก่อตั้งกองพลน้อยนานาชาติ จำนวนนับพันของชาวต่างชาติของทุกประเทศที่สมัครใจที่ต้องการจะเดินทางไปยังประเทศสเปนเพื่อช่วยเหลือฝ่ายสาธารณรัฐ; พวกเขาได้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ดีเพื่อขวัญกำลังใจแต่การทหารไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก

ฝ่ายสนับสนุนสาธารณรัฐภายในสเปนนับตั้งแต่ผู้วางตัวเป็นกลางทางการเมืองที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมของพวกนายทุน-ระดับปานกลางไปยังการปฏิวัติของพวกอนาธิปไตยที่คัดค้านสาธารณรัฐแต่ได้เข้าข้างฝ่ายต่อต้านกองกำลังก่อรัฐประหาร พื้นฐานของพวกเขาส่วนใหญ่เป็นทางโลกและเมือง แต่ยังรวมถึงชาวนาที่ไร้ที่ดินและโดยเฉพาะอย่างยิ่งของความแข็งแกร่งในภูมิภาคอุตสาหกรรม เช่น แคว้นอัสตูเรียส ประเทศบาสก์ และแคว้นกาตาลุญญา

กลุ่มแห่งชาติ

แก้

ต่างชาติ

แก้

การแทรกแซงจากต่างชาติ

แก้

ผู้ที่เข้าร่วมทั้งในการรบและตำแหน่งที่ปรึกษาในสงครามกลางเมืองสเปนจำนวนมากนั้นไม่ใช่พลเมืองชาวสเปน รัฐบาลต่างชาติจำนวนมากได้ให้การสนับสนุนทางการเงินและการทหารจำนวนมากให้แก่จอมทัพ ฟรานซิสโก ฟรังโก ส่วนฝ่ายที่อยู่ข้างเดียวกับสาธารณรัฐสเปนที่สองกลับได้รับการสนับสนุนเพียงเล็กน้อยและถูกขัดขวางอย่างร้ายแรงจากการสั่งห้ามขนส่งอาวุธที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศขึ้น

อย่างไรก็ตาม การประกาศสั่งห้ามขนส่งอาวุธนั้นก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากมายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลฝรั่งเศสต้องออกมารับผิดชอบต่อการที่ปล่อยให้เรือสัญชาติฝรั่งเศสขนอาวุธไปให้ฝ่ายสาธารณรัฐได้ ถึงแม้ว่าอิตาลีจะออกมาเรียกร้องฝรั่งเศส แต่อิตาลีเองก็มีส่วนพัวพันต่อกลุ่มแห่งชาติอยู่มาก การกระทำการอย่างลับ ๆ ของหลายชาติในทวีปยุโรปได้เป็นสัญญาณที่จะนำไปสู่สงครามอันยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

ฝ่ายอักษะ: อิตาลีและเยอรมนี

แก้

ทั้งสองประเทศฟาสซิสต์ อิตาลีภายใต้การนำของเบนิโต มุสโสลินี และนาซีเยอรมนีภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ส่งทหาร เครื่องบิน รถถัง และอาวุธเพื่อทำการสนับสนุนจอมทัพฟรังโก รัฐบาลอิตาลีได้จัดหา "กองทหารอาสาสมัคร" (อิตาลี: Corpo Truppe Volontarie) และเยอรมนีได้ส่ง "หน่วยทหารนกแร้ง" (อังกฤษ: Legion Condor) โดยอิตาลีได้ส่งทหารไปยังสเปนกว่า 75,000 นาย ส่วนเยอรมนีส่งทหารไป 19,000 นาย

สหภาพโซเวียต

แก้

สหภาพโซเวียตได้ให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายสาธารณรัฐด้วยการส่งทรัพยากรมาให้ แต่ไม่เคยปรากฏว่ามีทหารโซเวียตมากกว่า 700 นายในสเปนเลย อาสาสมัครชาวโซเวียตมักจะขับเตรื่องบินและขับรถถังที่ซื้อมาจากรัฐบาลสเปน สเปนได้ขอแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือของโซเวียตนี้ด้วยทองคำสำรองอย่างเป็นทางการของธนาคารแห่งสเปน ซึ่งทำให้ได้รับความช่วยเหลือตอบแทน แต่ทว่าเป็นการขายโก่งราคาของสหภาพโซเวียต โดยมูลค่าความช่วยเหลือที่ได้รับมาจากสหภาพโซเวียตคิดเป็น 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าทองคำสำรองของสเปนเมื่อสงครามเริ่มต้น

กองพลน้อยอาสาสมัครนานาชาติ

แก้
 
ธงของกองพลน้อยอาสาสมัครนานาชาติ ซึ่งใช้ธงชาติสเปนและประดับดาวสามแฉกไว้ตรงกลางผืนธง

กองกำลังกองพลน้อยอาสาสมัครนานาชาตินับเป็นการแทรกแซงจากต่างชาติอย่างเห็นได้ชัดที่สุดในสงครามครั้งนี้ โดยอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายสาธารณรัฐนิยม โดยมีอาสาสมัครมากกว่า 30,000 คน จากกว่า 53 ประเทศได้ต่อสู้ในกองพลน้อยต่าง ๆ ที่จัดตั้งกันเอง ส่วนมากพวกนี้จะเป็นพวกคอมมิวนิสต์ หรือนักสหภาพการค้า ถึงแม้ว่าพวกคอมมิวนิสต์จะอยู่ใต้คำสั่งจากมอสโก แต่ว่าพวกที่เหลือเป็นพวกอาสาสมัครที่เดินทางมาด้วยตนเองทั้งหมด

เม็กซิโก

แก้

สาธารณรัฐเม็กซิโกได้สนับสนุนรัฐบาลสเปนอย่างเต็มที่ในสงครามกลางเมือง เม็กซิโกยังปฏิเสธนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเม็กซิโกก็สามารถจับได้ว่าทั้งสองก็แอบให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายกบฏเช่นเดียวกัน ตรงกันข้ามกับสหรัฐอเมริกา เม็กซิโกมิได้มีความรู้สึกว่าตนวางตัวเป็นกลางระหว่างรัฐบาลและสภาทหารนั้นเป็นนโยบายที่ถูกต้อง ท่าทีของเม็กซิโกทำให้ฝ่ายรัฐบาลมีความหวังมากขึ้น หลังจากประเทศกลุ่มละตินอเมริกันส่วนใหญ่ทางแถบอเมริกาใต้ซึ่งมีท่าทีเปิดเผยน้อยกว่า แต่ว่าการช่วยเหลือของเม็กซิโกทำได้เพียงน้อยนิดเท่านั้น เนื่องจากมีการปิดพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ทำให้กลุ่มแห่งชาติสามารถหายุทโธปกรณ์เพิ่มเติมได้ตามปกติ โดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้

อย่างไรก็ตาม เม็กซิโกก็ยังสามารถส่งวัตถุดิบมาสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐได้ รวมไปถึงส่งเครื่องบินอย่างเช่น เบลแลนกา ซีเอช-300 และ สปาร์ตัน ซูส ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศเม็กซิโก

อาสาสมัครชาวไอริช

แก้
 
ธงของหน่วยเสื้อฟ้า (อังกฤษ: Irish Blueshirts) ซึ่งเป็นขบวนการฟาสซิสต์ของไอร์แลนด์ นำโดย Eoin O'Duffy ซึ่งต่อสู้โดยอยู่ข้างกลุ่มแห่งชาติ

ไอร์แลนด์เป็นเพียงประเทศเดียวที่มีอาสาสมัครสนับสนุนกลุ่มแห่งชาติมากกว่าฝ่ายสาธารณรัฐ ถึงแม้ว่ารัฐบาลไอร์แลนด์จะประกาศว่าการที่ผู้ใดมีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้จะเป็นการผิดกฎหมายก็ตาม แต่ว่ามีชาวไอริชประมาณ 250 คนที่จากบ้านเกิดไปเพื่อรบให้กับฝ่ายสาธารณรัฐ และพวกเสื้อฟ้าอีกประมาณ 700 คนที่ไปรบให้กับกลุ่มแห่งชาติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเสื้อฟ้ามาถึงสเปน พวกเขากลับไม่ยอมรบกับชาวบาสก์ให้กับกลุ่มแห่งชาติ เนื่องจากมองเห็นถึงความเหมือนกันระหว่างการดิ้นรนของพวกเขากับความทะเยอทะยานของชาวบาสก์ พวกเขายังเห็นว่าฟรังโกนั้นสู้เพื่อปกป้องลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่ มากกว่าจะเป็นการป้องกันบูรณภาพแห่งดินแดนสเปน พวกเสื้อฟ้าทำการรบได้ไม่นานก็ต้องถูกส่งตัวกลับประเทศ หลังจากที่พวกเขาถูกยิงโดยทหารกลุ่มแห่งชาติด้วยกันเอง

การอพยพเยาวชนออกจากสเปน

แก้

ในช่วงที่กำลังมีการรบอยู่ในภาคเหนือของประเทศ เจ้าหน้าที่ของฝ่ายสาธารณรัฐได้จัดการให้มีการอพยพเยาวชนออกนอกประเทศ เยาวชนเหล่านี้จะถูกส่งไปยังอังกฤษ เบลเยี่ยม สหภาพโซเวียต ประเทศยุโรปอื่น ๆ และเม็กซิโก เด็กที่ถูกส่งไปยังประเทศตะวันตกได้กลับสู่ประเทศหลังจากสงครามยุติ แต่ว่าเด็กที่ถูกส่งไปยังสหภาพโซเวียตได้อยู่กับครอบครัวที่นั่น และได้เผชิญกับประสบการณ์อันเลวร้ายระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

นอกจากนี้ กลุ่มแห่งชาติเองก็ได้มีการจัดการอพยพเยาวชน สตรีและคนชราจากเขตพื้นที่สงคราม โดยได้มีการจัดค่ายผู้ลี้ภัยสงครามขึ้นในประเทศโปรตุเกส อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม

ลัทธิรักสงบในสเปน

แก้

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา สเปนได้กลายมาเป็นจุดสนใจขององค์การลัทธิรักสงบหลายแห่ง อย่างเช่น "Fellowship of Reconciliation", "War Resisters League" และ "War Resisters' International"

ผู้นับถือลัทธิรักสงบชาวสเปนที่มีความโดดเด่น อย่างเช่น Amparo Poch y Gascón และ José Brocca ได้ให้การสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐ ดังที่นักเขียนอเมริกัน สกอตต์ เอช. เบนเนตต์ ได้เขียนไว้ว่า ลัทธิรักสงบในสเปนไม่ได้อยู่อย่างสงบเลย เนื่องจากได้มีการก่อสถานการณ์ขึ้นหลายครั้ง และการเสียสละเลือดเนื้อโดยผู้นำทั้งสองและสาวกนั้น มีความเป็นวีรบุรุษไม่ต่างอะไรกับกิจการทหารเลยแม้แต่นิด Brocca ได้แย้งว่า ลัทธิรักสงบในสเปนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะลุกขึ้นต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ในสเปน เขาได้ใช้จุดยืนดังกล่าวเป็นหลักปฏิบัติในหลายวิถีทาง อย่างเช่น การจัดการคนงานเกษตรกรรมเพื่อให้คงจำนวนของผลผลิตอาหารเอาไว้ และเข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยสงคราม

ลำดับเหตุการณ์

แก้
ตารางแสดงถึงลำดับของเหตุการณ์โดยภาพรวมที่เกิดขึ้นในสงครามกลางเมืองสเปน
ฝ่ายผู้รักชาติ (กบฏทหาร) ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ (รัฐบาลแนวหน้าประชาชน) การแทรกแซงจากต่างชาติ
1936

17 ก.ค.

-รัฐประหารในอาณานิคมโมร็อกโกของสเปน

-รัฐประหารในหลายเมืองของสเปน

18 ก.ค. -นายพล ฟรังโก ยึดอำนาจที่กานาเรียส

และเดินทางไปสเปนโมร็อกโก

-นายพล มานูเอล ยึดอำนาจที่หมู่เกาะแบรีแอริก

-นายกรัฐมนตรี ซานติอาโก กาซาเรส กิโรกาลา ลาออก

-ดิเอโก มาร์ติเนซ บิริโอส รับตำแหน่งต่อ

19 ก.ค. -นายพล ฟรังโก เข้าบังคับบัญชากองทัพแอฟริกาในสเปนโมร็อกโก

-กบฏทหารยึดพื้นที่ได้ 1 ใน 3 ของสเปน

-นายกรัฐมนตรี ดิเอโก มาร์ติเนซ บิริโอส ลาออก

-โฆเฆ ฆิราล รับตำแหน่งต่อ และเริ่มแจกจ่ายอาวุธให้กับกรรมกร

-กบฏทหารก่อรัฐประหารล้มเหลวใน มาดริด,โตเลโด,บาร์เซโลนา

-นายกรัฐมนตรี โฆเฆ ฆิราล ขอความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส

20 ก.ค. -นายพล ซานฆูร์โฆ ประสบอุบัติเหตุทางเครื่องบินเสียชีวิต
21 ก.ค. -รัฐบาลย้ายทองคำสำรองจำนวน 175 ตันไปฝากไว้ที่ฝรั่งเศส

เพื่อซื้ออาวุธ

22 ก.ค. -นายพล ฟรังโก ขอความช่วยเหลือจากเยอรมนีและอิตาลี
23 ก.ค. -กบฏทหารก่อตั้ง คณะปกป้องชาติ เพื่อดูแลพื้นที่ยึดครองช่วงคราว
25 ก.ค. -นายกรัฐมนตรี โฆเฆ ฆิราล ขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต -ฝรั่งเศสลงมตินโยบายไม่แทรกแซง

ในสงครามกลางเมืองสเปน

28-30 ก.ค. -เครื่องบินของอิตาลีและเยอรมนี

เดินทางถึงโมร็อกโก

ต้น ส.ค. -เครื่องบินของอิตาลีและเยอรมนี

ลำเลียงกองทัพแอฟริกาเข้าสู่สเปน

7 ส.ค. -นายพล ฟรังโก เดินทางถึงสเปนและเริ่มเคลื่อนทัพขึ้นเหนือ
8 ส.ค. -ฝรั่งเศสปิดพรมแดนกับสเปน
12 ส.ค. -กบฏทหารยึด บาดาฆอซ
ปลาย ส.ค. -27 ประเทศยอมรับข้อตกลงไม่เข้าแทรกแซง

ในสงครามกลางเมืองสเปน

3 ก.ย. -กบฏทหารยึด ตาลาเบรา เดลา เรยนา ซึ่งเป็นเมืองหลักเมืองสุดท้าย

ก่อนจะถึงมาดริด

4 ก.ย. -ลาร์โก กาบาเยโร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี -เยอรมนีและอิตาลีตกลงกันว่าจะยกระดับ

ความช่วยเหลือให้ฝ่ายชาตินิยม

21 ก.ย. -นายพล ฟรังโก ได้รับเลือกจากคณะปกป้องชาติให้เป็นประมุขแห่งรัฐ

และผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสเปน

28 ก.ย. -กบฏทหารยึด โตเลโด
1 ต.ค. -ฝ่ายชาตินิยมประกาศอย่างเป็นทางการให้นายพล ฟรังโก ดำรง

ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐและผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสเปน

-รัฐสภาผ่านกฎหมายปกครองตนเองของแคว้นบาส์ก
15 ต.ค. -อาวุธจากสหภาพโซเวียตเดินทางถึงสเปน
25 ต.ค. -รัฐบาลขนทองคำสำรองที่เหลือจำนวน 460 ตันไปฝากไว้ที่

สหภาพโซเวียต

-เยอรมนีและอิตาลีลงนามก่อตั้งฝ่ายอักษะ
1 พ.ย. -เยอรมนีและอิตาลีประกาศยอมรับรัฐบาล

ของนายพล ฟรังโก

4 พ.ย. -กลุ่มอนาธิปไตยเข้าร่วมรัฐบาล
6 พ.ย. -รัฐบาลถูกย้ายไปอยู่ที่ บาเลนเซีย
8 พ.ย. -กบฏทหารโจมตี มาดริด -กองพลน้อยนานาชาติเดินทางถึงมาดริด
22 พ.ย. -กบฏทหารยุติการโจมตี มาดริด ชั่วคราว
1937

6-27 ก.พ.

-กบฏทหารโจมตี มาดริด อีกครั้งแต่ไม่สำเร็จ
10 ก.พ. -กบฏทหารยึด มะละกา
8-23 มี.ค. -กบฏทหารโจมตี มาดริด อีกครั้งแต่ไม่สำเร็จ
19 เม.ย. -นายพลฟรังโกประกาศผนวก กลุ่มการ์ลิสต์ และ กลุ่มฟาลังเฆ

เข้าด้วยกัน

26 เม.ย. -ฝูงบินเยอรมันทิ้งระเบิดอย่างรุนแรงที่เมือง เกร์นิกา
17 พ.ค. -ฆวน เนกริน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
2 มิ.ย. -นายพล โมลา ประสบอุบัติเหตุทางเครื่องบินเสียชีวิต
19 มิ.ย. -กบฏทหารยึด บิลเบา
6-25 ก.ค. -กองกำลังฝ่ายรัฐบาลบุกยึด บรูเนเต
24 ส.ค. -

7 ก.ย.

-กองกำลังฝ่ายรัฐบาลบุกยึด เบลซิเต
26 ส.ค. -กบฏทหารยึด ซันตันเดร์
21 ต.ค. -กบฏทหารยึด ฆิฆอน
15 ธ.ค. -กองกำลังฝ่ายรัฐบาลบุกยึด เตรูเอล
1938

30 ม.ค.

-นายพล ฟรังโก ตั้งรัฐบาลชุดแรก
22 ก.พ. -กบฏทหารยึด เตรูเอล คืนได้
- มี.ค. -ฝรั่งเศสส่งอาวุธให้รัฐบาลสาธารณรัฐสเปน

จนถึงเดือนมิถุนายน

-สหภาพโซเวียตลดระดับความช่วยเหลือ

รัฐบาลสาธารณรัฐสเปน

7 มี.ค. -กบฏทหารเริ่มพิชิตด้านตะวันออกของประเทศสเปน
15 เม.ย. -กบฏทหารบุกยึดถึงชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

พื้นที่ของรัฐบาลสาธารณรัฐถูดตัดออกเป็น 2 ส่วน

25 ก.ค. -กองกำลังฝ่ายรัฐบาลบุกเข้าไปในบริเวณแม่น้ำเอโบร
21 ต.ค. -รัฐบาลย้ายไปอยู่ที่บาร์เซโลนา

-รัฐบาลประกาศจะถอนกองพลน้อยนานาชาติทั้งหมดออกจากสเปน

15 พ.ย. -กองกำลังฝ่ายรัฐบาลถอยออกจากพื้นที่แม่น้ำเอโบร
23 ธ.ค. -กบฏทหารเริ่มบุก บาร์เซโลนา
1939

25 ม.ค.

-รัฐบาลหนีไปที่เมือง เฆโรนา
26 ม.ค. -กบฏทหารยึด บาร์เซโลนา
6 ก.พ. -ประธานาธิบดี อาซานยา ลี้ภัยไปฝรั่งเศส
13 ก.พ. -นายพล ฟรังโก ออกกฎหมาย การรับผิดชอบทางการเมือง
27 ก.พ. -อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศยอมรับรัฐบาล

ของนายพล ฟรังโก

6 มี.ค. -นายกรัฐมนตรี เนกริน ลี้ภัยไปฝรั่งเศส
27 มี.ค. -กบฏทหารเข้ายึดกรุง มาดริด
1 เม.ย. -นายพล ฟรังโก ประกาศยุติสงครามกลางเมืองอย่างเป็นทางการ
 
คำประกาศสิ้นสุดสงครามกลางเมืองสเปนของจอมพลฟรังโก

ความโหดร้ายของสงคราม

แก้

ในช่วงระหว่างสงครามได้มีการประหารพลเรือนไปมากกว่า 50,000 คน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองสเปนขึ้นมาใหม่ แอนโทนี่ บีเวอร์ บอกว่า "ประมาณการของผู้ที่เสียชีวิตจากความน่าสะพรึงกลัวสีขาว คิดเป็น 200,000 คน ส่วนความน่าสะพรึงกลัวสีแดง คิดเป็น 38,000 คน"

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

แก้

ประเทศสเปนหลังสงครามกลางเมืองตกอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลฟรังโกจนถึงปีค.ศ.1975 โดยในระหว่างนั้นสเปนเป็นประเทศที่เป็นกลาง และใช้ระบบเศษฐกิจแบบปิดเพื่อฟื้นฟูประเทศครั้งใหญ่หลังสงครามกลางเมือง

ประชากร

แก้

ประมาณ 24.75 ล้านคน

พรรคการเมืองและองค์กรทางการเมือง

แก้

แนวหน้าประชาชน หรือ ฝ่ายสาธารณรัฐ (อังกฤษ: The Popular Front / Republican )

  • สหภาพสาธารณรัฐ
  • ริพับลิกันฝ่ายซ้าย
  • ริพับลิกันฝ่ายซ้ายแห่งคาทาโลเนีย
  • พรรคกรรมกรสังคมนิยมสเปน
  • สหภาพแรงงานทั่วไป
  • สหพันธ์ยุวชนสังคมนิยม
  • แนวร่วมยุวชนสังคมนิยม
  • พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสเปน
  • พรรคกรรมกรของการรวมกันของลักธิมาร์กซ์
  • ยุวชนคอมมิวนิสต์ไอบีเรีย
  • สหภาพทหารนิยมสาธารณรัฐต่อต้านฟาสซิสต์
  • กลุ่มอนาธิปไตย
  • สหพันธ์แรงงานแห่งชาติ
  • สหพันธ์อนาธิปไตยไอบีเรีย
  • องค์กรเสรีสตรี
  • สหพันธ์ยุวชนเสรีนิยมแห่งไอบีเรีย
  • กลุ่มผู้รักถิ่นชาติคาทาลัน
  • กลุ่มผู้รักถิ่นชาติบาสก์

ฝ่ายชาตินิยม (อังกฤษ: Nationalists )

  • สหภาพทหารสเปน
  • กลุ่มนิยมกษัตริย์สเปน
  • พรรคฟาสซิสต์สเปน
  • พรรคร่วมฝ่ายขวาสเปน
  • สมาพันธ์แห่งสิทธิในตนเองสเปน
  • กลุ่มการ์ลิสต์
  • กลุ่มฟาลังเฆ
  • แนวร่วมยุวชนฟาสซิสต์

อ้างอิง

แก้

บรรณานุกรม

แก้
  • Alpert, Michael (2004). A New International History of the Spanish Civil War. Basingstoke: Palgrave Macmillan. ISBN 1-4039-1171-1.
  • Beevor, Antony (2001 reissued). The Spanish Civil War. London: Penguin. ISBN 0-14-100148-8. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Beevor, Antony (2006). The Battle for Spain: The Spanish Civil War 1936-1939. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 978-0297-848325.
  • Bennett, Scott (2003). Radical Pacifism: The War Resisters League and Gandhian Nonviolence in America, 1915-1963. Syracuse NY: Syracuse University Press. ISBN 0-8156-3028-X.
  • Brenan, Gerald (1990, reissued). The Spanish labyrinth: an account of the social and political background of the Civil War. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-39827-4. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Cox, Geoffrey (1937). The Defence of Madrid. London: Victor Gollancz. ISBN 1 877372 3 84 (reprinted 2006 review).
  • Doyle, Bob (2006). Brigadista – an Irishman's fight against fascism. Dublin: Currach Press. ISBN 1-85607-939-2.
  • Francis, Hywel (2006). Miners against Fascism: Wales and the Spanish Civil War. Pontypool, Wales (NP4 7AG): Warren and Pell.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  • Graham, Helen (2002). The Spanish republic at war, 1936–1939. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-45932-X.
  • Greening, Edwin (2006). From Aberdare to Albacete: A Welsh International Brigader's Memoir of His Life. Pontypool, Wales (NP4 7AG): Warren and Pell.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  • Howson, Gerald (1998). Arms for Spain. New York: St. Martin’s Press. ISBN 0-312-24177-1.
  • Ibarruri, Dolores (1976). They Shall Not Pass: the Autobiography of La Pasionaria (translated from El Unico Camino by Dolores Ibarruri). New York: International Publishers. ISBN 0-7178-0468-2.
  • Jackson, Gabriel (1965). The Spanish Republic and the Civil War, 1931–1939. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0-691-00757-8.
  • Jellinek, Frank (1938). The Civil War in Spain. London: Victor Gollanz (Left Book Club).
  • Koestler, Arthur (1983). Dialogue with death. London: Macmillan. ISBN 0-333-34776-5.
  • Kowalsky, Daniel. La Union Sovietica y la Guerra Civil Espanola. Barcelona: Critica. ISBN 84-8432-490-7.
  • Low, Mary (1979 reissue of 1937 edition). Red Spanish Notebook. San Francisco: City Light Books (originally Martin Secker & Warburg). ISBN 0-87286-132-5. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Malraux, André (1941). L'Espoir (Man's Hope). New York: Modern Library. ISBN 0-394-60478-4.
  • Marcos del Olmo, Mª Concepción (2003) ; La Segunda República y la Guerra Civil, Actas editorial, Madrid.
  • Moa, Pío; Los Mitos de la Guerra Civil, La Esfera de los Libros, 2003.
  • O'Riordan, Michael (2005). The Connolly Column. Pontypool, Wales (NP4 7AG): Warren and Pell.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  • Orwell, George (2000, first published in 1938). Homage to Catalonia. London: Penguin Books in association with Martin Secker & Warburg. ISBN 0-14-118305-5. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Payne, Stanley (2004). The Spanish Civil War, the Soviet Union, and Communism. New Haven; London: Yale University Press. ISBN 0-300-10068-X.
  • Prasad, Devi (2005). War is a Crime Against Humanity: The Story of War Resisters' International. London: War Resisters' International, wri-irg.org. ISBN 0-903517-20-5.
  • Preston, Paul (1978). The Coming of the Spanish Civil War. London: Macmillan. ISBN 0-333-23724-2.
  • Preston, Paul (1996). A Concise history of the Spanish Civil War. London: Fontana. ISBN 978-0006863731.
  • Preston, Paul (2007). The Spanish Civil War: Reaction, Revolution, and Revenge, W. W. Norton and Company, ISBN 0393329879.
  • Puzzo, Dante Anthony (1962). Spain and the Great Powers, 1936–1941. Freeport, N.Y: Books for Libraries Press (originally Columbia University Press, N.Y.). ISBN 0-8369-6868-9.
  • Radosh, Ronald (2001). Spain betrayed: the Soviet Union in the Spanish Civil War. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-08981-3. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Rust, William (2003 Reprint of 1939 edition). Britons in Spain: A History of the British Battalion of the XV International Brigade. Pontypool, Wales (NP4 7AG): Warren and Pell. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)CS1 maint: location (ลิงก์)
  • Stradling, Rob (1996). Cardiff and The Spanish Civil War. Cardiff (CF1 6AG): Butetown History and Arts Centre. ISBN 1-898317-06-2.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  • Thomas, Hugh (2003 reissued). The Spanish Civil War. London: Penguin. ISBN 0-14-101161-0. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Walters, Guy (2006). Berlin Games – How Hitler Stole the Olympic Dream. London, New York: John Murray (UK), HarperCollins (US). ISBN 0-7195-6783-1, 0-0608-7412-0.
  • Wheeler, George (2003). To Make the People Smile Again: a Memoir of the Spanish Civil War. Newcastle upon Tyne: Zymurgy Publishing. ISBN 1-903506-07-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Williams, Alun Menai (2004). From the Rhondda to the Ebro: The Story of a Young Life. Pontypool, Wales (NP4 7AG): Warren & Pell.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  • Wilson, Ann (1986). Images of the Spanish Civil War. London: Allen & Unwin. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

ผลงาน

แก้

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง

แก้
  • España 1936, pro-Republican documentary by Luis Buñuel.
  • The Spanish Earth (Joris Ivens, 1937; pro-Republican documentary, narrated by Ernest Hemingway and John Dos Passos.
  • Defenders of the Faith, 1938; pro-Nationalist documentary by Russell Palmer
  • Raza (Jose Luis Saenz de Heredia, 1942)
  • For Whom the Bell Tolls (Sam Wood, 1943, from the Ernest Hemingway novel)
  • The Fallen Sparrow, (Richard Wallace, 1943, from the Dorothy B. Hughes novel; John Garfield played a Spanish Civil War veteran who has returned to New York City to find out the truth about his friend's death).
  • Behold a Pale Horse, (Fred Zinnemann), 1964, loosely based on the life of Catalan anarchist Francisco Sabaté Llopart.
  • The Spirit of the Beehive (El espíritu de la colmena) (Víctor Erice, 1973)
  • The Guernica Tree (L'Arbre de Guernica) (Fernando Arrabal, 1976)
  • La Colmena (Mario Camus), (1982)
  • Bicycles are for Summer, (Jaime Chavarri), (1984)
  • The Heifer (La vaquilla) (Luis García Berlanga, 1985)
  • The Spanish Civil War (BBC-Granada, 1987)
  • ¡Ay, Carmela! (Carlos Saura, Spain/Italy 1990) Comedy/drama about two actors who find themselves on the wrong side of the front line.
  • Belle Époque (Fernando Trueba, 1992)
  • Land and Freedom (Ken Loach, 1995) The war seen through the eyes of a British volunteer.
  • Libertarias (Vicente Aranda, 1996)
  • Vivir la Utopia (Living Utopia) by Juan Gamero, Arte-TVE, Catalunya 1997
  • La hora de los valientes (Brave's time) by Antonio Mercero 1998
  • La Lengua de las Mariposas (Butterflies), José Luis Cuerda, 1999)
  • The Devil's Backbone (El espinazo del diablo) (Guillermo del Toro, 2001)
  • Soldados de Salamina (David Trueba, 2002)
  • Pan's Labyrinth (El Laberinto del Fauno) (Guillermo del Toro, 2006)
  • Carol's Journey (Viaje de Carol) (Ángel García Roldán, 2002)

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

แก้
  • Behind the Spanish Barricades โดย John Langdon-Davies (1936)
  • Homage to Catalonia โดย George Orwell (1938)
  • For Whom the Bell Tolls โดย Ernest Hemingway (1940)
  • 40 Preguntas Fundamentales sobre la Guerra Civil โดย Stanley G. Payne (2006)
  • The Living and the Dead โดย Patrick White (1941)
  • As I Walked Out One Midsummer Morning โดย Laurie Lee (1969)
  • A Moment of War โดย Laurie Lee (1991)
  • The Shadow of the Wind โดย Carlos Ruiz Zafón (2001)
  • L'espoir by Andre Malraux
  • Diamond square โดย Mercè Rodoreda (1962)
  • Bicycles are for summer โดย Fernando Fernán Gómez (1976)
  • Les Grands cimetieres sous la Lune โดย Georges Bernanos
  • Spain in my hearth (España en el corazón) โดย Pablo Neruda
  • Labyrinth of Struggle โดย Mauricio Escobar (2006)
  • The Wall, a book and a short story โดย Jean-Paul Sartre
  • La Colmena โดย Camilo Jose Cela
  • Winter in Madrid โดย C. J. Sansom
  • Human Cannon โดย Edward Bond

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

เอกสารชั้นต้น

แก้

ภาพและภาพยนตร์

แก้

ศูนย์การเรียนรู้และรัฐบาล

แก้

ประเภทอื่น

แก้