กลุ่มแห่งชาติ (สงครามกลางเมืองสเปน)

กลุ่มแห่งชาติ (สเปน: bando nacional)[nb 1] หรือ กลุ่มก่อการกำเริบ (bando sublevado)[1] เป็นฝ่ายสำคัญฝ่ายหนึ่งในสงครามกลางเมืองสเปนระหว่าง ค.ศ. 1936–1939 ประกอบด้วยกลุ่มการเมืองหลายกลุ่มที่สนับสนุนรัฐประหารสเปนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1936 (เพื่อต่อกรกับสาธารณรัฐสเปนที่ 2) ซึ่งรวมถึงกลุ่มฟาลังเฆ, พรรคเซดา และกลุ่มอัลฟอนซิสตาและกลุ่มการ์ลิสตา (กลุ่มผู้เรียกร้องสิทธิราชบัลลังก์ซึ่งเป็นคู่แข่งกันเอง) กลุ่มเหล่านี้ทั้งหมดได้รวมเข้ากับฟาลังเฆใน ค.ศ. 1937 นายพลฟรันซิสโก ฟรังโก หนึ่งในผู้นำหลัก (caudillo) ของรัฐประหาร ค.ศ. 1936 จะเป็นผู้นำฝ่ายนี้ตลอดสงคราม และต่อมาจะกลายเป็นผู้เผด็จการแห่งสเปนระหว่าง ค.ศ. 1939–1975

ธงประจำรัฐสเปนระหว่าง ค.ศ. 1936–1938
ธงประจำรัฐสเปนระหว่าง ค.ศ. 1938–1945

คำว่า "[กลุ่ม] แห่งชาติ" (nacional) ได้รับการบัญญัติโดยโยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ เพื่อจะสร้างภาพว่าความช่วยเหลือของนาซีเยอรมนีแก่ทหารกลุ่มก่อการกำเริบนั้นมีความชอบธรรม หลังจากคณะผู้แทนลับจากสเปนซึ่งนำโดยร้อยเอก ฟรันซิสโก อาร์รันซ์ ได้เข้าพบเพื่อร้องขอทรัพยากรและยุทธภัณฑ์เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1936[2] บรรดาผู้นำกลุ่มก่อการกำเริบซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "นักรบครูเสด" โดยเอนริเก ปลา อี เดนิเอล มุขนายกแห่งซาลามังกา —และยังใช้คำว่า "ครูเสด" (Cruzada) เรียกการรณรงค์ของพวกเขา— เริ่มชอบคำนี้ขึ้นมาทันที

คำว่า "กลุ่มแห่งชาติ" —เช่นเดียวกับคำว่า "พวกแดง" (rojos) ที่ฝ่ายนี้ใช้เรียกกลุ่มนิยมสาธารณรัฐ— ถูกผู้แต่งบางคนพิจารณาว่าเป็นศัพท์ที่เชื่อมโยงกับโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายนี้ ตลอดช่วงสงครามกลางเมืองสเปน ผู้ที่ใช้ศัพท์ "กลุ่มแห่งชาติ" ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนกลุ่มก่อการกำเริบ ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามจะใช้คำว่า "พวกฟาสซิสต์" (fascistas)[1] หรือ "พวกกลุ่มกบฏ" (facciosos)[3] เมื่อเอ่ยถึงฝ่ายนี้

หมายเหตุ แก้

  1. คำว่า nationalist ("ชาตินิยม") เป็นคำแปลที่ปรากฏบ่อยที่สุดในสื่อภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาสเปน ชื่อกลุ่มนี้เรียกว่า nacional ("แห่งชาติ")

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Antony Beevor (2006) [1982]. The Battle for Spain. Orion. ISBN 978-0-7538-2165-7.
  2. Juan Eslava Galán, Una Historia de la Guerra Civil que no va a Gustar a Nadie, Ed. Planeta. 2005. ISBN 8408058835 p. 9-12
  3. Ángel Bahamonde & Javier Cervera Gil, Así terminó la Guerra de España, Marcial Pons, Madrid 1999, ISBN 84-95379-00-7