โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์

นักการเมืองนาซีเยอรมันและรัฐมนตรีโฆษณาชวนเชื่อ

เพาล์ โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ (เยอรมัน: Paul Joseph Goebbels) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ เป็นนักจิตวิทยามวลชนและแกนนำคนสำคัญฝ่ายพลเรือนของพรรคนาซี เขาได้สืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีหลังจากฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย เขาได้ชื่อว่าเป็นเสมือนมือซ้ายของฮิตเลอร์ ขณะที่มือขวาคือไฮน์ริช ฮิมเลอร์

โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์
Joseph Goebbels
เกิบเบิลส์ในปี ค.ศ. 1942
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
ดำรงตำแหน่ง
30 เมษายน ค.ศ. 1945 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
ก่อนหน้าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ถัดไปลุทซ์ กราฟ ชเวรีน ฟ็อน โครซิค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประชาบาลและโฆษณาการ
ดำรงตำแหน่ง
13 มีนาคม ค.ศ. 1933 – 30 เมษายน ค.ศ. 1945
ถัดไปแวร์เนอร์ เนามัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม ค.ศ. 1897
ปรัสเซีย ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น
เสียชีวิต1 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (อายุ 47 ปี)
เบอร์ลิน นาซีเยอรมนี
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมือง พรรคนาซี
คู่สมรสมัคดา เกิบเบิลส์
วิชาชีพนักการเมือง
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1897 ที่เมืองไรท์ (Rheydt) ในราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน จากครอบครัวชาวนาในชนบท ซึ่งสภาพทางครอบครัวก็อยู่ในฐานะยากจน แต่เกิบเบิลส์เป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรและรักความก้าวหน้าในชีวิต ทำให้เขาซึ่งขณะเรียนอยู่นั้นสามารถสอบชิงทุนของรัฐบาลได้ และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เมื่อได้มีโอกาสศึกษาต่อแล้ว เกิบเบิลส์ทุ่มเทในหน้าที่การเรียนอย่างหนักจนต่อมาอีกไม่กี่ปี ก็สามารถสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดในระดับปริญญาเอก ในสาขาประวัติศาสตร์วรรณคดีจากมหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค เมื่อจบจากมหาวิทยาลัยมาแล้วก็หันมาประกอบ อาชีพในด้านสาขาที่ตนสำเร็จเช่นเป็นนักเขียน นักประพันธ์ และนักข่าวมาระยะหนึ่ง ต่อมาไม่นานจากเหตุการณ์ที่เยอรมนีเกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ และการกำเนิดของพรรคนาซีที่กำลังรุ่งเรืองอยู่ในขณะนั้น ก็เป็นช่วงที่พรรคทำการเปิดรับสมัครสมาชิกพรรคอีกด้วยจากการติดตามความ เคลื่อนไหวและนโยบายของพรรคอยู่ตลอดเวลานั้น ทำให้เกิบเบิลส์ให้ความสนใจต่อพรรคนาซีเป็นอย่างมาก และอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ เกิบเบิลส์ตัดสินใจเข้าสู่การเป็นสมาชิกพรรคเยอรมันนาซีก็คือ การที่เขาได้มีโอกาสเข้าฟังการกล่าวปราศรัยของฮิตเลอร์ ปรากฏว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ ฮิตเลอร์ทำให้เกิบเบิลส์เกิดความศรัทธายิ่งนัก จนทำให้เขาตกลงใจสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคนาซีในทันทีโดยไม่ลังเล

เมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคแล้วเขาได้รับความไว้วางใจจากฮิตเลอร์ให้เข้ามาทำในด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ภายในพรรค ด้วยความสามารถอันอัจฉริยะด้วยแล้วเขาได้สร้างผลงานด้านต่าง ๆ ที่โดดเด่นหลายชิ้นให้แก่พรรคจนสามารถประกาศเผยแพร่พรรคและนโยบายของพรรคจน เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจนนำไปสู่ชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งครั้งต่อมา

เมื่อ พรรคนาซีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งจนได้เป็นรัฐบาลแล้ว ฮิตเลอร์มีดำริว่าควรจะมีการก่อตั้งหน่วยงานด้านการสื่อสารขึ้นให้มีความถาวรและเป็นเอกภาพ จึงก่อตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงประชาบาลและโฆษณาการ และดำริว่าผู้ที่ควรดำรงตำแหน่งอันทรงอิทธิพลแห่งนี้ต้องเป็นผู้ที่ต้องมีความสามารถอย่างยิ่ง ด้วยผลงานอันโดดเด่น ที่ผ่านมาได้ประจักษ์ผลมาอย่างเด่นชัดแล้ว ทำให้ฮิตเลอร์ได้มอบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการเชื่อนี้ให้แก่เกิบเบิลส์เป็นผู้ควบคุมด้วยความที่เป็นผู้มีประสบการณ์ในด้านนี้มานาน

ซึ่งเกิบเบิลส์ได้ผลิตสื่อและผลงานของเขาเป็นที่โดดเด่นเพื่อประโยชน์สูงสุดของพรรคและปฏิบัติภารกิจของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อพรรคและนายของเขามาตลอดช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไม่เคยเปลี่ยน ทำให้เขาได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากนายของเขา คือ ฮิตเลอร์เป็นอย่างมากที่ สุดในบรรดาสมาชิกพรรคนาซี จึงไม่แปลกเลยที่หากว่าฮิตเลอร์ไป ณ ที่ใด มักจะปรากฏเกิบเบิลส์เคียงข้างไปทุกหนทุกแห่งจนกระทั่งทั้งสองจบชีวิตลงในที่สุด

แม้กระทั่งในช่วงสุดท้ายของชีวิตก็ตาม ในช่วงที่สงครามโลกจะยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของนาซี ในขณะที่บรรดาคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือบุคคลสำคัญของพรรคก็ต่างละทิ้งฮิตเลอร์หนีเอาตัวรอดกันทั้งนั้น แต่ปรากฏว่าเกิบเบิลส์แม้มีโอกาสเช่นกันแต่เขาก็ไม่คิดจะทอดทิ้งฮิตเลอร์เลย เพราะเขาพร้อมที่จะเป็นหรือตายอยู่กับฮิตเลอร์ได้ตลอดเวลา

จนในที่สุดฮิตเลอร์ตัดสินใจยิงตนเองกับภรรยาจนเสียชีวิต เกิบเบิลส์รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากฮิตเลอร์ได้เพียงแค่วันเดียว เขาได้พยายามจะเจรจากับกองทัพโซเวียตให้สงบศึกโดยยอมแพ้แบบมีเงื่อนไขแต่ทว่ากลับถูกปฏิเสธหมดสิ้น เกิบเบิลส์เองก็ตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรมตามฮิตเลอร์ไป โดยการกรอกยาพิษให้ลูกของตนจนตายทั้งหมด 6 คน แล้วจัดการตนเองกับภรรยาด้วยการยิงตัวตายตามกันหมดทั้งครอบครัวพร้อมกับจุดไฟทั้งร่าง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้