พรรคชาติสังคม ก่อตั้งขึ้นมาหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 เป็นพรรคการเมืองลำดับที่ 7/2500 จดทะเบียนวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2500[1] มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค ได้แก่ พลโทถนอม กิตติขจร, นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เลขาธิการพรรค คือ พลโทประภาส จารุเสถียร

พรรคชาติสังคม
หัวหน้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์
รองหัวหน้าพลโทถนอม กิตติขจร
สุกิจ นิมมานเหมินท์
เลขาธิการประภาส จารุเสถียร
นายกรัฐมนตรีพลโทถนอม กิตติขจร (2501)
คำขวัญชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาธิปไตย สังคม
ก่อตั้ง21 ธันวาคม พ.ศ. 2500
ถูกยุบ20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (0 ปี 303 วัน)
ที่ทำการ580 ซอยสงวนสุข ถนนพระราม 5 สามเสนใน เขตดุสิต กรุงเทพ
สภาผู้แทนราษฎร
48 / 160
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

รายชื่อนายกรัฐมนตรี

แก้

 

จอมพล ถนอม กิตติขจร (วาระ: 2501)

ประวัติ

แก้

หลังการรัฐประหารครั้งแรกของจอมพลสฤษดิ์เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เขาจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ก่อนรัฐประหาร ผู้สนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ได้ก่อตั้งพรรคสหภูมิ ซึ่งทางพรรคทำผลงานได้ค่อนข้างน่าผิดหวังโดยได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 44 ที่นั่งจากทั้งหมด 160 ที่นั่ง ที่นั่งส่วนใหญ่ตกเป็นของผู้สมัครอิสระ รวมทั้งอดีตสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาหลายคนที่ละทิ้งพรรคแต่ไม่ได้เข้าร่วมกับพรรคสหภูมิ[2]

เพื่อให้ควบคุมรัฐสภาได้สะดวกยิ่งขึ้น จอมพลสฤษดิ์จึงได้ก่อตั้งพรรคชาติสังคม โดยรวมพรรคสหภูมิเข้ากับกลุ่มอดีต ส.ส. ของพรรคเสรีมนังคศิลา โดยจอมพลสฤษดิ์เป็นหัวหน้าพรรค พลโทถนอม กิตติขจร มือขวาของเขา และนายสุกิจ นิมมานเหมินท์เป็นรองหัวหน้าพรรค และพลโทประภาส จารุเสถียร เป็นเลขาธิการพรรค[3] พรรคยึดคำขวัญ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาธิปไตย สังคม

อดีตสมาชิกพรรคสหภูมิส่วนใหญ่ไม่พอใจการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เนื่องจากไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับกลุ่มของอดีต ส.ส. พรรคเสรีมนังคศิลา กลุ่มอดีตส.ส.พรรคสหภูมิ 36 คน ลงชื่อในจดหมายประท้วงจอมพลสฤษดิ์ แต่ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนต่อไป การที่นายพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรีรักษาการลาออก อาจเป็นเพราะไม่ต้องการเป็นหุ่นเชิดของคณะรัฐประหาร[3] พลโทถนอมเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ตามคำร้องขอของจอมพลสฤษดิ์ซึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่บางแสนเพื่อรักษาโรคตับของเขา[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคชาติสังคม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  2. Thak Chaloemtiarana (2007), Thailand: The Politics of Despotic Paternalism, Ithaca NY: Cornell Southeast Asia Program, pp. 87–88
  3. 3.0 3.1 Thak Chaloemtiarana (2007), Thailand: The Politics of Despotic Paternalism, Ithaca NY: Cornell Southeast Asia Program, p. 88
  4. Thak Chaloemtiarana (2007), Thailand: The Politics of Despotic Paternalism, Ithaca NY: Cornell Southeast Asia Program, p. 89

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้